บทที่ ๓ รูปแบบการเรียนการสอน
บทที่ 3
รูปแบบการเรียนการสอน
1.รูปแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล
ความหมายของรูปแบบ (Model)
ในทางศึกษาศาสตร์ มีคำที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบ คือ
รูปแบบการสอน Model
of Teaching หรือ Teaching Model และรูปแบบการเรียนการสอนหรือรูปแบบ
การจัดการเรียนการสอนInstructional Model หรือTeaching-Learning Model คำว่า
รูปแบบการสอน มีผู้อธิบายไว้ดังนี้
(๑) รูปแบบการสอน หมายถึง แบบหรือแผนของการสอน
รูปแบบการสอนแบบหนึ่งจะมีจุดเน้นที่เฉพาะเจาะจงอย่างใดอย่างหนึ่ง
รูปแบบการสอนแต่ละรูปแบบจึงอาจมีจุดหมายที่แตกต่างกัน
(๒) รูปแบบการสอน หมายถึง แผนหรือแบบซึ่งสามารถใช้การสอนในห้องเรียน หรือสอนพิเศษเป็นกลุ่มย่อย หรือ เพื่อจัดสื่อการสอน ซึ่งรวมถึง หนังสือ ภาพยนตร์ เทปบันทึกเสียง โปรแกรมคอมพิวเตอร์และหลักสูตรรายวิชา รูปแบบการสอนแต่ละรูปแบบจะเป็นแนวในการออกแบบการสอนที่ช่วยให้นักเรียนบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่รูปแบบนั้น ๆ กำหนด
(๒) รูปแบบการสอน หมายถึง แผนหรือแบบซึ่งสามารถใช้การสอนในห้องเรียน หรือสอนพิเศษเป็นกลุ่มย่อย หรือ เพื่อจัดสื่อการสอน ซึ่งรวมถึง หนังสือ ภาพยนตร์ เทปบันทึกเสียง โปรแกรมคอมพิวเตอร์และหลักสูตรรายวิชา รูปแบบการสอนแต่ละรูปแบบจะเป็นแนวในการออกแบบการสอนที่ช่วยให้นักเรียนบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่รูปแบบนั้น ๆ กำหนด
(๓) รูปแบบการสอน หมายถึง แผนแสดงการเรียนการสอน ส
าหรับนำไปใช้สอนในห้องเรียน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายที่ก
าหนดไว้ให้มากที่สุด แผนดังกล่าวจะแสดงถึงลำดับความสอดคล้องกัน
ภายใต้หลักการของแนวคิดพื้นฐานเดียวกัน องค์ประกอบทั้งหลายได้แก่ หลักการ จุดมุ่งหมาย เนื้อหา และทักษะที่ต้องการสอน
ยุทธศาสตร์การสอน วิธีการสอน กระบวนการสอน
ขั้นตอนและกิจกรรมการสอน และการวัดและประเมินผลรูปแบบการเรียนการสอนมีความหมายในลักษณะเดียวกับระบบการเรียนการสอน
ซึ่งนักการศึกษาโดยทั่ว ไปนิยมใช้คำว่า
“ระบบ”ในความหมายที่เป็นระบบใหญ่ ครอบคลุมองค์ประกอบสำคัญๆ
ของการศึกษา หรือการเรียนการสอนในภาพรวม และนิยมใช้คำว่า “รูปแบบ” กับระบบที่ย่อยกว่า โดยเฉพาะกับ “วิธีการสอน” ในด้านความหมายของรูปแบบการสอน มีผู้ให้ความหมายไว้หลายแง่มุม
ดังนี้
Saylor and others (1981 : 271) กล่าวว่า
รูปแบบการสอน
(teaching model) หมายถึง แบบ (pattern) ของการสอนที่มีการจัดกระท
