สัปดาห์ 9 กลยุทธ์การเรียนการสอน

กลยุทธ์การเรียนการสอน

     กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้ (อังกฤษ: Strategies of Learning Management) คือทฤษฎีการเรียนรู้และการสอน รูปแบบการเรียนรู้และพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ การบูรณาการเนื้อหาในกลุ่มสาระการเรียนรู้ การบูรณาการการเรียนรู้แบบรวม การใช้ กาารเลือก การผลิตสื่อ และพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมผลการเรียนรู้ของผู้เรียน เทคนิคและวิทยาการการจัดการเรียนรู้ รอบรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอนและกลยุทธ์การสอนเพื่อให้ผู้เรียน คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ สร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ได้ปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับผู้เรียนที่ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียน การนำประมวลรายวิชามาจัดทำแผนการเรียนรู้รายภาค ปฏิบัติการออกแบบ แผนการจัดการเรียนรู้และการจัดการเรียนรู้แบบยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนและสื่อการสอนสำหรับผู้เรียนในแต่ละระดับการศึกษาได้เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน ผู้เรียนที่มีความสามารถแตกต่างกัน การประเมินผลการเรียน กิจกรรมที่ส่งเสริมผลการเรียนรู้ของผู้เรียนจากการประเมินผล ปฏิบัติการจัดการชั้นเรียนและสร้างสรรค์กิจกรรมเพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจในการเรียนรู้และพัฒนาด้านอารมณ์ สังคม

  เนื้อหาบทนี้ประกอบด้วย

  • สภาวการณ์การเรียนรู้การสอนพื้นฐานของกาเรียนการสอนปกติ
  • ความต้องการทฤษฏีการเรียนการสอน
  • ธรรมชาติของทฤษฏีการเรียนการสอน
  • ทฤษฏีการเรียนการสอน
  • หลักการเรียนรู้
  • การวิจัยการเรียนรู้
  • ความเข้าใจผู้เรียนและการเรียนรู้
  • การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง


1.สภาวการณ์การเรียนรู้การสอนพื้นฐานของกาเรียนการสอนปกติ

บทนำ จะช่วยนำความตั้งใจของผู้เรียนไปสู่ภาระการเรียนรู้ด้วยการอธิบายประโยชน์ของการประสบผลสำเร็จตามจุดประสงค์

การนำเสนอ เป็นการนำเสนอสารสนเทศ ข้อความจริง มโนทัศน์ หลักการหรือิธีการให้กับผู้เรียน ข้อกำหนดของการนำเสนอจะหลากหลายไปตามแบบของการเรียนรูั ที่จะให้ประสบผลสำเร็จ

การทดสอบตามเกณฑ์ เป็นการวัดผสำเร็จของผู้เรียนตามจุดประสงค์ปลายทาง

การปฎิบัติตามเกณฑ์ เกิดขึ้นในสถาการณ์เช่นเดียวกับการทดสอบปลายภาค โดยมีจุดประสงค์เพื่อการตัดสินผู้เรียนว่ามีความพร้อมที่จะสอบปลายภาคหรือความจำเป้นต้องเรียนซ่อมเสริม

การปฎิบัติในระหว่างเรียน เป็นการออกแบบช่วยให้ผู้เรียนให้สร้างสะพานข้ามช่องระหว่างพฤติกรรมที่แสดงว่ามีวามพร้อมถึงระดับที่จะรับการสอน กบัพฤติกรรมที่กำหนดโดยจุดประสงค์ปลายทาง สิ่งสำคัญที่ควรจดจำเกี่ยวกับการปฎิบัติในระหว่างเรียนคือ เป้นการเตรียมตัวผุ้เรียนเพื่อการแสดงออกซึงปฎิบัติท่ีเป็นไปตมเกณฑ์

การแนะนำ  เป็นการฝึกที่ฉลับพลันช่วยให้ผู้เรียนแสดงออกอย่างถูกต้อง ในช่วงต้นของการปฎิบัติว่ามีการช่วยเหลือมากๆแล้วค่อยๆลดลง การช่วยลือจะอยู่ในช่วงปฎิบัติในระหว่างเรียนเท่านั้น ส่วนในช่วงปฎิบัติตามเกณฑ์ไม่ต้องช่วย

👉การให้ข้อมูลย้อนกลับ  เป็นส่วนนึงของการบรูราการปฎิบัติ เพื่อที่จะบอกกลับผู้เรียนว่า ปฎิบัติถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง และจะมีการปรับปรุงอย่างไร การปฎิบัติแค่อย่างเดียวโดยไม่มีข้อมูลปอนกลับไม่เป็นการเพียงพอสำหรับการเรียนรู้ที่ีมีประสิทธิภาพ


2.ความต้องการทฤษฏีการเรียนการสอน

    ทฤษฎีการเรียนการสอน เป็นสิ่งจำเป็นที่จะผนวกเข้ากับทฤษฎีการเรียนรู้โดยไม่มีข้อโต้แย้งกัน การพัฒนาการเรียนการสอน ขาดการเอาใจใส่ละเลยและเมื่อเปรียบเทียบกับทฤษฎีการเรียนรู้แล้วทฤษฎีการสอนเกือบไม่ได้รับการกล่าวถึงในผลงานของการเขียนทางทฤษฎีของนักจิตวิทยาเห็นได้จากบทคัดย่อทางจิตวิทยาเต็มไปด้วยการปฎิบัติทางการเรียนรู้ จุ๊งสิ้นท่าเกี่ยวกับการสอนและในส่วนนี้ไปไหนส่วนของบุคลากรทางการศึกษาอีกด้วยในการทำรายงานทางจิตวิทยาประจำปีโดยปกติจะมี บทที่ว่าด้วยการที่เรียนรู้เป็นเวลานานครั้ง มีหนังสือจำนวนที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎีการสอนอย่างกว้างขวางอาทิแบบนี้อย่าการศึกษาจะให้มี กับการอธิบายเกี่ยวกับการเรียนและผู้เรียนมากกว่าวิธีการสอนของครู (การเย่1964,269)
เหตุผลต่อการเพิกเฉยต่อทฤษฎีการสอนเป็นเรื่องที่น่าสนใจมีผลต่อการจุงใจการตรวจสอบ ช่วยในการตัดสินใจว่าเป็นไปได้หรือไม่ที่ทฤษฎีการสอนมีการก่อตัวขึ้นและเป็นไปตามต้องการ

