สัปดาห์ 10 กิจกรรมการจัดการเรียนรู้โดยใช้ วิธีการเรียนรู้แบบนำตนเอง


กิจกรรมการจัดการเรียนรู้โดยใช้ วิธีการเรียนรู้แบบนำตนเอง 
(Self-Directed Learning)
      วิชา การออกแบบและการจัดการเรียนรู้
     ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิจิตรา  ธงพานิช
✏✏✏✏✏✏✏✏✏✏✏✏✏✏✏✏✏✏
ชื่อเรื่อง บทที่ 4           วัน/เวลาในการปฏิบัติกิจกรรม 

คำชี้แจง : ให้นักศึกษาอ่านคำชี้แจงและปฏิบัติตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
                     
                            “สวัสดี.... ฉันชื่อ พี่จ๊าบ วันนี้ฉันจะมาเป็นผู้ช่วยในการเรียนรู้
ของคุณ ก่อนอื่น... เราต้องมาทราบกันก่อนว่า เราจะต้องเตรียม
อุปกรณ์ 4 อย่าง ได้แก่อะไรบ้าง เริ่มกันเลย!”
            1. คอมพิวเตอร์ และอินเตอร์เน็ต
            2. โปรแกรม MS Word
            3. หนังสือ วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้
            4. ปากกา (สี) กระดาษ สมุดบันทึกการเรียนรู้

กิจกรรมการเรียนรู้ มีทั้งหมด 1 ฐาน ฐานละ 4 กิจกรรม
ให้นักศึกษาปฏิบัติตามขั้นตอนตามรายละเอียดต่อไปนี้โดยเคร่งครัด ห้ามลัดขั้นตอนนะ 
·                     กิจกรรมทั้ง 4 กิจกรรม มีดังต่อไปนี้
·                     กิจกรรมที่ 1 : ทบทวนความรู้เดิม ศึกษาธรรมชาติของเนื้อหา ค้นคว้าประเด็นที่เราสนใจ
·                     กิจกรรมที่ 2 : เรียนรู้ในตำรา ศึกษา ค้นหาแหล่งเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องในเว็บไซต์ 
·                     กิจกรรมที่ 3 : สรุปสิ่งที่เรียนรู้ใหม่ โดยใช้ผังความคิด 
·                     กิจกรรมที่ 4 : ประเมินความรู้ความเข้าใจ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อน
                                              
 รู้หรือไม่?  ในฐานนี้ มีกิจกรรมละ 1-2 คะแนน รวมเป็น 5 คะแนน โดยให้นักศึกษาเขียนตอบทุกข้อ ขอให้ตั้งใจทำ และเรียนรู้ตามขั้นตอน จะเป็นประโยชน์ต่อเรามากจริงๆ พี่จ๊าบ Confirm!”
ฐานที่ 1 กลยุทธ์การเรียนการสอน

คำชี้แจง : ให้นักศึกษาอ่านคำชี้แจงและปฏิบัติตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
กิจกรรมที่ 1 :
ทบทวนความรู้เดิม ศึกษาธรรมชาติของเนื้อหา ค้นคว้าประเด็นที่เราสนใจ
กิจกรรมที่ 1.1 ทบทวนความรู้เดิม (10  นาที)*                                         

  อุปกรณ์เบื้องต้นที่ใช้ : ปากกา/หนังสือการออกแบบฯ
                            บทบาทผู้เรียน : การคิด การคิดไตร่ตรอง การใช้เหตุผลเพื่อทบทวนความรู้เดิม 
                      “เราได้เรียนรู้และเข้าใจถึงความหมายของคำว่า การเรียนการสอน (Instruction)
และ การสอน (Teaching) แล้ว ในบทที่ 4 นี้จะนำพวกเราเรียนรู้ในเรื่องของ กลยุทธ์การเรียนการสอน ซึ่งเราต้องศึกษาทำความเข้าใจว่า กลยุทธ์การเรียนการสอนนั้นคืออะไรเสียก่อน จึงจะเข้าใจเนื้อหาทั้งหมดในภาพรวมนี้ได้........เอาล่ะถึงคราวที่เราจะทบทวนความรู้เดิมกันเสียก่อนว่าเรา Get เรื่องนี้มากน้อยแค่ไหน ห้ามเปิดหนังสือนะ ตอบตามที่รู้เลยจริงๆ ใครเปิดหนังสือหรือค้นในเว็บไซต์ตอบขอให้ไม่มีแฟน จบนะ”555