าพฤติกรรมขึ้นจ านวนหนึ่งที่มีความแตกต่างกัน เพื่อจุดหมายหรือจุดเน้นที่เฉพาะเจาะจงอย่างใดอย่างหนึ่งJoyce and Well (1992 : 1-4) กล่าวว่า
รูปแบบการสอน คือ แผน (plan) หรือแบบ (pattern) ที่เราสามารถใช้เพื่อการสอนโดยตรงในห้องเรียนหรือการสอนเป็นกลุ่มย่อย
หรือเพื่อจัดสื่อการเรียนการสอนซึ่งรวมถึงหนังสือ ภาพยนตร์ เทปบันทึกเสียง
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนและหลักสูตรรายวิชา ซึ่งแต่ละรูปแบบจะให้แนวทางในการออกแบบการเรียนการสอนที่จะช่วยให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์ต่างๆกัน
รูปแบบการสอนคือ การบรรยายสิ่งแวดล้อมทางการเรียน รูปแบบการสอนก็คือ
รูปแบบของการเรียนที่ช่วยผู้เรียนให้ได้รับสารสนเทศ ความคิด ทักษะคุณค่า แนวทางของการคิด
และแนวคิดของ
Keeves J., (1997 : 386-387) กล่าวว่า
รูปแบบโดยทั่วไปจะต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญดังนี้
1. รูปแบบจะต้องน
าไปสู่การท านาย (prediction)
ผลที่ตามมาซึ่งสามารถพิสูจน์ทดสอบได้ กล่าวคือ สามารถนำไปสร้างเครื่องมือเพื่อไปพิสูจน์ทดสอบได้
2. โครงสร้างของรูปแบบจะต้องประกอบด้วยความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ
(causal relationship) ซึ่งสามารถใช้อธิบายปรากฏการณ์/เรื่องนั้นได้
3.รูปแบบจะต้องสามารถช่วยสร้างจินตนาการ (imagination) ความคิดรวบยอด (concept)และความสัมพันธ์ (interrelations) รวมทั้งช่วยขยายขอบเขตของการสืบเสาะความรู้
4. รูปแบบควรจะประกอบด้วยความสัมพันธ์เชิงโครงสร้าง (structural relationships) มากกว่า
ความสัมพันธ์เชิงเชื่อมโยง (associative relationships)
ทิศนา แขมมณี
(2550 : 3-4) กล่าวว่า
รูปแบบการสอน หมายถึง สภาพหรือลักษณะของการจัดการเรียนการสอนที่จัดขึ้นอย่างมีระบบระเบียบ
มีแบบแผนตามหลักปรัชญา ทฤษฎี หลักการ แนวคิด
หรือความเชื่อต่างๆ โดยอาศัยวิธีสอนและเทคนิคการสอนต่างๆ
เข้ามาช่วยให้สภาพการเรียนการสอนนั้นเป็นไปตามหลักการที่ยึดถือ ดังนั้น คุณลักษณะส
าคัญของรูปแบบการสอนจึงต้องประกอบด้วยสิ่งต่างๆ ต่อไปนี้
1. มีปรัชญาหรือทฤษฎีหรือหลักการหรือแนวคิดหรือความเชื่อ
ที่เป็นพื้นฐานหรือเป็นหลักการของรูปแบบการสอนนั้นๆ
2. มีการบรรยายหรืออธิบายสภาพหรือลักษณะของการจัดการเรียนการสอน
3. มีการจัดระบบ
คือ มีการจัดองค์ประกอบและความสัมพันธ์ ขององค์ประกอบของระบบให้สามารถนำผู้เรียนไปสู่เป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
โดยมีการพิสูจน์ ทดลองถึงประสิทธิภาพของระบบนั้น
ดังนั้น รูปแบบการเรียนการสอนจึงหมายถึง
สภาพหรือลักษณะของการจัดการเรียนการสอน
