บทที่ ๑ แนวคิดการออกแบบและการจัดการเรียนรู้

บทที่ ๑ แนวคิดการออกแบบและการจัดการเรียนรู้

             ๑.๑ความต้องการจำเป็นสำหรับการออกแบบและการจัดการเรียนรู้

                          เมื่อนำคำทั้งสองคือ การออกแบบและ การเรียนการสอนมารวมกันเป็น การออกแบบ การเรียนการสอน” (instructional design) นักการศึกษาด้านการออกแบบการเรียนการสอนได้ให้ ความหมายไว้ดังนี้
 ดิคและแครี (Dick & Carey, 1985, p. 5) ให้ความหมาย การออกแบบการเรียนการสอน คือ กระบวนการวางแผนการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการเรียนการสอนที่ต้องการ โดยตอบคำถามให้ได้ว่าจะสอนอะไรและสอนอย่างไรจึงจะบรรลุเป้าหมาย และจะทราบได้ อย่างไรว่าบรรลุเป้าหมายแล้ว
 ซีลส์ และกลาสโกว์ (Seels & Glasgow, 1990, p.4) ให้ความหมาย การออกแบบการเรียน การสอน คือกระบวนการพัฒนาอย่างเป็นระบบที่นำเอาทฤษฎีการเรียนรู้และทฤษฎีการสอนมาทำให้ การเรียนการสอนมีคุณภาพ
 แชมบอช และมาเกลียโร (Shambaugh & Magliaro, 1997, p. 24) ให้ความหมายของ   การออกแบบการเรียนการสอน คือ กระบวนการเชิงระบบที่ใช้ในการวิเคราะห์ความต้องการของผู้เรียน เพื่อจัดหาสิ่งที่จะช่วยให้นักออกแบบการเรียนการสอนสร้างสิ่งที่เป็นไปได้เพื่อตอบสนองความต้องการ ของผู้เรียน
 สมิทและราแกน (Smith & Ragan, 1999, p. 2) ให้ความหมาย การออกแบบการเรียนการสอน คือ กระบวนการที่เป็นระบบในการนำหลักการเรียนรู้และหลักการสอนไปวางแผนสื่อ วัสดุ อุปกรณ์  การเรียนการสอนและกิจกรรมการเรียนการสอน
 กานเย เวเกอร์ โกลาส และเคลเลอร์ (Gagné, Wager, Golas, & Keller, 2005, p. 1) ให้ความหมาย ของการออกแบบการเรียนการสอน เป็นการน าหลักการเรียนรู้ไปออกแบบเหตุการณ์ ที่ประกอบด้วย กิจกรรมต่าง ๆ ที่กำหนดขึ้นอย่างมีเป้าประสงค์ชัดเจน หรือที่เรียกว่า การเรียนการสอนให้มี ประสิทธิภาพเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามที่คาดหวัง
 จากแนวคิดของนักการศึกษาดังกล่าว สรุปได้ว่า การออกแบบการเรียนการสอนมีลักษณะที่ สำคัญ คือ เป็นกระบวนการที่เป็นระบบที่นำมาใช้ในการศึกษาความต้องการของผู้เรียนและปัญหาการเรียน
 การสอนเพื่อแสวงหาแนวทางที่จะช่วยแก้ปัญหาการเรียนการสอน ซึ่งอาจเป็นการปรับปรุงสิ่งที่มีอยู่หรือ สร้างสิ่งใหม่โดยนำหลักการเรียนรู้และหลักการสอนมาใช้ในการดำเนินการ เป้าหมายของการออกแบบ การเรียนการสอนคือการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน
 จากความหมายข้างต้นอาจมีผู้สงสัยว่า การออกแบบการเรียนการสอนมีความเหมือนหรือ แตกต่างจากการวางแผนการเรียนการสอนอย่างไร หากย้อนไปดูที่ลักษณะสำคัญของการออกแบบตาม ที่โรว์แลนด์ ได้กล่าวไว้ในตอนต้นในเรื่องลักษณะสำคัญของการออกแบบก็จะพบคำตอบว่า การวางแผน การเรียนการสอนโดยทั่วไปอาจจะไม่มีการออกแบบการเรียนการสอน แต่การออกแบบการเรียน     การสอนต้องมีการวางแผนการเรียนการสอนเสมอ ผู้ออกแบบการเรียนการสอนต้องมีทั้งความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ และความคิดสร้างสรรค