1.1 จงตอบคำถามต่อไปนี้ (ใช้วิธีการเขียนตอบเท่านั้น)
1) กลยุทธ์การเรียนการสอน คืออะไร ? 
  -ทฤษฏีการเรียนการสอน เทคนิคการสอน ระบบการสอนของแต่ละบุคคล การวัดและการประเมินผลอย่างมาตรฐาน  การบรูณณาการการเรียนการสอน
2) สภาวการณ์การเรียนการสอนพื้นฐานของการเรียนการสอนปกติ คืออะไรได้แก่อะไรบ้าง?.
  -ครูเตรียมตัวมาสอน เนื้อหาครบถ้วน และเนื้อหาโครงร้างเหมาะสมกับผู้เรียน
3) ความต้องการและธรรมชาติของทฤษฏีการเรียนการสอนคืออะไร?
  -การเรียนตามคามรู้และวัตถุประสงค์ตามเป้าหมาย มีสื่อการสอนครครัน การเรียบการสอนเป้นไปอย่างเรียบง่ายแต่ครบถ้วนด้วยสาระ และมีความสนุกสนานในชั้นเรียน

กิจกรรมที่ 1.2 ศึกษาธรรมชาติของเนื้อหา (30 นาที)*
              กิจกรรมในขั้นนี้ง่ายมากเลยนะ.. เราแค่ใช้ทักษะการอ่านและทำความเข้าใจเท่านั้น  กิจกรรมในขั้นนี้ก็คือ ให้นักศึกษาอ่านเพื่อทำความเข้าใจเนื้อหาโดยคร่าวๆ ว่า ในบทที่ 4 เรื่องกลยุทธ์การออกแบบการสอน นั้น มันได้กล่าวถึงหัวข้อหลักอะไรบ้าง มีอะไรสำคัญบ้าง  โดยสามารถดูได้จากหน้าสารบัญนะ...อย่าหาว่าพี่จ๊าบสอนเลยนะ....จะบอกเคล็ดลับ 4 ประการ ในการอ่านไว้ให้ว่า.....
                             อุปกรณ์ที่ใช้ : หนังสือฯ/ปากกา/ปากกาสี/กระดาษโน้ต (ถ้ามี)
·       เคล็ดลับที่ 1
ในการอ่านแบบจับใจความ ผู้อ่านต้องเริ่มต้นด้วยการมีสติ รู้ว่ากำลังอ่านเพื่อจับใจความ เพราะฉะนั้นห้ามหลงใหล หรือ “อินทางด้านอารมณ์ไปกับเนื้อหา โดยส่วนใหญ่เราจะไม่นำเทคนิคอ่านจับใจความไปใช้กับการอ่านนวนิยาย หรือการอ่านบทกวี เพื่ออรรถรสนะ ยกเว้นจะเรียนสาขาอักษรศาสตร์หรือมนุษยศาสตร์ และอ่านเพื่อเตรียมตัวสอบไม่ทัน แบบที่เคยทำเมื่อสมัยเรียน
การอ่านอย่างมีสตินั้น อ่านไปก็ต้องพยายามหาคำตอบอยู่เสมอว่า “ทำไม” “อะไร” “เมื่อไร” “อย่างไร” “ที่ไหน” ในบรรดาคำถามทั้ง 5 นั้น ทำไม” เป็นคำถามที่ทรงพลังที่สุด
·       เคล็ดลับที่ 2
ให้เปิดดูสารบัญหรือเรื่องย่อ (ถ้ามี) เพื่อให้เห็นภาพใหญ่ก่อน เมื่อเห็นภาพใหญ่แล้วจะทำให้ง่ายขึ้นใน
การจับใจความนะ
หลังจากเปิดดูสารบัญหรือเรื่องย่อ เราควรจะทราบข้อมูล เพื่อตอบคำถามอะไรดังต่อไปนี้คือ เรื่องนี้เกี่ยวกับอะไร?  ผู้เขียนต้องการนำเสนออะไร (แบบคร่าวๆ) และมีหลักในการนำเสนออย่างไร?  เช่น นักเขียนบางคนเริ่มจากการวางหัวเรื่องให้คนสงสัย แล้วค่อยๆ คลี่คลาย เพราะฉะนั้นช่วงท้ายจึงสำคัญ ในขณะที่บางคนจะวางประเด็นหลักไว้ก่อน แล้วจึงหาเหตุผลและประเด็นมาสนับสนุน
·       เคล็ดลับที่ 3
สรุปความแต่ละบท เพื่อตอบคำถามที่เหลือคือ “ทำไม” “อย่างไร” “ที่ไหน” ดังเช่นตัวอย่างที่ยกไปแล้ว   
บางคนจะเขียนใจความหลักของแต่ละย่อหน้าไว้ในประโยคแรก แล้วจึงค่อยๆ อธิบาย เพราะฉะนั้น หากพบการเขียนสไตล์นี้ สามารถอ่านประโยคแรกของแต่ละย่อหน้า ก็จะได้เนื้อหาของย่อหน้าทั้งหมด 100 หน้า อาจจะใช้เวลาเพียงครึ่งชั่วโมง หรือผู้เขียนบางคนวิธีสรุปความในตอนท้ายของแต่ละย่อหน้า อันนี้ถ้าจับสไตล์ได้ก็อ่านเพียงส่วนท้ายของแต่ละย่อหน้า หรือแต่ละบทเท่านั้น
·       เคล็ดลับที่ 4
การทำโน้ตย่อ หรือ Short notes เป็นการบันทึกการสรุปใจความหลักเอาไว้ ประโยชน์ของการทำโน้ตย่อ
คือ วันหลังมาอ่านก็ไม่ต้องเสียเวลาสรุปความอีก เหมาะสำหรับย่อสรุปสิ่งที่มีความสำคัญ และต้องนำกลับมาใช้หรืออ้างอิงบ่อยๆ รวมถึงโน้ตไว้เพื่ออ่านสรุปก่อนสอบด้วย หากทำโน้ตย่อได้ทุกวิชาที่เรียน รับประกันว่าสอบได้คะแนนดีแน่ๆ พี่จ๊าบทำตลอดเวลาที่เรียนนะ โดยเฉพาะวิชาที่มีประเด็นมากๆ จำไม่ไหว.....”  