ที่จัดไว้อย่างเป็นระเบียบตามหลักปรัชญา ทฤษฎี
หลักการ แนวคิดหรือความเชื่อต่างๆ โดยมีการจัดกระบวนการหรือขั้นตอนในการเรียนการสอน
โดยอาศัยวิธีสอนและเทคนิคการสอนต่างๆ เข้ามาช่วยทำให้สภาพการเรียนการสอนนั้นเป็นไปตามหลักการที่ยึดถือ
ซึ่งได้รับการพิสูจน์ ทดสอบหรือยอมรับ
ว่ามีประสิทธิภาพ
สามารถใช้เป็นแบบแผนในการเรียนการสอนให้บรรลุวัตถุประสงค์เฉพาะของรูปแบบนั้นๆ
ซึ่งแต่ละรูปแบบมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน กล่าวคือ เป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนา
ด้านพุทธิพิสัย
(cognitive domain)
การพัฒนาด้านจิตพิสัย
(affective domain)
การพัฒนาด้านทักษะพิสัย
(psychomotor domain)
การพัฒนาด้านทักษะกระบวนการ
(process skills)
หรือ การบูรณาการ
(integration)
ทั้งนี้รูปแบบดังกล่าวล้วนเป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่มีลักษณะเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2.รูปแบบการเรียนการสอนและกระบวนการเรียนการสอนของไทย
3.กระบวนการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน
3.1กระบวนการแก้ปัญหาตามหลักอริยสัจ 4 โดย สาโรช บัวศรี
ทฤษฎีการเรียนรู้ อริยสัจ 4
นิยามศัพท์ที่เกี่ยวข้อง
การคิด
การคิดเป็นกระบวนการทางสมองของมนุษย์ที่มีศักยภาพสูงมากเป็นส่วนที่มนุษย์มีแตก ต่างกับสัตว์ต่างๆ การคิดเป็นการแฝงอยู่ในเรื่องของการเรียนรู้ของมนุษย์ไว้อย่างหลากหลาย
การบวนการคิด
กระบวนการคิด เป็นการคิดที่ต้องดำเนินการไปเป็นลำดับขั้นตอน ที่จะช่วยให้การคิดนั้นประสบความสำเร็จตามจุดมุ่งหมายของการคิดนั้นๆ ซึ่งในแต่ละลำดับขั้นตอนต้องอาศัยทักษะการคิด หรือลักษณะการคิดจำนวนมาก กระบวนการที่สำคัญที่หลายกระบวนการ
กระบวนการคิดแก้ปัญหา
กระบวนการคิดปัญหา ได้แก่ ลำดับขั้นตอนของการคิดและการดำเนินการแก้ปัญหา เพื่อให้สามารถแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การคิดแก้ปัญหา ( อริยสัจ 4 )
ศาสตราจารย์ ดร.สาโรช บัวศรี เป็นผู้ริเริ่มความคิด ในการนำหลักพุทธรรมมาใช้ในกระบวนการแก้ปัญหา โดยประยุกต์หลักอริยสัจ 4 อันได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค มาใช้ควบคู่กับ “กิจในอริยสัจ 4” อันประกอบด้วย ปริญญา (การกำหนดรู้) ปหานะ (การละ) สัจฉิกิริยา (การทำให้แจ้ง) และภาวนา (การเจริญ หรือลงมือปฏิบัติ) จากหลักการทั้งสอง ศาสตราจารย์ ดร. สาโรช บัวศรี ได้เสนอแนะกระบวนการแก้ปัญหาในการเรียนการสอนดังนี้
1.ขั้นกำหนดปัญหา (ขั้นทุกข์) คือการระบุปัญหาที่ต้องการแก้ไข