 ๑.๒นิยามการออกแบบการเรียนการสอน

การจัดการเรียนรู้เป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์  ดังนั้นผู้สอนควรพิจารณาเลือกใช้เทคนิคกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสม  เลือกใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้ที่จะช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียน  และใช้วิธีการวัดผลประเมินผลที่หลากหลาย  ทั้งนี้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพของแต่ละคน  และสามารถนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปใช้ในชีวิตจริงได้

๑.๓ประโยชน์ของการออกแบบและการจัดการเรียนรู้

 ระบบการเรียนการสอนและวิธีการเชิงระบบ ได้มีบทบาทสำคัญในการออกแบบและ พัฒนาการเรียนการสอน  อย่างไรก็ตามพบว่าระบบการเรียนการสอนและวิธีการเชิงระบบที่ใช้อยู่เดิมแม้ จะมีประโยชน์อย่างมากแต่ก็มีข้อจำกัดบางประการ ซึ่งนำไปสู่แนวคิดใหม่ในการออกแบบระบบการ เรียนการสอน และรูปแบบของการออกแบบการเรียนการสอน ดังนี้ 
                ประโยชน์ของการใช้ระบบการเรียนการสอน 
 ระบบการเรียนการสอนมีประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอน ดังนี้ (Smith & Ragan, 1999, pp. 8-9., Dick, carey, Carey, 2001, p.11) 
 1) ระบบการเรียนการสอนเปรียบเสมือนพิมพ์เขียวที่จัดวางองค์ประกอบของการเรียนการสอน ต่าง ๆ ไว้อย่างเป็นระเบียบ ทำให้ครูรู้จุดมุ่งหมายของการเรียนการสอน การดำเนินการจัดการเรียนการสอน และการวัดผลผู้เรียน ซึ่งอำนวยความสะดวกแก่ครูในการเตรียมการสอนทำให้เกิดความพร้อมในการ ดำเนินงาน 
 2) ส่งเสริมให้การจัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ คือสามารถควบคุมการดำเนินงานให้ บรรลุจุดมุ่งหมายได้อย่างสะดวก รวดเร็ว มีคุณภาพ และประหยัดทรัพยากร รวมทั้งเวลา ดีกว่าการ
จัดการเรียนการสอนที่ขาดระบบ เพราะจะทำให้เกิดความสับสน เพราะไม่ทราบจุดมุ่งหมายชัดเจนและ ไม่สามารถควบคุมการดำเนินงานได้
 3) ช่วยให้ครูทราบปัญหาและหาแนวทางในการแก้ปัญหาการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะ สม  เพราะมีระบบควบคุมกระบวนการดำเนินการทำให้ทราบว่าผลการเรียนรู้ของนักเรียน เกิดจากปัญหาการ ดำเนินงานในส่วนใด เพื่อหาทางแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
 4) ช่วยให้ครูได้นำผลการประเมิน และข้อเสนอแนะต่าง ๆ ไปใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุง การเรียนการสอนให้มีคุณภาพดีขึ้น
  5) การน าวิธีการเชิงระบบไปใช้ในการพัฒนาสื่อการเรียนการสอน ก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ทาง การศึกษาต่าง ๆ เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่มีคุณภาพ เป็นประโยชน์สำหรับผู้ใช้อย่าง กว้างขวาง  
 ข้อจำกัดของการใช้ระบบการเรียนการสอน 
นักออกแบบการเรียนการสอน มีความเห็นว่าระบบการเรียนการสอนแบบเดิมที่จัด องค์ประกอบการเรียนการสอนแบบเส้นตรง มีข้อจำกัดในการนำไปใช้ ดังนี้
 1) การน าแนวคิดระบบและวิธีการเชิงระบบมาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนนั้นมี ค่าใช้จ่ายสูง และใช้ระยะเวลาในการดำเนินการนานกว่าจะเสร็จสมบูรณ์ตามขั้นตอนการดำเนินงานที่ กำหนด แม้ว่าจะมีคุณค่า จึงไม่เหมาะกับการพัฒนาการเรียนการสอนที่ทำในระบบที่ต้องการการปรับตัว อย่างรวดเร็ว เช่น การออกแบบสื่อคอมพิวเตอร์ซอฟท์แวร์ที่ต้องมีการปรับตัวตามความก้าวหน้าของ เทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
 2) ระบบการเรียนการสอนแบบเดิมมีความซับซ้อน ยุ่งยาก เพราะ เน้นการรวบรวมข้อมูลเชิง ประจักษ์มากมายเกินความจำเป็น เนื่องจากเน้นคุณภาพของผลผลิต เป็นสำคัญ จึงเป็นกระบวนการที่ไม่ เหมาะสมในการปฏิบัติจริงในระบบเล็ก ๆ เช่นการพัฒนาการเรียนการสอนของครูในห้องเรียน
 3) ระบบการเรียนการสอนที่กำหนดไว้ตายตัว ไม่สอดคล้องกับบริบทที่มีเงื่อนไขแตกต่างกัน การพัฒนาการเรียนการสอน ควรเริ่มต้นจากความเป็นไปได้ ณ จุดเริ่มต้นใดก็ได้ ตามเงื่อนไขของเวลา และทรัพยากรที่มีอยู่ และค่อย ๆ ปรับปรุงกระบวนการไปตามบริบทและเงื่อนไขที่เปลี่ยนแปลงไป