กิจกรรมที่ 1.3 ค้นคว้าประเด็นที่เราสนใจ (10 นาที)*
จากกิจกรรมที่ 2 จากหัวข้อในบทที่ 4 กลยุทธ์การเรียนการสอน ที่เรา
ได้อ่านและศึกษามาทั้ง 9 หัวข้อมาอย่างคร่าวๆ แล้ว ขอให้นักศึกษาได้เลือก หัวข้อที่สนใจมา 5 หัวข้อ โดยให้ระบุหัวข้อที่สนใจโดยเรียงลำดับจากมากที่สุดไปยังหัวข้อที่สนใจน้อยที่สุด ตามหมายเลขต่อไปนี้……….”    อุปกรณ์ที่ใช้ : หนังสือฯ/ปากกา/ปากกาสี/กระดาษโน้ต (ถ้ามี)
ฉันมีความอรรถรสและสนใจใคร่รู้ในหัวข้อ (เขียนชื่อหัวข้อตามสารบัญ)
 1. หัวข้อ เรื่อง ธรรมชาติของทฤษฏีการเรียนการสอน
    สาระสำคัญของหัวข้อนี้คือ ธรรมชาติการเรียนการสอนเกิดขึ้นได้ง่าย ถ้าสิ่งที่เรียนเป็นสิ่งที่มีความหมายต่อู้เรียน กรเรียนรู้ที่แตกต่างกันตามตัวบุคคลและวิธีการเรียนร้โดยมีวุฒิภาวะด้วย การเรียนการสอนสอด้องกับสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ
   เหตุผลที่สนใจ เพราะเป็นการดูว่าธรรมชาติของการเรียนการสอน นักเรียนและผุ้สอนมีการปรับตัว และได้ความรู้ ประสบการณ์มากน้อยเพียงใด
 2. หัวข้อ เรื่อง ทฤษฏีการเรียนการสอน
    สาระสำคัญของหัวข้อนี้คือ มีทฤษฎีการเรียนการสอนที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ได้มากมายซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึง เพียง4ทฤษฎีที่มีลักษณะแตกต่างกันคือ