2.ขั้นตั้งสมมติฐาน (ขั้นสมุทัย) คือ การวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาและตั้งสมมุติฐาน
3.ขั้นทดลอง และ เก็บข้อมูล (ขั้นนิโรธ) คือ การกำหนดวัตุประสงค์และวิธีการทดลองเพื่อพิสูจน์สมมุติฐานและเก็บรวบรวมข้อมูล
4.ขั้นวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผล ( ขั้นมรรค ) คือ การนำข้อมูลมาวิเคราะห์และสรุป
ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ตามขั้นทั้งสี่ของอริยสัจ4 สรุปเป็นแผนภูมิได้ดังนี้
1. ขั้นกำหนดปัญหา (ขั้นทุกข์)
2. ขั้นตั้งสมมุติฐาน (ขั้นสมุทัย )
3. ขั้นทดลองและเก็บข้อมูล (ขั้นนิโรธ )
4. ขั้นวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผล (ขั้นมรรค )
ข้อดีและข้อจำกัดของจัดการเรียนรู้ตามขั้นสี่ของอริยสัจ 4
ข้อดี
1.เป็นวิธีการเรียนรู้ที่มีความหมายสำหรับผู้เรียน เพราะผู้เรียนเป็นผู้ศึกษาค้นคว้าหาแนวทางและเรียนรู้ด้วยตนเอง
2.ผู้เรียนได้ฝึกการใช้ทักษะและกระบวนการต่างๆในการเรียนรู้
ข้อจำกัด
1.เป็นวิธีการเรียนการสอนที่ใช้เวลามากพอสมควร
2. ผู้สอนจะต้องคอยดูแล ช่วยเหลืออย่างใกล้ชิด การเรียนรู้จึงจะได้ผลดี
นิยามศัพท์ที่เกี่ยวข้อง
การคิด
การคิดเป็นกระบวนการทางสมองของมนุษย์ที่มีศักยภาพสูงมากเป็นส่วนที่มนุษย์มีแตก ต่างกับสัตว์ต่างๆ การคิดเป็นการแฝงอยู่ในเรื่องของการเรียนรู้ของมนุษย์ไว้อย่างหลากหลาย
การบวนการคิด
กระบวนการคิด เป็นการคิดที่ต้องดำเนินการไปเป็นลำดับขั้นตอน ที่จะช่วยให้การคิดนั้นประสบความสำเร็จตามจุดมุ่งหมายของการคิดนั้นๆ ซึ่งในแต่ละลำดับขั้นตอนต้องอาศัยทักษะการคิด หรือลักษณะการคิดจำนวนมาก กระบวนการที่สำคัญที่หลายกระบวนการ
กระบวนการคิดแก้ปัญหา
กระบวนการคิดปัญหา ได้แก่ ลำดับขั้นตอนของการคิดและการดำเนินการแก้ปัญหา เพื่อให้สามารถแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การคิดแก้ปัญหา ( อริยสัจ 4 )
ศาสตราจารย์ ดร.สาโรช บัวศรี เป็นผู้ริเริ่มความคิด ในการนำหลักพุทธรรมมาใช้ในกระบวนการแก้ปัญหา โดยประยุกต์หลักอริยสัจ 4 อันได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค มาใช้ควบคู่กับ “กิจในอริยสัจ 4” อันประกอบด้วย ปริญญา (การกำหนดรู้) ปหานะ (การละ) สัจฉิกิริยา (การทำให้แจ้ง) และภาวนา (การเจริญ หรือลงมือปฏิบัติ) จากหลักการทั้งสอง ศาสตราจารย์ ดร. สาโรช บัวศรี ได้เสนอแนะกระบวนการแก้ปัญหาในการเรียนการสอนดังนี้
1.ขั้นกำหนดปัญหา (ขั้นทุกข์) คือการระบุปัญหาที่ต้องการแก้ไข
2.ขั้นตั้งสมมติฐาน (ขั้นสมุทัย) คือ การวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาและตั้งสมมุติฐาน