    ทฤษฎีการเรียนรู้เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ว่าผู้เรียนจะทำอะไรแต่การเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาต้องขึ้นอยู่ว่าส่วนใหญ่แล้วครูทำอะไรนั่นคือผู้เรียนเปลี่ยนแปลงอย่างไรในธุรกิจการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น  ตอบสนองต่อพฤติกรรมของครูอื่นๆที่อยู่ในวงการศึกษาครูเท่านั้นที่จะเป็นผู้นำความรู้ส่วนใหญ่เกี่ยวกับการเรียนรู้ไปสู่การปฏิบัติและวิธีต่างๆที่ครูให้ความรู้เกิดผลประกอบขึ้นเป็นสูตรของวิชาทฤษฎีการสอนในช่วงเวลาที่ยังไม่พัฒนาทฤษฎีการเรียนการสอนดังนั้นครูจะได้ทำตามนัยยะเหล่านี้เพื่อจะปรับปรุงการเรียนรู้ที่ทฤษฎีการสอนและการศึกษาเกี่ยวกับการสอนอาจสามารถทำให้เกิดการใช้ความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้ที่ดีกว่าได้

    ทฤษฎีการสอนควรเกี่ยวข้องกับการอธิบายการทำนายและการควบคุมทิศทางครูที่ครูปฏิบัติส่งผลต่อการเรียนของผู้เรียนภาพรักที่เป็นลักษณะนี้ทำให้มีพื้นที่มากพอสำหรับทฤษฎีการสอน ดังนั้นทฤษฎีการสอนก็คงเกี่ยวข้องกับขอบเขตทั้งหมดของปรากฏการณ์ที่ไม่ได้รับการเอาใจใส่หรือถูกละเลยจากทฤษฎีการเรียนรู้ด้วย
ความชัดเจนของทฤษฎีการเรียนการสอนควรจะเป็นประโยชน์กับการผลิตครูในการผลิตครูบ่อยครั้งที่ดูเหมือนว่าจะมีการอ้างทฤษฎีการเรียนรู้ไปสู่การปฏิบัติการสอนการที่เรารู้เกี่ยวกับการเรียนไม่เป็นเพียงพอที่จะบอกว่าเราควรจะทำอะไรเกี่ยวกับการสอน. สิ่งที่ไม่เพียงพอเหล่านี้จะเห็นได้ชัในรายวิชาจิตวิทยาการศึกษา คู่ส่วนมากต้องรู้เกี่ยวกับการสอนว่าไม่ได้เป็นไปตามความรู้ในกระบวนการเรียนรู้โดยตรงความรู้ของครูต้องการความชัดเจนมากไปกว่าการลงความคิดเห็น

     ครูต้องรู้ว่าควรจะจัดการกับพฤติกรรมของตนเองซึ่งมีผลต่อการเรียนรู้ของนักเรียนอย่างไรความรู้เกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้ไม่ได้คืนคืนอย่างอัตโนมัติ ในการอธิบายและควบคุมการปฏิบัติการสอนต้องการและเทคโนโลยีการสอนที่ถูกต้องของตนเอง ผู้เรียนจิตวิทยาการศึกษาแสดงความตั้งใจว่าได้เรียนรู้มากเกี่ยวกับการเรียนรู้และผู้เรียนแต่ไม่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการสอนและได้ตั้งคำถามเกี่ยวกับความสมบูรณ์ของการสอนแบบสืบสวนซึ่งรวมอยู่ในทฤษฎีการสอนด้วย

3.ธรรมชาติของทฤษฏีการเรียนการสอน

   ทฤษฎีการเรียนการสอน(Theory of instructions) เป็นกฎที่เกี่ยวข้องกับวิธีการที่มีประสิทธิภาพที่สุดของการประสบความสำเร็จได้ความรู้หรือทักษะ ทฤษฎีการเรียนการสอนเกี่ยวข้องกับความปรารถนาที่จะสอนให้ผู้เรียนรู้ให้ดีที่สุดอย่างไรโดยการปรับปรุงแผนที่จะพรรณา การเรียนรู้

   ทฤษฎีการเรียนรู้และทฤษฎีการพัฒนามีความสัมพันธ์กับทฤษฎีการเรียนการสอนตามความเป็นจริงทฤษฎีการเรียนการสอนต้องเกี่ยวข้องกับการเรียนรู้และการพัฒนาดีเท่ากับเนื้อหาวิชาและต้องมีความสมเหตุสมผลท่ามกลางทฤษฎีอื่น ที่มีหลากหลายทุกทฤษฎีมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันสำหรับทฤษฎีการเรียนการสอนมีลักษณะสำคัญสี่ประการ (bruner.1964,306-308)   คือ

ประการแรก ทฤษฎีการเรียนการสอนควรชี้เฉพาะประสบการณ์ซึ่งปลูกฝังบ่ม เฉพาะบุคคลให้โอนเอียงสู่การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพหรือเป็นการเรียนรู้ที่สุดชนิดพิเศษตัวอย่างเช่นความสัมพันธ์ชนิดใดที่มีโอกาสต่อโรงเรียนและสิ่งต่างๆในสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนอนุบาลซึ่งมีแนวโน้มทำให้เด็กตั้งใจและสามารถเรียนรู้เมื่อเข้าโรงเรียน