·                     ทฤษฎีการเรียนการสอนของการเย่และบริกส์ (gagne and briggs) 
·                     ทฤษฎีการเรียนการสอนของเมอร์วิล และไรเกลุท (merrill and reigeluth) 
·                     ทฤษฎีการเรียนการสอนของเคส(case) 
·                     ทฤษฎีการเรียนการสอนของลันดา(landa)
   เหตุผลที่สนใจ เพราะมีทฤษฏีที่หลากหลาย จะทำให้การเรียนรู้หลากหลาย และในแต่ะแบบมีวิธีการอย่างไร มีผลดีผผลเสียอย่างไร เป้นที่สิ่งที่น่าสนใจมาก
 3. หัวข้อ เรื่อง สภาวการณ์การเรียนรู้การสอนพื้นฐานของกาเรียนการสอนปกติ
    สาระสำคัญของหัวข้อนี้คือจะประกอบด้วยหลากหลายประการดังนี้
·                     บทนำ 
·                     การนำเสนอ 
·                     การทดสอบตามเกณฑ์ 
·                     การปฎิบัติตามเกณฑ์ 
·                     การปฎิบัติในระหว่างเรียน 
·                     การแนะนำ  
·                     การให้ข้อมูลย้อนกลับ  
   เหตุผลที่สนใจ เพราะในการที่จะทำการเรียนการสอนสมบรูณ์แบบต้องประกอบด้วยหลายๆสิ่ง เลยอยากรู้ว่าองค์ประกอบแต่ละอย่างมีความสำคัญอย่างไร แตกต่างกันอย่างไร
 4. หัวข้อ เรื่อง การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

    สาระสำคัญของหัวข้อนี้คือ   ปัจจุบันมีการกล่าวขานมากมายถึงการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางหรือเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญซึ่งนักศึกษาเป็นผู้คิดคนและใช้คำนี้เป็นครั้งแรกคือ อาร์ โรเจอร์ โดยเชื่อว่าวิธีการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเป็นสิ่งที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบโดยส่งเสริมความคิดของผู้เรียนและอำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนได้พัฒนาศักยภาพสูงสุดของตนเอง
   เหตุผลที่สนใจ เพราะ.เป็นการสอนสมัยใหม่ว่ามีคามแตกต่างจากการสอนสมับเก่าที่มีครูเป็นศูนย์กลาง อันไหนมีการพัฒนาของผู้เรียนได้มากกว่ากัน

 5. หัวข้อ เรื่อง การวิจัยการเรียนรู้
    สาระสำคัญของหัวข้อนี้คือ การวิจัยการเรียนรู้ผู้ออกแบบการเรียนการสอนแบบเฝ้าดูงานวิจัยที่จะตัดสินว่าเงื่อนไขอะไรทำให้มีการเรียนรู้เพิ่มขึ้นในสถานการณ์ที่ขายครึ่งกับสิ่งที่ตนเผชิญอยู่  กรณีที่มีหลากหลายด้วยการตั้งคำถามลึกลึกเกี่ยวกับประสบการณ์ที่มีสำหรับการสำรวจประชากรกลุ่มใหญ่เพื่อที่ตัดสินใจว่าประชากรเรานั้นชอบหรือไม่ชอบแต่สิ่งที่สำคัญที่สุดเป็นการให้ผลต่อการศึกษาคือ การทดลอง
   เหตุผลที่สนใจ เพราะการวิจัยมีขั้นตอนการทำอย่างไร ถึงจะบรรลุตามเป้าหมาย
  
กิจกรรมที่ 2 :
เรียนรู้ในตำรา ศึกษา ค้นหาแหล่งเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องในเว็บไซต์

กิจกรรมที่ 2.1 เรียนรู้ในตำรา (30-40 นาที)*

           อุปกรณ์ที่ใช้ : หนังสือฯ/ปากกา/ปากกาสี/กระดาษโน้ต (ถ้ามี)
          “กิจกรรมนี้....พี่จ๊าบขอบอกเลยว่า เราต้องใช้ทักษะการอ่านและความคิดสร้างสรรค์ลงไปด้วยในการจดบันทึกนะ แน่นอนว่า....เนื้อหา และวิถีการเรียนรู้และความเข้าใจของทุกคนไม่เหมือนกัน ดังนั้น กิจกรรมในที่นี้คือ
1. ให้นักศึกษาทำการศึกษาและเรียนรู้เนื้อหาในตำรา ตามหัวข้อที่เราสนใจ และ ทำการบันทึกในกระดาษที่กำหนดให้ หัวข้อละ 1 หน้า จำนวน 5 หัวข้อ โดยสามารถใช้วิธีเขียนหรือบันทึกด้วยตัวอักษร เขียนเป็น Keyword  (คำสำคัญแล้วอธิบาย) วาดรูปเป็นภาพหรือแผนผังความคิด สร้างเป็นภาพการ์ตูน มีเรื่องราว หรืออะไรก็ได้ตามความถนัดและสนใจ ที่สำคัญคือต้องมีแก่นที่มีใจความสำคัญด้วยนะ