3.ขั้นทดลอง และ เก็บข้อมูล (ขั้นนิโรธ) คือ การกำหนดวัตุประสงค์และวิธีการทดลองเพื่อพิสูจน์สมมุติฐานและเก็บรวบรวมข้อมูล
4.ขั้นวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผล ( ขั้นมรรค ) คือ การนำข้อมูลมาวิเคราะห์และสรุป
ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ตามขั้นทั้งสี่ของอริยสัจ4 สรุปเป็นแผนภูมิได้ดังนี้
1. ขั้นกำหนดปัญหา (ขั้นทุกข์)
2. ขั้นตั้งสมมุติฐาน (ขั้นสมุทัย )
3. ขั้นทดลองและเก็บข้อมูล (ขั้นนิโรธ )
4. ขั้นวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผล (ขั้นมรรค )
ข้อดีและข้อจำกัดของจัดการเรียนรู้ตามขั้นสี่ของอริยสัจ 4
ข้อดี
1.เป็นวิธีการเรียนรู้ที่มีความหมายสำหรับผู้เรียน เพราะผู้เรียนเป็นผู้ศึกษาค้นคว้าหาแนวทางและเรียนรู้ด้วยตนเอง
2.ผู้เรียนได้ฝึกการใช้ทักษะและกระบวนการต่างๆในการเรียนรู้
ข้อจำกัด
1.เป็นวิธีการเรียนการสอนที่ใช้เวลามากพอสมควร
2. ผู้สอนจะต้องคอยดูแล ช่วยเหลืออย่างใกล้ชิด การเรียนรู้จึงจะได้ผลดี
3.1กระบวนการกัลยาณมิตร โดย สุมน อมรวิวัฒน์
สามแนวความคิดหลัก
จากการศึกษาตามนัยพุทธธรรม
โดยศาสตราจารย์สุมน อมรวิวัฒน์
จากการศึกษาตามนัยพุทธธรรม
โดยศาสตราจารย์สุมน อมรวิวัฒน์
บูรณาการตามนัยแห่งพุทธธรรม หมายถึง ระบบและกระบวนการของชีวิตซึ่งครอบคลุมหลักการพัฒนามนุษย์ที่ว่าด้วยไตรสิกขา และหลักธรรมที่สำคัญในอันที่จะเป็นแนวปฏิบัติสู่ความเป็นคนเก่ง คนดี มีอิสรภาพ ส่วนบูรณาการทางการศึกษาตามนัยพุทธธรรม ท่านได้สรุปความคิดรวบยอดไว้ เป็นแนวทางสำหรับการจัดระบบ หลักการ กระบวนการ และปัจจัยสนับสนุนการศึกษา โดยใช้ชีวิต วิถีชีวิต การพัฒนาชีวิตที่ดี เป็นโจทย์หลัก จึงครอบคลุมทุกมิติ ทุกแก่นสาระ ทุกพื้นฐานของสังคม บูรณาการทางการศึกษาจะเป็นการจัดองค์ประกอบกลมกลืนได้สัดส่วน สมดุลและเชื่อมโยง จึงมีลักษณะที่เป็นองค์รวม หล่อหลอม เกิดประโยชน์ นำไปสู่การพัฒนา เป็นความเต็มในทุกมิติ ได้แก่ เต็มศักยภาพผู้เรียน พัฒนาทั่วทั้งกาย จิต และปัญญา … ครูสอนเต็มเวลาเต็มใจ เนื้อหาสาระสอดคล้องกลมกลืน เต็มตามที่ควรจะเป็น กระบวนการครบถ้วน เต็มที่ตามที่ควรจะทำ ผลการศึกษาเต็มสนองตอบการพัฒนาชีวิตตามวิถีทางที่ดี ถูกต้อง กลมกลืนกับความเป็นจริงของชีวิตและสังคม เป็นการศึกษาที่กระจ่างชัด แจ่มโลก ส่องชีวิต สว่างเย็น ดุจเดือนเพ็ญ
2. หลักการเรียนตามแนวพุทธศาสตร์