ประการที่สอง ทฤษฎีการเรียนการสอนต้องชี้เฉพาะวิธีการจัดโครงสร้างองค์ความรู้เพื่อเกิดความพร้อมที่สุดสำหรับผู้เรียนที่จะตักตวงความรู้เท่านั้นความดีของโครงสร้างขึ้นอยู่กับพลังงานในการทำสาระสนเทศที่มีความง่ายในการให้ข้อความใหม่ที่ต้องพิสูจน์และเพิ่มการถ่ายทอดองค์ความรู้อยู่สม่ำเสมอ

ประการที่สาม ทฤษฎีการเรียนการสอนควรชี้เฉพาะขั้นตอนที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการนำเสนอสิ่งที่ผู้เรียนต้องเรียนรู้ตัวอย่างเช่นผู้สอนคนหนึ่งปราถนาที่จะสอนโครงสร้างทฤษฎีฟิสิกส์สมัยใหม่เค้าทำอย่างไรเค้านำเสนอที่เป็นรูปธรรมก่อนด้วยวิธีการใช้คำถามเพื่อสืบค้นความจริงเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ที่ผู้เรียนต้องนำไปคิดซึ่งทำให้ง่ายขึ้นเมื่อต้องเผชิญกับการเสนอกฎนี้อีก

ประการสุดท้าย ทฤษฎีการเรียนรู้ควรใช้เฉพาะธรรมชาติและช่วงเก้าของการให้รางวัลและการลงโทษในกระบวนการเรียนรู้และการสอนในขณะกระบวนการเรียนรู้มี. ที่ดีกว่าจะเปลี่ยนจากรางวัลภายนอกเช่นคำยกย่องสรรเสริญจากครูไปเป็นรางวัลภายในโดยธรรมชาติในการแก้ปัญหาที่ซับซ้อนสำหรับตนเอง ดังนั้นการให้รางวัลเคลื่อนย้ายหรือการเปลี่ยนแปลงจากรางวัลภายนอกไปสู่รางวัลภายในและจะได้รางวัลทันทีไปสู่รางวัลการอนุโลมตามเป็นเรื่องที่เข้าใจยากและมีความสำคัญอย่างเห็นได้ชัด. ตัวอย่างเช่นไม่ว่าเรียนรู้เกี่ยวข้องกับบูรณาการของการกระทำมีขั้นตอนยาวหรือไม่การเปลี่ยนแปลงควรจะทำให้เร็วที่สุดจากการให้รางวัลท่านใดเป็นการอนุโลมตามและจากรางวัลภายนอกเป็นรางวัลภายใน


4.ทฤษฏีการเรียนการสอน

  มีทฤษฎีการเรียนการสอนที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ได้มากมายซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึง เพียง4ทฤษฎีที่มีลักษณะแตกต่างกันคือ
  • ทฤษฎีการเรียนการสอนของการเย่และบริกส์ (gagne and briggs) 
  • ทฤษฎีการเรียนการสอนของเมอร์วิล และไรเกลุท (merrill and reigeluth) 
  • ทฤษฎีการเรียนการสอนของเคส(case) 
  • ทฤษฎีการเรียนการสอนของลันดา(landa)

1.ทฤษฎีการเรียนการสอนของการเย่และบริกส์ (gagne and briggs) 

   โรเบิร์ต กาเย่ (Robert Gagne) เป็นนักปรัชญาและจิตวิทยาการศึกษาชาวอเมริกา (1916-2002) ได้เสนอแนวความคิดเกี่ยวกับการสอน คือ ทฤษฎีเงื่อนไขการเรียนรู้ (Condition of Learning)โดยทฤษฎีการเรียนรู้ของกาเย่จัดอยู่ในกลุ่มผสมผสาน (Gagne’s eclecticism)   ซึ่งเชื่อว่าความรู้มีหลายประเภท  บางประเภทสามารถเข้าใจได้อย่างรวดเร็วไม่ต้องใช้ความคิดที่ลึกซึ้งบางประ เภทมีความซับซ้อนจำเป็นต้องใช้ความสามารถในขั้นสูง  ทฤษฎีการเรียนรู้ของกาเย่อธิบายว่าการเรียนรู้มีองค์ประกอบ  3  ส่วน  คือ

    ก.หลักการและแนวคิด

          1)ผลการเรียนรู้หรือความสามารถด้านต่าง ๆ  ของมนุษย์   ซึ่งมีอยู่  5  ประเภท  คือ

          – ทักษะทางปัญญา  (Intellectual  skill) ซึ่งประกอบด้วยการจำแนกแยกแยะการสร้างความคิดรวบยอดการสร้างกฎการสร้างกระบวนการหรือกฎชั้นสูง 

          –  กลวิธีในการเรียนรู้ (Cognitive  strategy)

          –  ภาษาหรือคำพูด (verbal  information)

          –  ทักษะการเคลื่อนไหว (motor  skills)

          –  และเจตคติ (attitude)

           2) กระบวนการเรียนรู้และจดจำของมนุษย์ มนุษย์มีกระบวนการจัดกระทำข้อมูลในสมอง ซึ่งมนุษย์จะอาศัยข้อมูลที่สะสมไว้มาพิจารณาเลือกจัดกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง  และในขณะที่กระบวนการจัดกระทำข้อมูลภายในสมองกำลังเกิดขึ้น   เหตุการณืภายนอกร่างกายมนุษย์มีอิทธิพลต่อการส่งเสริมหรือการยับยั้งการ เรียนรู้ที่เกิดขึ้นภายในได้   ดังนั้นในการจัดการเรียนการสอนกาเย่จึงได้เสนอแนะว่า ควรมีการจัดสภาพการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับการเรียนรู้แต่ละประเภท ซึ่งมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกัน  และส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ภายในสมอง   โดยการจัดสภาพภายนอกให้เอื้อต่อกระบวนการเรียนรู้ภายในของผู้เรียน

             ข.วัตถุประสงค์

             เพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้เนื้อหาสาระต่าง ๆ  ได้อย่างดี   รวดเร็ว  และสามารถจดจำสิ่งที่เรียนได้นาน

