สัปดาห์ที่ 5 เทคนิคผึ้งแตกรัง

เทคนิคผึ้งแตกรัง














วิธีการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ


วิธีการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีหลากหลายรูปแบบที่เหมาะกับผู้เรียนและสถานการณ์ต่าง

1. วิธีการสอนแบบแก้ปัญหา (Problem-Solving Method)
        วิธีสอนนี้ จอห์น ดิวอี้ (John Dewey) เป็นผู้คิดค้นขึ้นมา หลักใหญ่อาศัยวิธีการสอนที่ใช้ แก้ปัญหาของนักเรียน โดยครูเป็นผู้ชี้แนะเท่านั้น วิธีการแก้ปัญหาโดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method) ทุกประการคือ
        - กําหนดขอบเขตของปัญหา (Location of Problem)
        - ตั้งสมมติฐาน (Setting up of Hypothesis)
        - ทดลองและรวบรวมข้อมูล (Experimenting and Gathering of Data)
        - วิเคราะห์ข้อมูล (Analysis of Data)
        - สรุป (Conclusion) 

2. วิธีการสอนแบบแสดงบทบาท (Role Playing)
        วิธีการสอนแบบแสดงบทบาท เป็นการสอนที่กําหนดให้ผู้เรียน แสดงบทบาทตาม สมมติขึ้นเทียบเคียงกับสภาพที่เป็นจริงหรือแสดงออกตามแนวที่คิดว่าควรจะเป็น เพื่อให้ผู้ดูเกิด ความรู้ ความเข้าใจในสิ่งที่เกิดขึ้นการแสดงบทบาทสมมติจะช่วยให้เกิดความสนใจ ฝึกความกล้า ที่จะแสดงออก เป็นการผ่อนคลายอารมณ์ตรึงเครียดของเด็ก การแสดงบทบาทสมมติต่างจากเกม จําลองสถานการณ์ ศรงที่ไม่มีเกณฑ์และการแข่งขัน

3. วิธีการสอนแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Method)
        วิธีการสอนแบบวิทยาศาสตร์ เป็นการสอนโดยนําหลักการทางวิทยาศาสตร์มาใช้เป็น โอกาสให้นักเรียนได้ค้นพบปัญหาและวิธีการแก้ไขด้วยกระบวนการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ ขั้น 25 สอนแบบวิทยาศาสตร์ เหมาะสําหรับ การศึกษา ค้นคว้า ทดลอง แบบง่ายๆ ซึ่งจะต้องจัดเนื้อหาให้ เหมาะสมกับวัย และระดับความสามารถของผู้เรียนจึงจะบังเกิดผลดี

4. วิธีสอนตามขั้นที่ ของอริยสัจ (Buddist's Method)
        ขั้นต่างๆ ของอริยสัจสี่ = ขั้นต่างๆ ของวิธีการแก้ปัญหา หรือวิธีการทางวิทยาศาสตร์ Reflective Thinking
        ทุกข์ กําหนดปัญหา
        สมุทัย การตั้งสมมติฐาน
        นิโรธ การทดลองและเก็บข้อมูล
        มรรค การวิเคราะห์ข้อมูล การสรุป 

5. วิธีการสอนแบบทดลอง (The Laboratory Method)
        วิธีการสอนแบบทดลอง มีลักษณะคล้ายกับวิธีการสอนแบบวิทยาศาสตร์ แต่มี การปรับปรุงหลักการบางส่วนเพื่อความเหมาะสมกับการเรียนวิชาอื่นๆ เช่น ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์
        วิธีการสอนแบบทดลอง แสดงข้อเท็จจริง จากการสืบสวน ค้นคว้าและทดลอง
        วิธีการสอนแบบนี้ยังต่างจากการสอนแบบสาธิตด้วย เพราะการสอนแบบสาธิตเป็น ผู้ทดลองให้นักเรียนดูส่วนการสอนแบบทดลองนักเรียนเป็นผู้ลงมือปฏิบัติเอง