กระบวนการเรียนรู้ในชีวิตตามหลักพุทธ ศาสตร์ มีลักษณะเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่แท้ โดยท่านกล่าวว่า “การเรียนรู้เกิดขึ้นได้อย่างแท้จริง เมื่อผู้เรียนได้สัมผัส สัมพันธ์ คิดวิเคราะห์และปฏิบัติฝึกย้ำซ้ำทวนอย่างต่อเนื่อง (กล่าวคือเกิดกระบวนการเผชิญสถานการณ์) จนหยั่งรู้ซึมซับสู่ภายในจิตใจ กลั่นกรอง เกิดเป็นปัญญาของตนเอง ดังนั้นท่านจึงได้ประยุกต์แนวทางดังกล่าว เช่น การพัฒนาขันธ์ 5 และอายตนะ 6 เป็นต้น มาสู่การจัดการเรียนการสอน เรียกว่า กระบวนการซึมซับ”
สรุปหลักการพัฒนาการเรียนรู้ตามแนวพุทธศาสตร์ มีนัยสำคัญดังต่อไปนี้
ก. ความหมายของการเรียนรู้การเรียนรู้ คือ กระบวนการที่ผัสสะทั้ง 6 ของมนุษย์ได้สัมผัสสัมพันธ์สิ่งเร้า เกิดธาตุรู้ มีการกระทำโต้ตอบ ฝึกฝนอบรมตนเองหรือโดยกัลยาณมิตร จนประจักษ์ผล เกิดคุณภาวะ (ความรู้และความดี) สมรรถภาวะ (ความสามารถ) สุขภาวะ (ความผาสุก พอเหมาะพอควร) และอิสรภาวะ (พ้นจากทุกข์และความเป็นทาส)
ข. หลักการเรียนรู้ 6 หลัก
หลักที่หนึ่ง พระพุทธศาสนามองมนุษย์ทั้งในฐานะที่เป็นเอกัตบุคคลและในฐานะที่เป็นสมาชิกของสังคมซึ่งต้องอยู่ร่วมกับผู้อื่น
หลักที่สอง มนุษย์เป็นเวไนยสัตว์หรือเวไนยบุคคล สามารถได้รับการสั่งสอน ฝึกฝนและอบรมบ่มนิสัยได้
หลักที่สาม มนุษย์มีภาวะทางสติปัญญามาแต่กำเนิด (สชาติกปัญญา) แม้ว่ามนุษย์จะมีความแตกต่างกัน ก็จำเป็นต้องได้รับการพัฒนาให้เกิดการเรียนรู้ (โยคปัญญา)
หลักที่สี่ พระพุทธศาสนาอธิบายหลักการเรียนรู้ของมนุษย์ว่า เกิดขึ้นในวิถีชีวิตทั้งชีวิต มีลักษณะเป็นองค์รวมของรูปกับนาม (รูป ได้แก่ กายภาพ : กาย – วาจา และนามคือ จิตภาวะ) ซึ่งเป็นการเรียนรู้ไปตามความเจริญเติบโต (พัฒนาการ) ของชีวิต
หลักที่ห้า การเรียนรู้ของมนุษย์มีแกน 3 แกน คือ
1. การฝึกฝนตนเองเรื่องศีล (Self-training in morality)
2.การฝึกฝนตนเองเรื่องสมาธิ (Self-training in mentality or concentration)
3.การฝนตนเองเรื่องปัญญา (Self-training in wisdom)
หลักที่หก การพัฒนาปัญญา “จุดมุ่งหมายของการเรียนรู้ที่สำคัญ คือ การเกิดปัญญา” ต้องพัฒนาโดยการแสวงหาความรู้ (สุตมยปัญญา) การฝึกฝนคิดค้น (จินตามยปัญญา) และการฝึกฝนตนเอง (ภาวนามยปัญญา)
ค. สรุปกระบวนการพัฒนาปัญญา ตามแนวทางพุทธศาสตร์ว่ามีคุณลักษณะ ดังต่อไปนี้
(1)กระบวนการพัฒนาปัญญา มีความสมบูรณ์โดยตลอด
(2)กระบวนการพัฒนาปัญญา มีลักษณะบูรณาการ
(3)กระบวนการพัฒนาปัญญา มีลักษณะพัฒนาการที่หมุนเวียนขึ้นหาจุดสูงสุด (Spiral growth)
(4)กระบวนการพัฒนาปัญญา มีลักษณะที่หยั่งรากลงลึกด้วย มิใช่พุ่งขึ้นอย่างเดียว
(5)กระบวนการพัฒนาปัญญา เป็นการสร้างแรงจูงใจและสิ่งเร้า (ศรัทธา) และการฝึกฝนตนเอง ต่อเมื่อเกิดสมาธิและปัญญาแล้ว ต้องละสิ่งเร้านั้นเสีย