             ค.กระบวนการเรียนการสอน              

             กาเย่ได้นำเอาแนวความคิดมาใช้ในการเรียนการสอนโดยยึดหลักการนำเสนอเนื้อหาและจัดกิจกรรมการเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์   หลักการสอน  9  ประการ  ได้แก่ 

                1.เร่งเร้าความสนใจ (Gain Attention)กระตุ้นหรือเร้าให้ผู้เรียนเกิดความสนใจกับบทเรียนและเนื้อหาที่จะเรียนการเร้าความสนใจผู้เรียนนี้อาจทำได้โดย การจัดสภาพแวดล้อมให้ดึงดูดความสนใจ  เช่น  การใช้ภาพกราฟิก  ภาพเคลื่อนไหว และ/หรือการใช้เสียงประกอบบทเรียนในส่วนบทนำ

                2.บอกวัตถุประสงค์ (Specify Objective)การบอกให้ผู้เรียนทราบถึงจุดประสงค์ของบทเรียนนี้มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการเรียนการสอนบนเว็บที่ผู้เรียนสามารถควบคุมการเรียนของตนเองได้โดย   การเลือกศึกษาเนื้อหาที่ต้องการศึกษาได้เอง   ดังนั้นการที่ผู้เรียนได้ทราบถึงจุดประสงค์ของบทเรียนล่วงหน้าทำให้ผู้เรียนสามารถมุ่งความสนใจไปที่เนื้อหาบทเรียนที่เกี่ยวข้อง  อีกทั้งยังสามารถเลือกศึกษาเนื้อหาเฉพาะที่ตนยังขาดความเข้าใจที่จะช่วยทำให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถตรงตามจุดประสงค์ของบทเรียนที่ได้กำหนดไว้

                3.ทบทวนความรู้เดิม (Activate Prior Knowledge)การทบทวนความรู้เดิมช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้เนื้อหาใหม่ได้รวดเร็วยิ่งขึ้นรูปแบบการทบทวนความรู้เดิมในบทเรียนบนเว็บทำได้หลายวิธี  เช่น  กิจกรรมการถาม-ตอบคำถาม หรือการแบ่งกลุ่มให้ผู้เรียนอภิปรายหรือสรุปเนื้อหาที่ได้เคยเรียนมาแล้ว  เป็นต้น                

                4.นำเสนอเนื้อหาใหม่ (Present New Informationการนำเสนอบทเรียนบนเว็บสามารถทำได้หลายรูปแบบด้วยกัน  คือ  การนำเสนอด้วยข้อความ รูปภาพ  เสียง   หรือแม้กระทั่ง วีดิทัศน์   อย่างไรก็ตามสิ่งสำคัญที่ผู้สอนควรให้ความสำคัญก็คือผู้เรียน ผู้สอนควรพิจารณาลักษณะของผู้เรียนเป็นสำคัญเพื่อให้การนำเสนอบทเรียนเหมาะสมกับผู้เรียนมากที่สุด

               5.ชี้แนะแนวทางการเรียนรู้ (Guide Learning)การชี้แนวทางการเรียนรู้  หมายถึง  การชี้แนะให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้เรียนใหม่ผสมผสานกับความรู้เก่าที่เคยได้เรียนไปแล้ว   เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่รวดเร็วและมีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น

                6.กระตุ้นการตอบสนองบทเรียน (Elicit Response)นักการศึกษาต่างทราบดีว่าการเรียนรู้เกิดขึ้นจากการที่ผู้เรียนได้มีโอกาสมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนการสอนโดยตรง   ดังนั้นในการจัดการเรียนการสอนบนเว็บจึงควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียน  ซึ่งอาจทำได้โดยการจัดกิจกรรมการสนทนาออนไลน์รูปแบบ Synchronous หรือการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นผ่านเว็บบอร์ดในรูปแบบ  Asynchronous  เป็นต้น

                7.ให้ข้อมูลย้อนกลับ (Provide Feedback)ลักษณะเด่นประการหนึ่งของการเรียนการสอนบนเว็บก็คือการที่ผู้สอนสามารถติดต่อสื่อสารกับผู้เรียนได้โดยตรงอย่างใกล้ชิด   เนื่องจากบทบาทของผู้สอนนั้นเปลี่ยนจากการเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้แต่เพียงผู้เดียวมาเป็นผู้ให้คำแนะนำและช่วยกำกับการเรียนของผู้เรียนรายบุคคล  และด้วยความสามารถของอินเทอร์เน็ตที่ทำให้ผู้เรียนและผู้สอนสามารถติดต่อกันได้ตลอดเวลา  ทำให้ผู้สอนสามารถติดตามก้าวหน้าและสามารถให้ผลย้อนกลับแก่ผู้เรียนแต่ละคนได้ด้วยความสะดวก  

                8.ทดสอบความรู้ใหม่ (Assess Performance)การทดสอบความรู้ความสามารถผู้เรียนเป็นขั้นตอนที่สำคัญอีกขั้นตอนหนึ่ง  เพราะทำให้ทั้งผู้เรียนและผู้สอนได้ทราบถึงระดับความรู้ความเข้าใจที่ผู้เรียนมีต่อเนื้อหาในบทเรียนนั้นๆ  การทดสอบความรู้ในบทเรียนบนเว็บสามารถทำได้หลายรูปแบบ   ไม่ว่าจะเป็นข้อสอบแบบปรนัยหรืออัตนัย การจัดทำกิจกรรมการอภิปรายกลุ่มใหญ่หรือกลุ่มย่อยเป็นต้น  ซึ่งการทดสอบนี้ผู้เรียนสามารถทำการทดสอบบนเว็บผ่านระบบเครือข่ายได้