กิจกรรมที่ 2.2 ศึกษา ค้นหาแหล่งเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องในเว็บไซต์ (ไม่จำกัดเวลา)*
อุปกรณ์ที่ใช้ : คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต/หนังสือฯ/ปากกา/ปากกาสี/กระดาษโน้ต (ถ้ามี)
         1. จากนั้น เมื่อทำการบันทึกเนื้อหาที่สำคัญแล้ว ให้นักศึกษานำหัวข้อที่เราสนใจ ทั้ง 5  ไปค้นหาความรู้เพิ่มเติมในเว็บไซต์ต่างๆ และให้จดบันทึกการเรียนรู้ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นที่มีอยู่นอกเหนือจากตำราเรียน จำนวน 2 หน้า (หรือมากกว่านี้ก็ได้) โดยมีเว็บไซต์ในการช่วยค้นหาตัวอย่างดังต่อไปนี้
www.yahoo.com       - www.bing.com
หรือค้นหาตำราออนไลน์ ในรายวิชาที่เกี่ยวข้อง ของ ม.รามคำแหง ได้ที่   http://e-book.ram.edu/e-book/inside/html/findbook.asp
เว็บไซต์ทางการศึกษา/วิจัย เช่น www.gotoknow.org  และ http://www.vcharkarn.com/ http://www.obecresearch.net  และ http://tdc.thailis.or.th/tdc/basic.php เป็นต้น

ใบกิจกรรมที่ 2.1
หัวข้อที่ฉันสนใจ อันดับ 1 เรื่อง.ธรรมชาติของทฤษฏีการเรียนการสอน มีสาระสำคัญดังนี้
     ทฤษฎีการเรียนการสอน(Theory of instructions) เป็นกฎที่เกี่ยวข้องกับวิธีการที่มีประสิทธิภาพที่สุดของการประสบความสำเร็จได้ความรู้หรือทักษะ ทฤษฎีการเรียนการสอนเกี่ยวข้องกับความปรารถนาที่จะสอนให้ผู้เรียนรู้ให้ดีที่สุดอย่างไรโดยการปรับปรุงแผนที่จะพรรณา การเรียนรู้

     ทฤษฎีการเรียนรู้และทฤษฎีการพัฒนามีความสัมพันธ์กับทฤษฎีการเรียนการสอนตามความเป็นจริงทฤษฎีการเรียนการสอนต้องเกี่ยวข้องกับการเรียนรู้และการพัฒนาดีเท่ากับเนื้อหาวิชาและต้องมีความสมเหตุสมผลท่ามกลางทฤษฎีอื่น ที่มีหลากหลายทุกทฤษฎีมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันสำหรับทฤษฎีการเรียนการสอนมีลักษณะสำคัญสี่ประการ (bruner.1964,306-308)   คือ
 ประการแรก ทฤษฎีการเรียนการสอนควรชี้เฉพาะประสบการณ์ซึ่งปลูกฝังบ่ม เฉพาะบุคคลให้โอนเอียงสู่การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพหรือเป็นการเรียนรู้ที่สุดชนิดพิเศษตัวอย่างเช่นความสัมพันธ์ชนิดใดที่มีโอกาสต่อโรงเรียนและสิ่งต่างๆในสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนอนุบาลซึ่งมีแนวโน้มทำให้เด็กตั้งใจและสามารถเรียนรู้เมื่อเข้าโรงเรียน

 ประการที่สอง ทฤษฎีการเรียนการสอนต้องชี้เฉพาะวิธีการจัดโครงสร้างองค์ความรู้เพื่อเกิดความพร้อมที่สุดสำหรับผู้เรียนที่จะตักตวงความรู้เท่านั้นความดีของโครงสร้างขึ้นอยู่กับพลังงานในการทำสาระสนเทศที่มีความง่ายในการให้ข้อความใหม่ที่ต้องพิสูจน์และเพิ่มการถ่ายทอดองค์ความรู้อยู่สม่ำเสมอ