6. วิธีการสอนแบบอภิปราย (Discussion Method)
        วิธีการสอนแบบอภิปรายเป็นการสอนแบบการเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันเพื่อ ช่วยแก้ไขปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่งระหว่างครูกับนักเรียน หรือระหว่างนักเรียนด้วยกัน โดยมีครู เป็นผู้ประสานงาน ครูไม่ต้องซักถามปัญหานักเรียนแต่ให้นักเรียนซักถามปัญหาและช่วยกันตอบ อันเป็นการส่งเสริมให้นักเรียนฝึกพูดและส่งเสริมการอยู่ร่วมกันแบบประชาธิปไตย

7. วิธีการสอนแบบจุลภาค (Micro-Teaching)
        วิธีการสอนแบบจุลภาค เป็นนวัตกรรมการศึกษา (Educational Innovation) เป็นประสบการณ์ที่ย่อส่วนลงมาอยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมที่มีการควบคุมอย่างรัดกุม โดยสอนในห้องเรียน แบบง่ายๆ กับนักเรียน 5-6 คน ใช้เวลา 5-15 นาที เปิดโอกาสให้ครู ได้ฝึกทักษะการสอนแบบใหม่ๆ ขณะการสอนมีการบันทึกภาพเพื่อให้ครูได้ดูการสอนของตน เพื่อปรับปรุงทักษะให้ดีขึ้น ก่อนนําไปใช้จริงในชั้นเรียน การสอนวิธีนี้จึงเป็นการสอนแบบย่นย่อทั้งเวลา ขนาดของชิ้นงาน และทักษะ

8. วิธีการสอนแบบโครงการ (Project Method)
        วิธีสอนแบบโครงการ เป็นการสอนที่ให้นักเรียนเป็นหมู่หรือรายบุคคลได้วางโครงการ และดําเนินงานให้สําเร็จตามโครงการนั้น เป็นการสอนที่สอดคล้องกับสภาพชีวิตจริงนักเรียนเริ่มต้นทําโครงการด้วยการตั้งปัญหาและดําเนินการแก้ปัญหาด้วยการลงมือปฏิบัติจริง เช่น โครงการ แก้ปัญหาความสกปรกของโรงเรียน เป็นต้น

9. วิธีสอนแบบหน่วย (Unit Teaching Method)
        วิธีสอนแบบหน่วยเป็นวิธีการสอนที่นําเนื้อหาวิชาหลายวิชามาสัมพันธ์กัน โดยไม่กําหนดขอบเขตของวิชา แต่ยึดความมุ่งหมายของบทเรียนที่เรียกว่า หน่วย” โดยไม่ยึด ขอบเขตรายวิชาแต่ถือเอาความมุ่งหมายของหน่วยเป็นหลัก เพื่อให้เป็นไปตามความต้องการของ ผู้เรียน การสอนเป็นหน่วยนั้นบางหน่วยจะสอนเป็นเวลาหลายเดือน บางหน่วยสอนจบภายในสอง สามวัน แล้วแต่ความเล็กใหญ่ของหน่วย

10. วิธีการสอนแบบศูนย์การเรียน (Learning Center)
        เป็นการเรียนรู้จากการประกอบกิจกรรมของนักเรียนโดยแบ่งบทเรียนออกเป็น 4 - 6 กลุ่ม แต่ละศูนย์ประกอบกิจกรรมแตกต่างกันออกไปตามที่กําหนดไว้ในชุดการสอน แต่ละกลุ่มจะมี สื่อการเรียนที่จัดไว้ในซองหรือในกล่องวางบนโต๊ะเป็นศูนย์กิจกรรม แต่ละกลุ่มหมุนเวียนกัน ประกอบกิจกรรมตามศูนย์ต่างๆ แห่งละ 15 - 20 นาที จนครบทุกศูนย์

11. วิธีการสอนโดยใช้บทเรียนแบบโปรแกรม (Programmed Instruction)
        วิธีการสอนโดยใช้บทเรียนแบบโปรแกรม หมายถึง สื่อการเรียนที่ช่วยให้ผู้เรียนได้ เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสามารถของแต่ละบุคคล โดยแบ่งเนื้อหาออกเป็นหลายๆ กรอบ แต่ละ กรอบจะมีเนื้อหาเฉพาะแบบฝึกให้ทําพร้อมเฉลยคําตอบ