                9.สรุปและนำไปใช้ (Review and Transfer)การสรุปและนำไปใช้ จัดว่าเป็นส่วนสำคัญในขั้นตอนสุดท้ายที่บทเรียนจะต้องสรุปมโนคติของเนื้อหาเฉพาะประเด็นสำคัญ ๆ   รวมทั้งข้อเสนอแนะต่าง ๆ   เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีโอกาสทบทวนความรู้ของตนเองหลังจากศึกษาเนื้อหาผ่านมาแล้ว   ในขณะเดียวกันบทเรียนต้องชี้แนะเนื้อหาที่เกี่ยวข้องหรือให้ข้อมูลอ้างอิงเพิ่มเติม   เพื่อแนะแนวทางให้ผู้เรียนได้ศึกษาต่อในบทเรียนถัดไปหรือนำไปประยุกต์ใช้กับงานอื่นต่อไป


ทฤษฎีการเรียนการสอนของการเย่

    เลสลี่ บริกส์ (Leslie Briggs) เป็นนักการศึกษาที่สําคัญในวงการออกแบบและพัฒนาระบบการเรียน การสอน ได้มีการดําเนินการออกแบบในแต่ละขั้นตอนอย่างละเอียด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรูแบบการเลือกใช้ สื่อการสอน ซึ่งได้มีการวางแผนเพื่อนําเอานวัตกรรมมาเผยแพร่ด้วย ระบบการเรียนการสอนของ Briggs เหมาะสําหรับการออกแบบ การเรียนการสอนในระดับหน่วยวิชา หรือระดับโปรแกรมการเรียนรายวิชา ซึ่งถ้า สามารถดําเนินการตามคําแนะนําทุกขั้นตอนแล้ว การใช้ระบบของ Briggs จะได้ผลดีโดยเฉพาะ ในการพัฒนา โปรแกรมการเรียนการสอนรายวิชา



                                                 ระบบการเรียนการสอนของบริกส์


วีดีโอที่เกี่ยวข้อง


2.ทฤษฎีการเรียนการสอนของเมอร์วิล และไรเกลุท (merrill and reigeluth) 

    ทฤษฎีการเรียนการสอนของเมอร์ริลและไรเกลุท เกี่ยวข้องกับกลยุทธ์มหาภาพสำหรับการจัดการเรียนรู้การสอนเช่นความสัมพันธ์ระหว่างหัวข้อของรายวิชาและลำดับขั้นตอนการเรียนการสอน ทฤษฎีนี้เน้นมโนทัศน์หลักการระเบียบวิธีการและระลึก สาระสนเทศข้อความจริงต่างๆได้ทั่วไป แล้วทฤษฎีนี้มีทัศนะเกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนว่าเป็นกระบวนการของการนำเสนอรายละเอียดอย่างค่อยเป็นค่อยไป

   ขั้นตอนการเรียนการสอนประกอบด้วย

  • 1.เลือกการปฏิบัติทั้งหมดที่จะสอนโดยการวิเคราะห์ภาระงาน
  • 2.ตัดสินใจว่าจะสอนการปฏิบัติใดเป็นลำดับแรก
  • 3.เรียงลำดับขั้นตอนการปฏิบัติที่ยังค้างคาอยู่
  • 4.ระบุเนื้อหาที่สนับสนุน
  • 5.กำหนดเนื้อหาทั้งหมดเป็นบทและจัดลำดับบท
  • 6.เรียงลำดับการเรียนการสอนภายในบท
  • 7.ออกแบบการเรียนการสอนสำหรับแต่ละบท

     แบบจำลองดังกล่าวนี้ใช้วิเคราะห์ภาระงานในการระบุเนื้อหาที่จะสอนในขณะที่กาเย่และบริกส์เน้นลำดับก่อนหลังของการเรียนรู้ที่สัมพันธ์กันเป็นพื้นฐานสำหรับการจัดขั้นตอนการเรียนการสอน เมอรริลและไรเกลุทเน้นการเรียนการสอนเบื้องต้นด้วยความคิดที่กว้างกว้างโดยทั่วไปอาจเป็นนิดเดียวก็จะดำเนินไปสู่รายละเอียดให้มากขึ้นหรือเป็นความผิดที่มีรูปธรรมมากขึ้น


 3.ทฤษฎีการสอนของเคส (Case)

      ทฤษฎีการสอนของเคส ได้แนะนำว่าขั้นตอนของพฤติกรรมระหว่างระยะสำคัญของการพัฒนาเชาว์ปัญญาขึ้นอยู่กับการปรากฏให้เห็นถึงการเพิ่มความซับซ้อนของประยุทธ์ทางปัญญาการใช้กลยุทธ์ที่ซับซ้อนมากขึ้นกับผู้เรียนทำให้เพิ่มประสบการณ์และเพิ่มขนาดของการทำงานในหน่วยความจำอย่างค่อยเป็นค่อยไปด้วย
      ทฤษฎีการสอนของเคส ให้แนวคิดเกี่ยวกับการสอนด้านพฤติกรรมในระหว่างการสอนแต่ละขั้นของพัฒนาการทางสติปัญญานั้นขึ้นกับการเพิ่มความซับซ้อนของยุทธศาสตร์การคิด ผู้เรียนจะใช้ความคิดที่ซับซ้อนได้เมื่อได้รับประสบการณ์อย่างมีขั้นตอน การจัดการสอนลักษณะนี้จัดลำดับตามความมุ่งหมายของภารกิจที่จะเรียน จัดลำดับขั้นการปฏิบัติเพื่อนำไปสู่ความมุ่งหมายนั้น ๆ โดยการเปรียบเทียบการคิดกับทักษะที่ผู้เรียนได้รับ มีการจัดระดับความสามารถและการปฏิบัติของผู้เรียน มีแบบฝึกหัดหรือตัวอย่างให้ผู้เรียนได้ศึกษา
    ทฤษฎีการสอนของเคส มีความขายครึ่งกับงานของเพียเจโดยเพียเจได้แนะนำว่าประยุทธ์ทางปัญญาของนักเรียนที่ยังไม่รับการสอนสามารถจะเปิดเผยและใช้พื้นฐานสำหรับจัดลำดับขั้นตอนการเรียนการสอนและวางแผนเหตุการณ์การเรียนการสอนได้