๑.๔แบบจำลองการออกแบบและการจัดการเรียนรู้โดยทั่วไป
 
1. การออกแบบการเรียนการสอน (Instructional design)
ความหมายของการออกแบบ เป็นการถ่ายทอดรูปแบบจากความคิดออกมาเป็นผลงานที่ผู้อื่นสามารถมองเห็น รับรู้ หรือสัมผัสได้  การออกแบบต้องใช้ศาสตร์แห่งความคิดและศิลป์ร่วมกัน เพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ หรือปรับปรุงพัฒนาสิ่งเดิมให้ดีขึ้น มีการใช้การออกแบบในทุก ๆ ด้าน เช่น การออกแบบผลิตภัณฑ์  การออกแบบสินค้า  การออกแบบโฆษณาประชาสัมพันธ์ รวมถึงการออกแบบการเรียนการสอน
การออกแบบการเรียนการสอน จึงเป็นกระบวนการวางแผนการเรียนการสอนอย่างมีระบบ โดยมีการวิเคราะห์องค์ประกอบการเรียนรู้ ทฤษฎีการเรียนการสอน สื่อกิจกรรมการเรียนรู้ต่าง ๆ รวมถึงการประเมินผล เพื่อให้ผู้สอนสามารถถ่ายทอดความรู้สู่ผู้เรียน  เกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ผู้สอนที่มีประสบการณ์การสอนอย่างดีจะสามารถใช้ประสบการณ์ และความรู้ความสามารถของตนเอง ในการคิด การเลือกวิธีการสอน สื่อการสอน และกิจกรรมการเรียน ทำให้คุณภาพของการเรียนการสอนต่างกันไปตามความสามารถของผู้สอนแต่ละคน การออกแบบการเรียนการสอนจะเป็นแนวทางที่ผู้สอนทุกคนต้องออกแบบการสอนของตนได้
การออกแบบการเรียนการสอนจะช่วยให้ผู้สอนวางแผนการสอนอย่างมีระบบ เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนบรรลุจุดมุ่งหมาย และประสบความสำเร็จผู้สอนต้องพิจารณาหลักการในการออกแบบการเรียนการสอน คือ
1. การออกแบบและพัฒนาการเรียนการสอนนี้เพื่อใคร ใครเป็นผู้เรียนหรือกลุ่มเป้าหมาย ผู้ออกแบบควรมีความเข้าใจและรู้จักลักษณะของกลุ่มผู้เรียนที่เป็นเป้าหมายในการเรียนอีเลิร์นนิง
2. ต้องการให้ผู้เรียนเรียนอะไร มีความรู้ความเข้าใจ และมีความสามารถอะไร ผู้สอนจึงต้องกำหนดจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอนให้ชัดเจน
3. ผู้เรียนจะเรียนรู้เนื้อหาวิชานั้น ๆ ได้ดีที่สุดอย่างไร ควรใช้วิธีการและกิจกรรมการเรียนรู้อะไรที่จะช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ และมีสิ่งใดที่ต้องคำนึงถึงบ้าง