(6)กระบวนการพัฒนาปัญญาตามนัยของพระพุทธศาสนา อุดมการณ์สูงสุดคือ การใช้ปัญญาปฏิบัติให้เกิดอิสรภาพอันสมบูรณ์
3. การเรียนรู้โดยกระบวนการซึมซับ
มนุษย์ซึมซับรับรู้จากการเผชิญสถานการณ์ บรรยากาศ และสิ่งแวดล้อม
(1)การรับรู้ของเด็กในบางครั้งอาจเกิดขึ้นจากความรู้สึกชั่วแล่นและผิวเผิน กระบวนการซึมซับจึงมุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้เผชิญสถานการณ์ต่างๆ บ่อยครั้ง เพื่อเปิดโอกาส (ให้เขาได้) พิจารณา วิเคราะห์ ไตร่ตรอง หาเหตุผลวิธีการต่างๆ ที่ทำให้ตนเองอยู่ท่ามกลางสิ่งแวดล้อมที่ดีและแก้ปัญญาอันเกิดจากสิ่งแวด ล้อม
(2)ความหมายของสิ่งแวดล้อมนั้น ครอบคลุมทั้งสรรพสิ่งในธรรมชาติและมนุษย์ด้วยกันเอง
ซึ่งเป็นบทเรียนหรือแบบฝึกหัดที่ยิ่ง ใหญ่ หากเด็กๆ ได้มีความสัมพันธ์และมีปฏิกิริยาโต้ตอบสิ่งแวดล้อมนั้นๆ เขาจะเกิดการเรียนรู้ที่สูงขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง จากระดับการรับรู้ สัมผัสและเข้าใจสิ่งต่างๆ (รูป – เวทนา – สัญญา) ไปสู่ระดับการคิดหลายๆ วิธี (สังขาร) ซึ่งเป็นกระบวนการซึมซับจากสถานการณ์ (ความจริงของธรรมชาติและของเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน) ที่เผชิญทั้งทางวิวัฒน์และวิบัติแล้วคิดวิเคราะห์หาทางเลือก
(3)การเรียนรู้ในส่วนนี้มีความซับซ้อนจากจุดที่เกิดความสนใจ ความสงสัย และความประสงค์ที่จะค้นคว้าหาคำตอบ จุดอ่อนของการสอนโดยทั่วไปนั้น มักจะเน้นให้นักเรียนได้สัมผัสและสัมพันธ์ เกิดความรู้สึกชอบ ไม่ชอบ อันเป็นเวทนาแล้วหยุดเพียงนั้น กระบวนการซึมซับจึง (เป็นการ) พัฒนาต่อไปจากเวทนา สู่การฝึกคุณสมบัติทางจิต ซึ่งเรียกว่า สังขาร … เป็นกระบวนการปรุงแต่งคุณภาพทางจิต (Mental formation) หรืออีกนัยหนึ่ง คือ การคิดนั่นเอง
(4)ท่านได้นำเสนอหลักการคิดแบบโยนิโสมนสิการตามนัยแห่งพุทธธรรมไว้อย่างง่ายๆ ดังนี้
คิดสืบค้นต้นเค้า คิดสืบสาวตลอดสาย
คิดทบทวนต้นปลาย คิดโยงสายสัมพันธ์
คิดจำแนกหมวดหมู่ คิดรู้เหตุผลมั่น
คิดประจักษ์ลักษณ์สามัญ คิดเท่าทันความจริง
คิดแบบแก้ปัญหา คิดค้นคว้าทุกสิ่ง
คิดจุดหมายอ้างอิง คิดไม่ทิ้งหลักการ
คิดทั้งคุณและโทษ คิดประโยชน์แก่นสาร
คิดทางออกเหตุการณ์ คิดประมาณผลกรรม
สรุป
รูปแบบการสอน
รูปแบบการเรียนการสอน (Teaching Learning Model) หรือระบบการสอน คือ โครงสร้างองค์ประกอบการดำเนินการสอน ที่ได้รับการจัดเป็นระบบสัมพันธ์สอดคล้องกับทฤษฏี หลักการเรียนรู้ หรือการสอนที่รูปแบบนั้นยึดถือและได้รับการพิสูจน์