12. บทเรียนโมดูล (Module)
        บทเรียน โมดูลเป็นบทเรียนหน่วยหนึ่ง ที่สร้างขึ้นมาเพื่อให้ผู้เรียนได้ศึกษา เพื่อให้เกิด การเรียนรู้ตามจุดประสงค์ของบทเรียนที่สร้างขึ้น บทเรียนโมดูลจะประกอบด้วยองค์ประกอบสําคัญ คือ องค์ประกอบของบทเรียนโมดูล
        1. หลักการและเหตุผล (Prospectus)
        2. จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม (Behavioral Objectives)
        3. การประเมินผลก่อนเรียน (Pre-Assessment)
        4. กิจกรรมการเรียน (Enabling Activities)
        5. การประเมินผลหลังเรียน (Post-Assessment) 

13. คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction)
        คอมพิวเตอร์ คือ สื่อการสอนที่เป็นเทคโนโลยีระดับสูง ที่นํามาประยุกต์ใช้ในการจัด กรรมการเรียนการสอนให้ผู้เรียนคอมพิวเตอร์มีปฏิสัมพันธ์กัน หลักการของระบบคอมพิวเตอร์ ช่วยสอนทุกแนวคิดมุ่งที่จะให้ระบบคอมพิวเตอร์ ให้เป็นสื่อสนับสนุนกิจกรรมการเรียนการสอนให้

16. การสอนแบบ 4 MAT
        เป็นแผนการสอนที่ประยุกต์มาจากแบบใยแมงมุม แต่กิจกรรมจะนั้น ขั้นตอนหรือ ใช้กับผู้เรียนที่มีความแตกต่างระหว่างบุคคล คือ
        ขั้นที่ 1 Why (ทําไม) เพื่อตั้งคําถาม กระตุ้นให้เด็กสนใจในเรื่องที่เรียน
        ขั้นที่ 2 What (อะไร) เป็นการอธิบายความเข้าใจการจัดการศึกษาด้วยตนเอง
        ขั้นที่ 3 How (ทําอย่างไร) เป็นการนําไปปฏิบัติการนําไปใช้
        ขั้นที่ 4 If (ถ้า...) เป็นการกระตุ้น 

17. แผนการสอนแบบ CIPPA
        แผนการสอนแบบ CIPPA เป็นแผนการสอนที่ใช้กิจกรรมที่เน้นผู้เรียน เป็นศูนย์กลาง ด้าน ได้แก่
        1. Construct หรือ การสร้างความรู้ตามแนวคิดของ Constructivism ที่เปิดโอกาสให้ ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเอง
        2. Interaction หรือการปฏิสัมพันธ์หมายถึงผู้เรียนมีโอกาสปฏิสัมพันธ์กับผู้สอนสื่อ และสิ่งแวดล้อมรอบตัว
        3. Physical Participation หรือการมีส่วนร่วมทางกาย หมายถึง ผู้เรียนมีโอกาส เคลื่อนไหวร่างกายในการทํากิจกรรมลักษณะต่างๆ
        4. Process Learning หรือการเรียนรู้กระบวนการต่างๆ ซึ่งเป็นทักษะที่จําเป็นต่อการ คํารงชีวิต
วิตปากวน 
        5. Application หรือการนําความรู้ไปประยุกต์ใช้ หมายถึง ผู้เรียนสามารถนําความรู้ ไปใช้ได้ในสถานการณ์ต่างๆ

18. วิธีสอนแบบ Storyline
        วิธีสอนแบบ Storyline เป็นการสอนแบบบูรณาการโดยการดึงเอาแนวคิดจากวิชาต่างๆ เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา ภาษา ศิลปะ โดยใช้กระบวนการหลากหลายมาแก้ปัญหา และกิจกรรมหลายๆรูปแบบ โดยให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติด้วยตนเองและตอบสนองความแตกต่าง ของผู้เรียน โดยคํานึงว่าผู้เรียนมีประสบการณ์และทักษะเดิม มีการเรียนรู้ในหลายลักษณะเช่น เรียนรายบุคคล กลุ่มใหญ่แต่เน้นการทํางานแบบร่วมมือ (Cooperative) และทํางานเป็นทีม


เทคนิควิธีการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ





การเรียนรู้อย่างตื่นตัว (active participation)
หมายถึง การมีส่วนร่วมที่ผู้เรียนรู้เป็นผู้จัดกระทําต่อสิ่งเร้า (สิ่งที่เรียนรู้) มิใช่เพียงการรับสิ่ง เร้าหรือการมีส่วนร่วมอย่างเป็นผู้รับเท่านั้น การมีส่วนร่วมอย่างตื่นตัวจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ อย่างแท้จริงได้ดี ควรเป็นการตื่นตัวทางด้านร่างกาย สติปัญญา สังคม อารมณ์
การเรียนรู้ที่แท้จริง
หมายถึง ผลการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น ซึ่งอาจเป็นความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ เจตคติ คุณลักษณะ ฯลฯ) จากกระบวนการที่บุคคลรับรู้และจัดกระทําต่อสิ่งเร้าต่างๆ เพื่อสร้างความหมายของสิ่งเร้า (สิ่งที่เรียนรู้) นั้น เชื่อมโยงกับความรู้และประสบการณ์เดิมของตน จนเกิดเป็นความหมายที่ตนเข้าใจ อย่างแท้จริง และสามารถอธิบายตามความเข้าใจของตนได้
เทคนิคกับวิธีสอน คืออะไร ?
วิธีสอน หมายถึง
ขั้นตอนที่ผู้สอนดําเนินการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ด้วยวิธีการต่างๆ ที่แตกต่างกันไปตามองค์ประกอบและขั้นตอนสําคัญอันเป็นลักษณะเด่นหรือลักษณะเฉพาะที่ขาด
ไม่ได้ของวิธีนั้นๆ (ทิศนา แขมมณี, 2550)
เทคนิคการสอน หมายถึงกลวิธีต่างๆ ที่ใช้เสริมขั้นตอนการสอน กระบวนการสอน วิธีการสอน หรือการกระทําใดๆ ทางการสอน เพื่อช่วยให้การสอนมีคุณภาพมากขึ้น (รู้เร็ว ลึก นาน)


การเรียนรู้อย่างตื่นตัว (active participation)
หมายถึง การมีส่วนร่วมที่ผู้เรียนรู้เป็นผู้จัดกระทําต่อสิ่งเร้า (สิ่งที่เรียนรู้) มิใช่เพียงการรับสิ่ง เร้าหรือการมีส่วนร่วมอย่างเป็นผู้รับเท่านั้น การมีส่วนร่วมอย่างตื่นตัวจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ อย่างแท้จริงได้ดี ควรเป็นการตื่นตัวทางด้านร่างกาย สติปัญญา สังคม อารมณ์
การเรียนรู้ที่แท้จริง
หมายถึง ผลการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น ซึ่งอาจเป็นความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ เจตคติ คุณลักษณะ ฯลฯ) จากกระบวนการที่บุคคลรับรู้และจัดกระทําต่อสิ่งเร้าต่างๆ เพื่อสร้างความหมายของสิ่งเร้า (สิ่งที่เรียนรู้) นั้น เชื่อมโยงกับความรู้และประสบการณ์เดิมของตน จนเกิดเป็นความหมายที่ตนเข้าใจ อย่างแท้จริง และสามารถอธิบายตามความเข้าใจของตนได้
เทคนิคกับวิธีสอน คืออะไร ?
วิธีสอน หมายถึง
ขั้นตอนที่ผู้สอนดําเนินการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ด้วยวิธีการต่างๆ ที่แตกต่างกันไปตามองค์ประกอบและขั้นตอนสําคัญอันเป็นลักษณะเด่นหรือลักษณะเฉพาะที่ขาด
ไม่ได้ของวิธีนั้นๆ (ทิศนา แขมมณี, 2550)

เทคนิคการสอน หมายถึงกลวิธีต่างๆ ที่ใช้เสริมขั้นตอนการสอน กระบวนการสอน วิธีการสอน หรือการกระทําใดๆ ทางการสอน เพื่อช่วยให้การสอนมีคุณภาพมากขึ้น (รู้เร็ว ลึก นาน)