4. เมื่อผู้เรียนเข้าสู่กระบวนการเรียน จะทราบได้อย่างไรว่าผู้เรียนมีการเรียนรู้เกิดขึ้น และประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้ จะใช้วิธีใดประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
สรุปได้ว่า การออกแบบการเรียนการสอน ควรมีการวางแผนเพื่อพิจารณาว่าผู้เรียนเป็นใคร                      มีคุณลักษณะพื้นฐานอย่างไร กำหนดจุดมุ่งหมายในการสอนครั้งนั้นอย่างไร จะใช้วิธีการสอนและกิจกรรมการเรียนรู้ และวิธีการประเมินผลการเรียนอะไรบ้าง จึงจะสามารถทำให้การสอนนั้นบรรลุเป้าหมาย คือภายหลังเรียนแล้วรู้ เข้าใจ จดจำ นำไปใช้ ทำได้ สร้างสรรค์สิ่งใหม่ได้ เป็นต้น

๑.๕บทบาทของผู้ออกแบบและการจัดการเรียนรู้
 
บทบาทครูและบทบาทผู้เรียนในการจัดการเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ
            1. บทบาทครู
    ศึกษามาตรฐานการศึกษา และ วิเคราะห์หลักสูตร
    วางแผนการสอน   กำหนดเป้าหมาย  และจุดประสงค์การเรียนรู้

      ร่วมกับผู้เรียน
    นำกระบวนการวิจัยในชั้นเรียนเข้ามาใช้ในการสอน
    ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

และการเรียนรู้อย่างมีความสุข ร่วมกับผู้เรียน
    เตรียมวัสดุ  อุปกรณ์  สื่อการเรียนรู้
    ดูแลกระบวนการเรียนรู้  กระตุ้นให้ปฏิบัติ  ให้คำแนะนำ
    นำอภิปราย  ช่วยผู้เรียนประมวลสรุปข้อเรียนรู้
    เสริมความรู้   และ ส่งเสริมการนำความรู้ไปใช้
    วัดผล  ประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนตามสภาพจริง
    บันทึกสรุปผลการสอน
    วิเคราะห์เพื่อปรับปรุงการเรียนการสอน

            2. บทบาทผู้เรียน
    ร่วมกำหนดเป้าหมาย และ จุดประสงค์การเรียนรู้
    ร่วมวางแผน  ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้
    สร้างความรู้ด้วยตนเอง  โดยการแสวงหาข้อมูล  ศึกษาทำความเข้าใจ คิดวิเคราะห์ ตีความ แปลความสร้างความหมายแก่ตนเองสังเคราะห์ข้อมูล สรุปข้อความรู้
    มีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้
    มีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน และเรียนรู้จากกันและกัน
    เรียนรู้กระบวนการควบคู่ไปกับผลงาน / ข้อความรู้ที่สรุปได้
    นำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน

จะเห็นได้ว่าบทบาทของครูในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญนั้น คือจะอยู่ในฐานะผู้คอยอำนวยความสะดวกโดยจัดสภาพแวดล้อมการเรียน บรรยากาศการเรียน วิธีการเรียนเรียนและสื่อวัสดุอุปกรณ์ในการเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้ด้วย ตนเอวของผู้เรียน ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง ได้พัฒนาองค์ความรู้ต่าง ๆ ด้วยตนเอง การเรียนรู้นั้น ๆ จึงจะเป็นสิ่งที่มีความหมายต่อผู้เรียน

๑.๖ งานและผลผลิตสมถรรถภาพของการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ สรุป

      ในการพัฒนาระบบการเรียนการสอน นั้น มีแนวคิดเกี่ยวกับระบบที่นำมาใช้แบ่งได้ 2 ลักษณะ คือ การคิดเป็นระบบ (systematic thinking) และ วิธีการเชิงระบบ (system approach) 
 การ คิดเป็นระบบ หมายถึง การกำหนดองค์ประกอบและการจัดองค์ประกอบของระบบให้มี ความสัมพันธ์กันอย่างเป็นลำดับขั้นตอน เพื่อน าไปสู่จุดมุ่งหมายที่กำหนด ระบบในลักษณะนี้จะมี ลักษณะเป็นผังการดำเนินงานหรือการท างานอย่างเป็นลำดับขั้นตอน (ทิศนา แขมมณี, 2555, หน้า 200)  
 สำหรับ วิธีการเชิงระบบ นั้น เป็นแนวคิดเชิงปฏิบัติ ที่ใช้ในการแก้ปัญหาอย่างเป็นลำดับ ขั้นตอนและสมเหตุสมผลตามกระบวนการวิทยาศาสตร์ คือการมองความสัมพันธ์ในเชิงสาเหตุและผล ซึ่งนำไปใช้ในการตรวจสอบผลลัพธ์ที่ได้ หากผลที่ได้ไม่สมบูรณ์ ก็สามารถปรับปรุงแก้ไขใหม่จนกว่าจะได้ ผลลัพธ์ที่สมบูรณ์ (Romiszowski, 1981, p. 5)  วิธีการเชิงระบบนี้ประกอบด้วยกระบวนการพื้นฐาน 2 กระบวนการ คือ การวิเคราะห์และการสังเคราะห์ การวิเคราะห์ เป็นการพิจารณาองค์ประกอบของ ระบบเดิมที่ต้องการปรับปรุงให้ดีขึ้น ส่วนการสังเคราะห์ เป็นกระบวนการที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการ ค้นหาทางเลือกหรือกลวิธีต่าง ๆ ในการแก้ปัญหา ซึ่งอาจทำได้โดยการปรับปรุงความสัมพันธ์ของ
องค์ประกอบในระบบใหม่ หรือสร้างองค์ประกอบใหม่และสร้างความสัมพันธ์ขององค์ประกอบใหม่นั้น  (Kaufman cited in Richey, Klein, & Tracey, 2011, p. 18) 
 ระบบ การเรียนการสอน จึงพัฒนาขึ้นจากการวิเคราะห์องค์ประกอบของการเรียนการสอน และจัดองค์ประกอบเหล่านี้ให้สัมพันธ์กันตามองค์ประกอบเชิงระบบในรูปของ ตัวป้อน กระบวนการ ผลผลิต การควบคุมและข้อมูลป้อนกลับ ซึ่งนำเสนอในรูปของแผนภูมิตามความคิดสร้างสรรค์ของนัก ออกแบบระบบ   
ตัวอย่างของระบบการเรียนการสอน  
ใน ที่นี้ขอน าเสนอตัวอย่างของระบบการเรียนการสอนที่นักการศึกษาได้พัฒนาขึ้นเพื่อใช้ ประกอบการวิเคราะห์เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับการออกแบบระบบการเรียนการสอน  
   ระบบการเรียนการสอนของสงัด  อุทรานันท์  
 สงัด  อุทรานันท์ (2533, หน้า 24) ได้เสนอแนะองค์ประกอบที่สำคัญ ๆ ในระบบการเรียน การสอนไว้ 10 ประการด้วยกัน คือ 
1) การรู้จักลักษณะของผู้เรียน 
2) การตั้งจุดประสงค์ของการสอน
 3) การจัดเนื้อหาสาระที่จะสอน
 4) การเตรียมความพร้อม 
5) การดำเนินการสอน 
6) การสร้างเสริมทักษะ
 7) การจัดกิจกรรมสนับสนุน
 8) การควบคุมและตรวจสอบกระบวนการเรียนการสอน
 9) สัมฤทธิผลของการสอน 
 10) การปรับปรุงแก้ไข      
 