ทดสอบว่ามีประสิทธิภาพ สามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายเฉพาะของรูปแบบนั้น
ๆ โดยทั่วไปแบบแผนการดำเนินการสอนดังกล่าวมักประกอบด้วย ทฤษฏีหลักการที่รูปแบบนั้นยึดถือ และกระบวนการสอนที่มีลักษณะเฉพาะอันจะนำผู้เรียนไปสู่จุดมุ่งหมายเฉพาะรูปแบบนั้นกำหนดซึ่งผู้สอนสามารถนำไปใช้เป็นแบบแผนหรือแบบอย่างในการจัดและดำเนินการสอนอื่น
ๆ ที่มีจุดมุ่งหมายเฉพาะเช่นเดียวกันได้ รูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่ใช้กันแพร่หลายมีจำนวนมาก แต่ละรูปแบบมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผู้เรียนตามจุดเน้นด้วยขั้นตอน
วิธีการ องค์ประกอบที่แตกต่างกันไป บางรูปแบบใช้ได้ในวงกว้างบางรูปแบบจะใช้เจาะจงในวงแคบเฉพาะส่วนผู้ใช้ควรศึกษาพิจารณาเลือกใช้ให้เหมาะสมกับมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งมีรูปแบบการสอน ดังต่อไปนี้
1. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาด้านพุทธพิสัย
2. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาด้านทักษะพิสัย
3. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาด้านกระบวนการคิด
4. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการบูรณาการ การจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พ.ศ. 2544เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ได้แก่การคำนึงถึงการเรียนรู้ของผู้เรียนสำคัญที่สุดทำอย่างไรจะทำให้เรียนทุกคนเกิดการเรียนรู้สูงสุด ตามศักยภาพของแต่ละคน จึงต้องมีการศึกษาวิเคราะห์ผู้เรียน เนื้อหา เวลา
สื่อและปัจจัยอื่น ๆ เพื่อนำมาใช้วางแผนการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสม เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนมากที่สุด จุดหมายของหลักสูตรต้องการพัฒนานักเรียนอย่างสมดุลทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา
จิตใจ ผ่านโครงสร้างกลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระ ซึ่งสอดคล้องกับปัญญา 8ด้านของมนุษย์ในแต่ละกลุ่มสาระ นักเรียนควรจะได้รับการพัฒนา ความรู้ ทักษะ จิตพิสัย ทั้งสามด้าน
จุดเน้นมากน้อยตามธรรมชาติ วิชาและวัยของเด็ก กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ต้องการให้นักเรียนเข้าใจพัฒนาการของมนุษย์ มีทักษะในการเคลื่อนไหวออกกำลังกาย
และเห็นคุณค่าต่อการป้องกันโรค และส่งเสริมสุขภาพ จะเห็นว่านักเรียนต้องได้เรียนรู้ทั้งเนื้อหา ทักษะ
และจิตพิสัย
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น