เทคนิคการใช้ผังกราฟิก


   1. ผังความคิด (A Mind Map)
        2. ยังมโนทัศน์ (A Concept map)
        3. ผังแมงมุม (A Spider Map)
        4. ผังก้างปลา (A fishbone Map)


1.ผังความคิด (A Mind Map)
       เป็นการแสดงความสัมพันธ์ของสาระหรือความคิดต่างๆ ให้เห็นในภาพรวม โดยใช้คํา ระยะห่างจากจุดศูนย์กลาง สี เครื่องหมาย รูปทรงเรขาคณิต และภาพ แสดงความห และความเชื่อมโยงของความคิดหรือสาระนั้นๆ
      มีขั้นตอนหลักๆ ในการทําดังนี้
      1.1 เขียนความคิดรวบยอดหลักไว้ตรงกลาง แล้วแตกสาขาออกไปเป็นความคิดรวบยอด
      1.2 เขียนคําที่เป็นตัวแทนความหมายของความคิดนั้นๆลงไป และใช้รูปทรงเรขาคณิตแสดง ระดับ                ของคํา คําใดอยู่ในขอบเขตหรือระดับเดียวกัน ใช้รูปทรงเรขาคณิตเดียวกันล้อมกรอบคํานั้น
     1.3 ลากเส้นเชื่อมโยงความคิดเพื่อแสดงความสัมพันธ์ของความคิดต่างๆ อาจเป็นเส้นตรง โค้ง ลูก               ศร เส้นประ
     1.4 ใช้สัญลักษณ์ต่างๆ เป็นตัวแทนความหมายของ ความคิดและความรู้สึกต่างๆ
     1.5 สร้างผังความคิดให้สมบูรณ์ ตามความเข้าใจของตน

2.ผังมโนทัศน์ (A Concept map)
   เป็นการแสดงมโนทัศน์หรือความคิดรวบยอดใหญ่ไว้ตรงกลาง และแสดงความสัมพันธ์ระหว่างมโนทัศน์และย่อย

3.ผังแมงมุม (A Spider Map)
   เป็นการแสดงมโนทัศน์อีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะคล้ายใยแยงมุม
4.ผังก้างปลา (A Fishbone Map)
   เป็นผังที่แสดงสาเหตุของปัญหาซึ่งมีความซับซ้อน ช่วยทำให้เห็นสาเหตุหลักและสาเหตุย่อยที่ชัดเจน


รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ



การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ คือวิธีการสำคัญที่สามารถสร้างและพัฒนาผู้เรียน ให้เกิดคุณลักษณะต่างๆที่ต้องการในยุคโลกาภิวัฒน์เนื่องจากเป็นการจัดการเรียนการสอนที่ให้ความ สำคัญกับผู้เรียนส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักเรียนรู้ด้วยตนเองเรียนในเรื่องที่สอดคล้องกับความสามารถและความต้องการของตนเองและได้พัฒนาศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่ ซึ่งแนวคิดการจัดการศึกษานี้เป็นแนวคิดที่มีรากฐานจากปรัชญาการศึกษาและทฤษฎีการเรียนรู้ ต่าง ๆที่ได้พัฒนามาอย่าง ต่อเนื่องยาวนานและเป็นแนวทางที่ได้รับการพิสูจน์ว่าสามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะตามต้องการอย่างได้ผล

ความหมายการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

      การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ หมายถึง การจัดกิจกรรมโดยวิธีต่างๆอย่างหลากหลายที่มุ่งให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ อย่างแท้จริงเกิดการพัฒนาตนและสั่งสมคุณลักษณะที่จำเป็นสำหรับการเป็นสมาชิก ที่ดีของสังคมของประเทศชาติต่อไป การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่มุ่งพัฒนาผู้เรียน จึงต้องใช้เทคนิควิธีสอนวิธีการเรียนรู้

องค์ประกอบและตัวบ่งชี้การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

      การจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มุ่งให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ โดยมีเป้าหมายให้ผู้เรียนเป็นคนเก่ง ดี และมีความสุข ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยปัจจัยหลายประการได้แก่ ด้านการบริหารจัดการ ด้านการจัดการเรียนรู้ และด้านการเรียนรู้ของผู้เรียน มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