4.ทฤษฎีการเรียนการสอนของลันดา(landa)

    ทฤษฎีการเรียนการสอนของลันดา เป็นการออกแบบการจำลองการเรียนการสอนที่ออกมาโดยใช้วิธีการพิเศษในการแก้ปัญหาเฉพาะอย่าง โปรแกรมการฝึกอบรมมีการพัฒนาวิธีการพิเศษในการแก้ปัญหาเฉพาะอย่างของภาระงาน. ซึ่งกำหนดให้ผู้เรียนติดตามระเบียบวิธีการที่มีอยู่ในคู่มือการอบฝึกอบรมในการใช้วิธีการออกแบบของอันดาเป็นความจำเป็นที่ต้องมีการระบุกิจกรรมและการปฏิบัติทั้งหมดที่มีอยู่ก่อนหน้านั้นซึ่งผู้เรียนจะต้องแสดงออกมาเพื่อได้รวมใหม่ในการแก้ปัญหาบางอย่าง  
    ในทางตรงข้ามอาจเรียกว่าเป็นวิธีการทางจิตวิทยาในการวางแผนการเรียนการสอนผู้เชี่ยวชาญหลักสูตรมีแนวโน้มที่จะเน้นไปทางโครงสร้างของเนื้อหาบนพื้นฐานของการนำไปประยุกต์ใช้บ่อยครั้งมีการจัดการเรียนรู้เป็น
  • 1.เนื้อหาด้านปัญญา
  • 2.ทักษะทางวิชาการ
  • 3.การเรียนรู้สังคม
  • 4.การเรียนรู้ตามความต้องการของเอกัตบุคคล
    ทฤษฎีการเรียนการสอนเหล่านี้และทฤษฎีการเรียนการสอนอื่นๆต่างเป็นความต้องการจำเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการวิจัยการจัดสาระสนเทศเกี่ยวกับการเรียนรู้ของมนุษย์อย่างไรก็ตามยังคงเป็นหนทางอีกยาวไกลกว่าทฤษฎีใดทฤษฎีหนึ่งเรานี้จะกำหนดกระบวนการสำหรับการออกแบบการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพสำหรับเอกัตบุคคลหรือของผู้เรียนปัจจุบันนี้ทฤษฎีการเรียนการสอนทั้งหลายจะให้หลักการที่เป็นแนวทางที่มีประโยชน์หรือครอบคลุมสำหรับการออกแบบจึงต้องเน้นเป็นอย่างมากเกี่ยวกับการทดสอบตัวแบบของการเรียนการสอนก่อนจะมีการเผยแพร่นำไปใช้โดยทั่วไป




วิดิโอที่เรื่องกลยุทธ์การเรียนการสอน


5.หลักการเรียนรู้

    →การเรียนการสอนเป็นการทำให้ผู้เรียนมีความตั้งใจต่อภาระงานเป็นการจูงใจผู้เรียนด้วยการอธิบายประโยชน์ของสัมฤทธิ์ผลตามจุดประสงค์และโยงความสัมพันธ์ของการเรียนรู้ใหม่เข้ากับการเรียนรู้เดิม
    
     →การนำเสนอนี้จะมุ่งไปที่เหตุการณ์ระหว่างที่มีการนำสาระสนเทศข้อความจริงมโนทัศน์หลักการหรือวิธีการไปสู่นักเรียนข้อกำหนดของการเสนอจะมีความหลากหลายขึ้นอยู่กับแบบของการเรียนรู้ที่จะประสบผลสำเร็จและระดับพฤติกรรมความพร้อมที่จะรับการสอนของผู้เรียน

การแนะนำบทเรียน
การแนะนำบทเรียนกิจกรรมเริ่มแรกของกระบวนการสอนการเรียนรู้คือทำให้ผู้เรียนตั้งใจและเตรียมผู้เรียนไปสู่การฝึกปฏิบัติและการแนะนำบทเรียนควรอธิบายจุดประสงค์ของการเรียนการสอนพัฒนาประโยชน์ของการบรรลุผลสำเร็จตามจุดประสงค์และโยงความสัมพันธ์สำหรับสิ่งที่ผู้เรียนรู้ใหม่กับความรู้เดิมผู้เรียนจะประสบผลสำเร็จตามจุดประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าถ้าได้รับรู้ว่าการเรียนการสอนจะเริ่มต้นเมื่อไหร่และคาดหวังอะไร. เมื่อรู้แล้วสามารถพรุ่งความสนใจไปที่กิจกรรมที่จะนำไปสู่ความสำเร็จตามจุดประสงค์

การนำเสนอเนื้อหาใหม่
การนำเสนอเนื้อหาใหม่เมื่อมีการเรียนรู้ใหม่บทเรียนควรนำเสนอข้อความจริงหรือพนานาสาธิตทักษะการนำเสนอเนื้อหาใหม่ใหม่ให้จดจำได้ง่ายควรนำเสนออย่างมีลำดับขั้นตอนมีแบบของโครงสร้างทำให้มีความหมายต่อผู้เรียน การขจัดสาระสนเทศแทรกซ้อนไม่เป็นที่ต้องการและขจัดเนื้อหาที่สับสนและไม่เกี่ยวข้องออกไปแต่ดีต่อผู้เรียน

การฝึกปฏิบัติ
การฝึกปฏิบัติการเรียนรู้เป็นกระบวนการของการตื่นตัวและมีประสิทธิภาพมากขึ้นเมื่อผู้เรียนได้มีการผลิตมีการปฏิบัติหรือมีการพยายามใช้มือกลับภาระการงานที่ได้เรียนรู้ การฝึกปฏิบัติเป็นส่วนผสมที่สำคัญที่สุดของการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพช่วยเร่งการเรียนรู้ช่วยให้จดจำได้นานและให้ความสะดวกในการละลึกได้