 ประการที่สาม ทฤษฎีการเรียนการสอนควรชี้เฉพาะขั้นตอนที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการนำเสนอสิ่งที่ผู้เรียนต้องเรียนรู้ตัวอย่างเช่นผู้สอนคนหนึ่งปราถนาที่จะสอนโครงสร้างทฤษฎีฟิสิกส์สมัยใหม่เค้าทำอย่างไรเค้านำเสนอที่เป็นรูปธรรมก่อนด้วยวิธีการใช้คำถามเพื่อสืบค้นความจริงเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ที่ผู้เรียนต้องนำไปคิดซึ่งทำให้ง่ายขึ้นเมื่อต้องเผชิญกับการเสนอกฎนี้อีก

 ประการสุดท้าย ทฤษฎีการเรียนรู้ควรใช้เฉพาะธรรมชาติและช่วงเก้าของการให้รางวัลและการลงโทษในกระบวนการเรียนรู้และการสอนในขณะกระบวนการเรียนรู้มี. ที่ดีกว่าจะเปลี่ยนจากรางวัลภายนอกเช่นคำยกย่องสรรเสริญจากครูไปเป็นรางวัลภายในโดยธรรมชาติในการแก้ปัญหาที่ซับซ้อนสำหรับตนเอง ดังนั้นการให้รางวัลเคลื่อนย้ายหรือการเปลี่ยนแปลงจากรางวัลภายนอกไปสู่รางวัลภายในและจะได้รางวัลทันทีไปสู่รางวัลการอนุโลมตามเป็นเรื่องที่เข้าใจยากและมีความสำคัญอย่างเห็นได้ชัด. ตัวอย่างเช่นไม่ว่าเรียนรู้เกี่ยวข้องกับบูรณาการของการกระทำมีขั้นตอนยาวหรือไม่การเปลี่ยนแปลงควรจะทำให้เร็วที่สุดจากการให้รางวัลท่านใดเป็นการอนุโลมตามและจากรางวัลภายนอกเป็นรางวัลภายใน
                        
ใบกิจกรรมที่ 2.1
หัวข้อที่ฉันสนใจ อันดับ 2 เรื่องทฤษฏีการเรียนการสอน มีสาระสำคัญดังนี้

 มีทฤษฎีการเรียนการสอนที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ได้มากมายซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึง เพียง4ทฤษฎีที่มีลักษณะแตกต่างกันคือ
·         ทฤษฎีการเรียนการสอนของการเย่และบริกส์ (gagne and briggs) 
·         ทฤษฎีการเรียนการสอนของเมอร์วิล และไรเกลุท (merrill and reigeluth) 
·         ทฤษฎีการเรียนการสอนของเคส(case) 
·         ทฤษฎีการเรียนการสอนของลันดา(landa)
ทฤษฎีการเรียนการสอนของการเย่และบริกส์ (gagne and briggs) 
โรเบิร์ต กาเย่ (Robert Gagne) เป็นนักปรัชญาและจิตวิทยาการศึกษาชาวอเมริกา (1916-2002) ได้เสนอแนวความคิดเกี่ยวกับการสอน คือ ทฤษฎีเงื่อนไขการเรียนรู้ (Condition of Learning)โดยทฤษฎีการเรียนรู้ของกาเย่จัดอยู่ในกลุ่มผสมผสาน (Gagne’s eclecticism)   ซึ่งเชื่อว่าความรู้มีหลายประเภท  บางประเภทสามารถเข้าใจได้อย่างรวดเร็วไม่ต้องใช้ความคิดที่ลึกซึ้งบางประ เภทมีความซับซ้อนจำเป็นต้องใช้ความสามารถในขั้นสูง
 เลสลี่ บริกส์ (Leslie Briggs) เป็นนักการศึกษาที่สําคัญในวงการออกแบบและพัฒนาระบบการเรียน การสอน ได้มีการดําเนินการออกแบบในแต่ละขั้นตอนอย่างละเอียด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรูแบบการเลือกใช้ สื่อการสอน ซึ่งได้มีการวางแผนเพื่อนําเอานวัตกรรมมาเผยแพร่ด้วย ระบบการเรียนการสอนของ Briggs เหมาะสําหรับการออกแบบ การเรียนการสอนในระดับหน่วยวิชา หรือระดับโปรแกรมการเรียนรายวิชา ซึ่งถ้า สามารถดําเนินการตามคําแนะนําทุกขั้นตอนแล้ว การใช้ระบบของ Briggs จะได้ผลดีโดยเฉพาะ ในการพัฒนา โปรแกรมการเรียนการสอนรายวิชา