               1.การบริหารจัดการ การบริหารจัดการนับว่าเป็นองค์ประกอบที่สนับสนุนส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่สำคัญ โดยเฉพาะการบริหารจัดการของโรงเรียนที่เน้นการพัฒนาทั้งระบบของโรงเรียน การพัฒนาทั้งระบบของโรงเรียน หมายถึง การดำเนินงานในทุกองค์ประกอบของโรงเรียนให้ไปสู่เป้าหมายเดียวกัน คือ คุณภาพของนักเรียนตามวิสัยทัศน์ที่โรงเรียนกำหนด ดังนั้นตัวบ่งชี้ที่แสดงถึงการพัฒนาทั้งระบบของโรงเรียนประกอบด้วย

1. การกำหนดเป้าหมายในการพัฒนาที่มีจุดเน้นการพัฒนาคุณภาพนักเรียนอย่างชัดเจน

2. การกำหนดแผนยุทธศาสตร์สอดคล้องกับเป้าหมาย

3. การกำหนดแผนการดำเนินงานในทุกองค์ประกอบของโรงเรียนสอดคล้องกับเป้าหมายและเป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์

4. การจัดให้มีระบบประกันคุณภาพภายใน

5. การจัดทำรายงานประจำปีเพื่อรายงานผู้เกี่ยวข้องและสอดคล้องกับแนวทางการประกันคุณภาพจากภายนอก

อย่างไรก็ตาม การดำเนินงานของโรงเรียนตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 เน้นถึงการมีส่วนร่วมของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาของโรงเรียน ดังนั้น ในการดำเนินการของโรงเรียนจึงเปิดโอกาส ให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วม ได้แก่ ร่วมในการกำหนดเป้าหมายและการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ ร่วมในการสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ ร่วมในการประเมินผล เป็นต้น

              2. การจัดการเรียนรู้ องค์ประกอบด้าน การจัดการเรียนรู้” นับว่าเป็นองค์ประกอบหลักที่แสดงถึงการเรียนรู้อย่างเป็นรูปธรรม ประกอบด้วย ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายที่แท้จริงของการเรียนรู้ บทบาทของครู และบทบาทของผู้เรียน การจัดการเรียนการสอนโดยให้ผู้เรียนเป็นสำคัญจะทำได้สำเร็จเมื่อผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอน ได้แก่ ครู และผู้เรียน มีความเข้าใจตรงกันเกี่ยวกับความหมายของการเรียนรู้ ดังสาระที่ ทิศนา แขมมณี (2544) ได้กล่าวไว้ดังนี้

            1. การเรียนรู้เป็นงานเฉพาะบุคคล ทำแทนกันไม่ได้ ครูที่ต้องการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ต้องเปิดโอกาสให้เขาได้มีประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยตัวของเขาเอง

            2. การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสติปัญญาที่ต้องมีการใช้กระบวนการคิด สร้างความเข้าใจ ความหมายของสิ่งต่างๆ ดังนั้นครูจึงควรกระตุ้นให้ผู้เรียนใช้กระบวนการคิดทำความเข้าใจสิ่งต่างๆ

            3. การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสังคม เพราะในเรื่องเดียวกัน อาจคิดได้หลายแง่ หลายมุมทำให้เกิดการขยาย เติมเต็มข้อความรู้ ตรวจสอบความถูกต้องของการเรียนรู้ตามที่สังคมยอมรับด้วย ดังนั้นครูที่ปรารถนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จะต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับบุคคลอื่นหรือแหล่งข้อมูลอื่นๆ

            4. การเรียนรู้เป็นกิจกรรมที่สนุกสนาน เป็นความรู้สึกเบิกบาน เพราะหลุดพ้นจากความไม่รู้ นำไปสู่ความใฝ่รู้ อยากรู้อีก เพราะเป็นเรื่องน่าสนุก ครูจึงควรสร้างภาวะที่กระตุ้นให้เกิดความอยากรู้หรือคับข้องใจบ้าง ผู้เรียนจะหาคำตอบเพื่อให้หลุดพ้นจากความข้องใจ และเกิดความสุขขึ้นจากการได้เรียนรู้ เมื่อพบคำตอบด้วยตนเอง