การปฏิบัติที่เปิดเผยหรือไม่เปิดเผย
เป็นได้ทั้งการตอบสนองอย่างเปิดเผยและไม่เปิดเผยการตอบสนองแบบเปิดเผยเช่นการเขียนคำตอบการแสดงวิธีการการกล่าวคำวลี ส่วนการตอบสนองพี่ไม่เปิดเผยเช่นการที่คำตอบการปฏิบัติทางสมองเกี่ยวกับโซของคำพูดพี่ออกมาเป็นคำบรรยายซึ่งกระบวนการเหล่านี้เป็นสิ่งที่สังเกตไม่ได้

ตารางการฝึกปฏิบัติ
โดยทั่วไปแล้วยิ่งผู้เรียนมีโอกาสตอบสนองมากเท่าไหร่การเรียนรู้สิ่งเกิดมากขึ้นเท่านั้นการฝึกปฏิบัติไม่ควรจะมากในช่วงเวลาเดียว การท่องหนังสือเพื่อการสอบเป็นตัวอย่างปฏิบัติที่มากในครั้งเดียวอาจทำให้เกิดผลทดสอบได้คะแนนสูงแต่อาจลืมเนื้อหาวิชาได้อย่างรวดเร็ว การกระจายการฝึกปฏิบัติเป็นสิ่งที่ดีกว่าสำหรับการเรียนรู้ทุกประเภทและเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับผู้ที่มีความสามารถน้อย

การปฏิบัติเชิงเปลี่ยนแปลง
เป็นสะพานข้ามช่องว่างระหว่างพฤติกรรมระดับความพร้อมที่จะรับการสอนและปฏิบัติตามเกณฑ์หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่าเป็นการเรียนรู้ที่เพิ่มจากระดับความพร้อมที่จะรับการสอนไปถึงเกณฑ์ที่ต้องปฏิบัติให้ได้เป็นความตั้งใจที่จะจัดเตรียมผู้เรียนล่วงหน้าในการเรียนรู้ด้วยสถานการณ์ให้ผู้เรียนสามารถปรับได้ การฝึกปฏิบัติต้องค่อยเป็นค่อยไปควรเริ่มจากง่ายง่ายทีละเล็กน้อยและค่อยค่อยยากขึ้นจนกระทั่งผู้เรียนสามารถปฏิบัติได้ดี


6.การวิจัยการเรียนรู้

     การวิจัยการเรียนรู้ผู้ออกแบบการเรียนการสอนแบบเฝ้าดูงานวิจัยที่จะตัดสินว่าเงื่อนไขอะไรทำให้มีการเรียนรู้เพิ่มขึ้นในสถานการณ์ที่ขายครึ่งกับสิ่งที่ตนเผชิญอยู่  กรณีที่มีหลากหลายด้วยการตั้งคำถามลึกลึกเกี่ยวกับประสบการณ์ที่มีสำหรับการสำรวจประชากรกลุ่มใหญ่เพื่อที่ตัดสินใจว่าประชากรเรานั้นชอบหรือไม่ชอบแต่สิ่งที่สำคัญที่สุดเป็นการให้ผลต่อการศึกษาคือ การทดลอง

    แบบมโนทัศน์ของการวิจัยเกี่ยวกับการออกแบบการเรียนการสอน เนื้อหาส่วนใหญ่ของงานวิจัยที่เกี่ยวกับตัวแปรการออกแบบการเรียนการสอนต้องไปกว้างเกินไปโดยปราศจากการจัดการริทชี่ได้จัดกลุ่มงานวิจัยเกี่ยวกับตัวแปรการเรียนการสอนเป็นสี่กลุ่มใหญ่คือ 
  • 1.ผู้เรียน 
  • 2.เนื้อหาวิชา
  • 3.สิ่งแวดล้อม
  • 4.ระบบการสอน 

    ข้อมูลป้อนกลับ อีกวิธีหนึ่งทำให้การผิดพลาดคือการให้ผู้เรียนได้รับการรับรู้ที่คอยตอบสนองนั้นไม่ถูกต้องการรู้ว่าถูกหรือผิดควรช่วยให้ผู้เรียนแก้ไขการกระทำให้ถูกต้องระหว่างการทดลองและเน้นไปที่สวนของภาระงานที่ต้องกลั่นกรอง


7.ความเข้าใจผู้เรียนและการเรียนรู้

การเรียนรู้เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ถาวรเนื่องจากการฝึกปฏิบัติหรือประสบการณ์การเรียนรู้ขึ้นอยู่กับปัจจัยสามประการคือ
  • 1.ความสามารถของผู้เรียน
  • 2.ระดับของแรงจุงใจ
  • 3ธรรมชาติของภาระงาน. 

     การเรียนรู้มีกระบวนการดังนี้ 
  • 1.แรงจูงใจภายในทำให้ผู้เรียนมีความคิดง่าย
  • 2.เป้าประสงค์ทำให้มีสำคัญได้ถึงความต้องการจำเป็นในสิ่งที่เรียน
  • 3.ผู้เรียนศหาวิธีการที่เหมาะสมในการแก้ปัญหา
  • 4.ผลของความก้าวหน้าจากการเลือกแก้ปัญหาที่ลดความตึงเครียด
  • 5.การขจัดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม

     ขอบเขตของการเรียนรู้สี่ประการ
   บูลมและเพื่อนเพื่อนเป็นที่รู้จักกันดีในการแบ่งการเรียนรู้ออกเป็นสามประเภทคือด้านปัญญาหรือผู้นำพิสัยด้าน ทักษะพิสัย และด้านที่พิสัย 