              ทฤษฎีการเรียนการสอนของเมอร์ริลและไรเกลุท 
เกี่ยวข้องกับกลยุทธ์มหาภาพสำหรับการจัดการเรียนรู้การสอนเช่นความสัมพันธ์ระหว่างหัวข้อของรายวิชาและลำดับขั้นตอนการเรียนการสอน ทฤษฎีนี้เน้นมโนทัศน์หลักการระเบียบวิธีการและระลึก สาระสนเทศข้อความจริงต่างๆได้ทั่วไป แล้วทฤษฎีนี้มีทัศนะเกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนว่าเป็นกระบวนการของการนำเสนอรายละเอียดอย่างค่อยเป็นค่อยไป

   ขั้นตอนการเรียนการสอนประกอบด้วย
·                     1.เลือกการปฏิบัติทั้งหมดที่จะสอนโดยการวิเคราะห์ภาระงาน
·                     2.ตัดสินใจว่าจะสอนการปฏิบัติใดเป็นลำดับแรก
·                     3.เรียงลำดับขั้นตอนการปฏิบัติที่ยังค้างคาอยู่
·                     4.ระบุเนื้อหาที่สนับสนุน
·                     5.กำหนดเนื้อหาทั้งหมดเป็นบทและจัดลำดับบท
·                     6.เรียงลำดับการเรียนการสอนภายในบท
·                     7.ออกแบบการเรียนการสอนสำหรับแต่ละบท

             ทฤษฎีการสอนของเคส
ได้แนะนำว่าขั้นตอนของพฤติกรรมระหว่างระยะสำคัญของการพัฒนาเชาว์ปัญญาขึ้นอยู่กับการปรากฏให้เห็นถึงการเพิ่มความซับซ้อนของประยุทธ์ทางปัญญาการใช้กลยุทธ์ที่ซับซ้อนมากขึ้นกับผู้เรียนทำให้เพิ่มประสบการณ์และเพิ่มขนาดของการทำงานในหน่วยความจำอย่างค่อยเป็นค่อยไปด้วย
      ทฤษฎีการสอนของเคส ให้แนวคิดเกี่ยวกับการสอนด้านพฤติกรรมในระหว่างการสอนแต่ละขั้นของพัฒนาการทางสติปัญญานั้นขึ้นกับการเพิ่มความซับซ้อนของยุทธศาสตร์การคิด ผู้เรียนจะใช้ความคิดที่ซับซ้อนได้เมื่อได้รับประสบการณ์อย่างมีขั้นตอน การจัดการสอนลักษณะนี้จัดลำดับตามความมุ่งหมายของภารกิจที่จะเรียน จัดลำดับขั้นการปฏิบัติเพื่อนำไปสู่ความมุ่งหมายนั้น ๆ โดยการเปรียบเทียบการคิดกับทักษะที่ผู้เรียนได้รับ มีการจัดระดับความสามารถและการปฏิบัติของผู้เรียน มีแบบฝึกหัดหรือตัวอย่างให้ผู้เรียนได้ศึกษา
     ทฤษฎีการสอนของเคส มีความขายครึ่งกับงานของเพียเจโดยเพียเจได้แนะนำว่าประยุทธ์ทางปัญญาของนักเรียนที่ยังไม่รับการสอนสามารถจะเปิดเผยและใช้พื้นฐานสำหรับจัดลำดับขั้นตอนการเรียนการสอนและวางแผนเหตุการณ์การเรียนการสอนได้