            5. การ เรียนรู้เป็นงานต่อเนื่องตลอดชีวิต ขยายพรมแดนความรู้ได้ไม่มีที่สิ้นสุด ครูจึงควรสร้างกิจกรรมที่กระตุ้นให้เกิดการแสวงหาความรู้ไม่รู้จบ

            6. การเรียนรู้เป็นการเปลี่ยนแปลง เพราะได้รู้มากขึ้นทำให้เกิดการนำความรู้ไปใช้ในการเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ เป็นการพัฒนาไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น ครูควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้รับรู้ผลการพัฒนาของตัวเขาเองด้วย

จากความหมายของการเรียนรู้ที่กล่าวมา ครูจึงต้องคำนึงถึงประเด็นต่างๆ ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ดังนี้

 (1) ความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน

 (2) การเน้นความต้องการของผู้เรียนเป็นหลัก

 (3) การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้เรียน

 (4) การจัดกิจกรรมให้น่าสนใจ ไม่ทำให้ผู้เรียนรู้สึกเบื่อหน่าย

 (5) ความเมตตากรุณาต่อผู้เรียน

 (6) การท้าทายให้ผู้เรียนอยากรู้

 (7) การตระหนักถึงเวลาที่เหมาะสมที่ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้

 (8) การสร้างบรรยากาศหรือสถานการณ์ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้โดยการปฏิบัติจริง

 (9) การสนับสนุนและส่งเสริมการเรียนรู้

 (10) การมีจุดมุ่งหมายของการสอน

 (11) ความเข้าใจผู้เรียน

 (12) ภูมิหลังของผู้เรียน

 (13) การไม่ยึดวิธีการใดวิธีการหนึ่งเท่านั้น

 (14) การเรียนการสอนที่ดีเป็นพลวัตร (dynamic) กล่าวคือ มีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาทั้งในด้านการจัดกิจกรรม การสร้างบรรยากาศ รูปแบบเนื้อหาสาระ เทคนิค วิธีการ

 (15) การสอนในสิ่งที่ไม่ไกลตัวผู้เรียนมากเกินไป

 (16) การวางแผนการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ

            3. การเรียนรู้ของผู้เรียน องค์ประกอบสุดท้ายที่สำคัญและนับว่าเป็นเป้าหมายของการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ คือ องค์ประกอบด้านการเรียนรู้ซึ่งมีลักษณะที่แตกต่างจากเดิมที่เน้นเนื้อหาสาระเป็นสำคัญ และสอดคล้องกับองค์ประกอบด้านการจัดการเรียนรู้ ทั้งนี้เพราะการจัดการเรียนรู้ก็เพื่อเน้นให้มีผลต่อการเรียนรู้ ดังนั้น ตัวบ่งชี้ที่บอกถึงลักษณะการเรียนรู้ของผู้เรียน ประกอบด้วย

           1. การเรียนรู้อย่างมีความสุข อันเนื่องมาจากการจัดการเรียนรู้ที่คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล คำนึงถึงการทำงานของสมองที่ส่งผลต่อการเรียนรู้และพัฒนาการทางอารมณ์ของผู้เรียน ผู้เรียนได้เรียนรู้เรื่องที่ต้องการเรียนรู้ในบรรยากาศที่เป็นธรรมชาติ บรรยากาศของการเอื้ออาทรและเป็นมิตร ตลอดจนแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย นำผลการเรียนรู้ไปใช้ในชีวิตจริงได้

 2. การเรียนรู้จากการได้คิดและลงมือปฏิบัติจริง หรือกล่าวอีกลักษณะหนึ่งคือ เรียนด้วยสมองและสองมือ” เป็นผลจากการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้คิด ไม่ว่าจะเกิดจากสถานการณ์หรือคำถามก็ตาม และได้ลงมือปฏิบัติจริงซึ่งเป็นการฝึกทักษะที่สำคัญคือ การแก้ปัญหา ความมีเหตุผล