  • พุทธะพิสัย. รวมถึงความรู้ความเข้าใจ ในการนำไปประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์สังเคราะห์และประเมินคุณค่าพุทธะพิสัยแต่ละประเภทแหละอนุกรมวิธานประกอบด้วยองค์ประกอบหลักประการที่ประเภทความรู้ต้องมาก่อนอนุกรมวิธานมีประโยชน์สำหรับการออกแบบหลักสูตรและการสร้างแบบทดสอบ

  • จิตตะพิสัย การเรียนรู้ทางเจตคติพาดพิงถึงคุณลักษณะของอารมณ์ของการเรียนรู้เกี่ยวข้องกับว่านักเรียนรู้สึกอย่างไรกับประสบการณ์การเรียนรู้และการเรียนรู้กับตนเองเป็นการพิจารณาความสนใจและความซาบซึ้งค่านิยมและคุณลักษณะของผู้เรียน

  • ทักษะพิสัย. เกี่ยวข้องกับทางร่างกายหรือทางประสาทกล้ามเนื้อสัมพันธ์กันในการเฝ้าดูการเรียนรู้ที่จะเดินก็เกิดความคิดว่ามนุษย์เรียนรู้ทักษะการเคลื่อนไหวอย่างไรเมื่อเด็กได้รับความคิดว่าต้องการอะไรจะมีทักษะที่หมักก่อนความแข็งแรง

  • สังคมพิสัย มีความใกล้เคียงกับจิตพิสัยและเกี่ยวข้องกับการปรับตัวของบุคคลและทักษะปฏิบัติสัมพันธ์ทางสังคม การรู้จักเติมเต็มตนเองให้สมบูรณ์ที่เรียกว่า self-fulfillment ครูต้องมั่นใจในทักษะทางสังคมทางบวกมากกว่าทางลบว่าเป็นผลที่ปรากฏภายหลังของการศึกษา


8.การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

   การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
   ปัจจุบันมีการกล่าวขานมากมายถึงการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางหรือเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญซึ่งนักศึกษาเป็นผู้คิดคนและใช้คำนี้เป็นครั้งแรกคือ อาร์ โรเจอร์ โดยเชื่อว่าวิธีการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเป็นสิ่งที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบโดยส่งเสริมความคิดของผู้เรียนและอำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนได้พัฒนาศักยภาพสูงสุดของตนเองโดยมีแนวคิดดังนี้
  • 1.ผู้เรียนต้องรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตนเอง
  • 2.เนื้อหาวิชามีความสำคัญและมีความหมายต่อการเรียน
  • 3.การเรียนรู้จะประสบความสัมพันธ์ที่ดี
  • 4.ระหว่างผู้เรียนการมีปฏิสัมพันธ์ผลสำเร็จถ้าผู้เรียนมีส่วนร่วม
  • 5ครูเป็นมากกว่าผู้สอน.
  • 6.ผู้เรียนมีโอกาสเห็นตนเองในแง่มุมที่แตกต่างจากเดิม
  • 7.การศึกษาเป็นการให้นาประสบการณ์เรียนรู้ของผู้เรียนหลายๆด้าน
  • 8.ผู้เรียนได้เรียนรู้วิธีการทำงานอย่างเป็นกระบวนการ
  • 9.ผู้เรียนนำความรู้ที่ได้ไปเป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
  • 10.การเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางก่อให้เกิดความเป็นประชาธิปไตย
  • 11.การเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางสอนให้ผู้เรียนเกิดรู้จักวิพากษ์วิจารณ์
  • 12.การเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางทำให้เกิดการนำตนเอง
  • 13.การเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
  • 14.การเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางก่อให้เกิดการพัฒนามโนทัศน์ของตน
  • 15.การเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเป็นการเสาะแสวงหาความสามารถพิเศษของผู้เรียน
  • 16.การเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเป็นวิธีการที่ดีแล้วจะช่วยดึงศักยภาพของผู้เรียน


      สรุป

      สภาวการณ์เรียนการสอนพื้นฐานของการเรียนปกติจะรวมอยู่ในการเรียนการสอนทุกประเภทประกอบด้วย บทนำ การนำเสนอ การทดสอบตามเกณฑ์ การปฎิบัติในท่ามกลาง การแนะนำและ การให้ข้อมูลป้อนกลับ

    ทฤษฎีการเรียนการสอนที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์มีอยู่มากในด้านการเรียนการสอนต้องพิจารณาคุณลักษณะของผู้เรียน สไตล์การสอนสไตล์การเรียนรู้แบบจำลองการสอนการจัดการเรียนการสอนและการนำเสนอการเรียนการสอน หลักการเรียนรู้ในบทนี้เป็นการนำเสนอสาระสนเทศความจริงมโนทัศน์เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเรียนรู้ประกอบด้วยการแนะนำบทเรียนการนำเสนอเนื้อหาใหม่และการฝึกปฏิบัติ
วิจัยการเรียนรู้เป็นวิจัยที่ตัดสินว่าเงื่อนไขอะไรทำให้มีการเรียนรู้เพิ่มขึ้นด้วยการสำรวจการศึกษาพฤติกรรมและให้ความสำคัญเป็นอย่างมากกับการทดลอง

    ความเข้าใจผู้เรียนรักการเรียนรู้มีขอบเขตสีด้านคือ. ด้านพุทธะพิสัย ด้านจิตตะพิสัย ด้านทักษะพิสัย  และด้านสังคมพิสัย

    การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางหรือการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เป็นการเรียนการสอนที่มุ่งประโยชน์สูงสุดให้แก่ผู้เรียนสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริงเรียนรู้อย่างมีความสุขได้พัฒนาเต็มศักยภาพรอบด้านมีความสมดุลย์มีทักษะการแสวงหาความรู้ความสามารถนำความรู้ไปใช้ได้ในชีวิตจริง

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บทที่ ๓ รูปแบบการเรียนการสอน

บทที่ ๑ แนวคิดการออกแบบและการจัดการเรียนรู้

บทที่ ๒ วิธีการสอนและเทคนิคการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