         บทสรุป
 
ระบบการเรียนการสอน คือ องค์ประกอบของการเรียนการสอนที่ได้รับการจัดให้มีความสัมพันธ์กันและส่งเสริมกันอย่างเป็นระบบ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อนำไปใช้เป็นแนวทางการดาเนิน การจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนบรรลุจุดมุ่งหมาย การเรียนการสอนที่ต้องการ ระบบการเรียน การสอนยังช่วยในการวางแผนการเรียนการสอน การประเมินแผนการเรียนการสอน และการออกแบบการเรียนการสอน เป็นต้น ระบบการเรียนการสอน  ประกอบด้วยองค์ประกอบเชิงระบบ คือ ปัจจัยป้อนเข้า (input) กระบวนการ (process) ผลผลิต (output) การควบคุม (control) และการให้ข้อมูลป้อนกลับ (feedback) นักการศึกษาได้พัฒนาระบบการเรียนการสอนเพื่อให้เหมาะสมกับการดำเนินการเรียนการสอน ซึ่งมีอยู่หลายรูปแบบผู้เขียนได้วิเคราะห์องค์ประกอบการเรียนการสอนในระบบการเรียนการสอน ดังนี้

1) ปัจจัยป้อนเข้า ประกอบด้วย พื้นฐานความรู้เดิมของผู้เรียน จุดประสงค์การเรียนรู้ เนื้อหา

สื่อ-อุปกรณ์ แหล่งการเรียนรู้ และเวลา

2) กระบวนการ ประกอบด้วย การจัดการเรียนการสอน การพัฒนาทักษะการเรียนรู้แก่ผู้เรียน

และการบริหารจัดการชั้นเรียน

3) ผลผลิต ประกอบด้วย ผลการเรียนรู้ ซึ่งประกอบด้วย ความรู้ ทักษะ เจตคติและคุณลักษณะ

ของผู้เรียน

4) การควบคุม ประกอบด้วย การวัดประเมินผลผู้เรียน และการวัดประเมิน  ผลการเรียนการสอน

5) การให้ข้อมูลป้อนกลับ หมายถึง ข้อมูลขององค์ประกอบการเรียนการสอนต่าง ๆ ซึ่งได้รับ

การบันทึกไว้ภายหลังการดำเนินการการเรียนการสอนเพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุงและ

พัฒนาการเรียนการสอนต่อไปในปัจจุบัน ระบบการเรียนการสอนได้รับการพัฒนาให้มีความ

ยืดหยุ่นเพื่อให้เหมาะสมกับเงื่อนไขด้านทรัพยากรและเวลา ตลอดจนการนำไปใช้ที่สอดคล้อง

กับจุดประสงค์และบริบทการนำไปใช้มากขึ้น ระบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นเป็นทางเลือก

สำหรับผู้ออกแบบนำไปประยุกต์ใช้ได้




ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บทที่ ๓ รูปแบบการเรียนการสอน

บทที่ ๒ วิธีการสอนและเทคนิคการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