 3. การเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย และเรียนรู้ร่วมกับบุคคลอื่น เป้าหมายสำคัญด้านหนึ่งในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญคือ ผู้เรียนแสวงหาความรู้ที่หลากหลายทั้งในและนอกโรงเรียน ทั้งที่เป็นเอกสาร วัสดุ สถานที่ สถานประกอบการ บุคคลซึ่งประกอบด้วย เพื่อน กลุ่มเพื่อน วิทยากร หรือผู้เป็นภูมิปัญญาของชุมชน

4. การเรียนรู้แบบองค์รวมหรือบูรณาการ เป็นการเรียนรู้ที่ผสมผสานสาระความรู้ด้านต่างๆ ได้สัดส่วนกัน รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ความดีงาม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในทุกวิชาที่จัดให้เรียนรู้

5. การเรียนรู้ด้วยกระบวนการเรียนรู้ของตนเอง เป็นผลสืบเนื่องมาจากความเข้าใจของผู้จัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็น สำคัญว่า ทุกคนเรียนรู้ได้และเป้าหมายที่สำคัญคือ พัฒนาผู้เรียนให้มีความสามารถที่จะแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง ผู้จัดการเรียนรู้จึงควรสังเกตและศึกษาธรรมชาติของการเรียนรู้ของผู้เรียน ว่าถนัดที่จะเรียนรู้แบบใดมากที่สุด ในขณะเดียวกันกิจกรรมการเรียนรู้จะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้วางแผนการเรียน รู้ด้วยตนเอง (ซึ่งจะกล่าวถึงรายละเอียดอีกครั้งในการเรียนรู้โดยโครงงาน) การสนับสนุนให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยกระบวนการเรียนรู้ของตนเอง ผู้เรียนจะได้รับการฝึกด้านการจัดการแล้วยังฝึกด้านสมาธิ ความมีวินัยในตนเอง และการรู้จักตนเองมากขึ้น

เทคนิคการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ



การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ



สรุป

   วิธีสอนเป็นขั้นตอนที่ผู้สอนดําเนินการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ด้วยวิธีกาต่างๆที่แตกต่างกันไปตามองค์ประกอบและขั้นตอนสําคัญอันเป็นลักษณะเด่นหรือลักษณะเฉพาะที่ขาดไม่ได้ของวิธีนั้นๆเทคนิคการสอนเป็นกลวิธีต่างๆ ที่ใช้เสริมขั้นตอนการสอน กระบวนการสอน วิธีการสอนหรือการกระทําใดๆ ทางการสอนเพื่อช่วยให้การสอนมีคุณภาพมากขึ้น
          การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญคือ วิธีการสําคัญที่สามารถสร้าง และพัฒนาผู้เรียนให้เกิดคุณลักษณะต่างๆที่ต้องการในยุคโลกาภิวัตน์ เนื่องจากเป็นการจัดการเรียน การสอนที่ให้ความสําคัญกับผู้เรียนส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักเรียนรู้ด้วยตนเอง เรียนในเรื่องที่สอดคล้องกับความสามารถและความต้องการของตนเอง และได้พัฒนาศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญเกิดขึ้นจากพื้นฐานความเชื่อที่ว่าการจัดการศึกษามี เป้าหมายสําคัญที่สุด คือ การจัดการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนแต่ละคนได้พัฒนาตนเอง สูงสุด ตามกําลังหรือศักยภาพของแต่ละคนแต่เนื่องจากผู้เรียนแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ทั้งด้าน ความต้องการ ความสนใจความถนัด และยังมีทักษะพื้นฐานอันเป็นเครื่องมือสําคัญที่จะใช้ ในการเรียนรู้โดยแนวคิดการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542ถือว่าเป็นความพยายามที่จะทําการปฏิรูปการศึกษาครั้งสําคัญซึ่งดําเนินการ จัดทําขึ้นด้วยความร่วมมือจากหลายฝ่าย


อ้างอิง

พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ทิศนา แขมมณี. (2553).ศาสตร์การสอนองคืความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู็ที่มีประสิทธิภาพ.กรุงเทพฯ.สำนักพิทพฺ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2553

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บทที่ ๓ รูปแบบการเรียนการสอน

บทที่ ๑ แนวคิดการออกแบบและการจัดการเรียนรู้

บทที่ ๒ วิธีการสอนและเทคนิคการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