             ทฤษฎีการเรียนการสอนของลันดา
  เป็นการออกแบบการจำลองการเรียนการสอนที่ออกมาโดยใช้วิธีการพิเศษในการแก้ปัญหาเฉพาะอย่าง โปรแกรมการฝึกอบรมมีการพัฒนาวิธีการพิเศษในการแก้ปัญหาเฉพาะอย่างของภาระงาน. ซึ่งกำหนดให้ผู้เรียนติดตามระเบียบวิธีการที่มีอยู่ในคู่มือการอบฝึกอบรมในการใช้วิธีการออกแบบของอันดาเป็นความจำเป็นที่ต้องมีการระบุกิจกรรมและการปฏิบัติทั้งหมดที่มีอยู่ก่อนหน้านั้นซึ่งผู้เรียนจะต้องแสดงออกมาเพื่อได้รวมใหม่ในการแก้ปัญหาบางอย่าง
    ในทางตรงข้ามอาจเรียกว่าเป็นวิธีการทางจิตวิทยาในการวางแผนการเรียนการสอนผู้เชี่ยวชาญหลักสูตรมีแนวโน้มที่จะเน้นไปทางโครงสร้างของเนื้อหาบนพื้นฐานของการนำไปประยุกต์ใช้บ่อยครั้งมีการจัดการเรียนรู้เป็น

·                     1.เนื้อหาด้านปัญญา
·                     2.ทักษะทางวิชาการ
·                     3.การเรียนรู้สังคม
·                     4.การเรียนรู้ตามความต้องการของเอกัตบุคคล

ใบกิจกรรมที่ 2.1
หัวข้อที่ฉันสนใจ อันดับ 3 เรื่องสภาวการณ์การเรียนรู้การสอนพื้นฐานของกาเรียนการสอนปกติ

 มีสาระสำคัญดังนี้
บทนำ จะช่วยนำความตั้งใจของผู้เรียนไปสู่ภาระการเรียนรู้ด้วยการอธิบายประโยชน์ของการประสบผลสำเร็จตามจุดประสงค์

การนำเสนอ เป็นการนำเสนอสารสนเทศ ข้อความจริง มโนทัศน์ หลักการหรือิธีการให้กับผู้เรียน ข้อกำหนดของการนำเสนอจะหลากหลายไปตามแบบของการเรียนรูั ที่จะให้ประสบผลสำเร็จ

การทดสอบตามเกณฑ์ เป็นการวัดผสำเร็จของผู้เรียนตามจุดประสงค์ปลายทาง

การปฎิบัติตามเกณฑ์
 เกิดขึ้นในสถาการณ์เช่นเดียวกับการทดสอบปลายภาค โดยมีจุดประสงค์เพื่อการตัดสินผู้เรียนว่ามีความพร้อมที่จะสอบปลายภาคหรือความจำเป้นต้องเรียนซ่อมเสริม

การปฎิบัติในระหว่างเรียน เป็นการออกแบบช่วยให้ผู้เรียนให้สร้างสะพานข้ามช่องระหว่างพฤติกรรมที่แสดงว่ามีวามพร้อมถึงระดับที่จะรับการสอน กบัพฤติกรรมที่กำหนดโดยจุดประสงค์ปลายทาง สิ่งสำคัญที่ควรจดจำเกี่ยวกับการปฎิบัติในระหว่างเรียนคือ เป้นการเตรียมตัวผุ้เรียนเพื่อการแสดงออกซึงปฎิบัติท่ีเป็นไปตมเกณฑ์

การแนะนำ  เป็นการฝึกที่ฉลับพลันช่วยให้ผู้เรียนแสดงออกอย่างถูกต้อง ในช่วงต้นของการปฎิบัติว่ามีการช่วยเหลือมากๆแล้วค่อยๆลดลง การช่วยลือจะอยู่ในช่วงปฎิบัติในระหว่างเรียนเท่านั้น ส่วนในช่วงปฎิบัติตามเกณฑ์ไม่ต้องช่วย

การให้ข้อมูลย้อนกลับ  เป็นส่วนนึงของการบรูราการปฎิบัติ เพื่อที่จะบอกกลับผู้เรียนว่า ปฎิบัติถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง และจะมีการปรับปรุงอย่างไร การปฎิบัติแค่อย่างเดียวโดยไม่มีข้อมูลปอนกลับไม่เป็นการเพียงพอสำหรับการเรียนรู้ที่ีมีประสิทธิภาพ

ใบกิจกรรมที่ 2.1
หัวข้อที่ฉันสนใจ อันดับ 4 เรื่อง..การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. มีสาระสำคัญดังนี้

การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
   ปัจจุบันมีการกล่าวขานมากมายถึงการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางหรือเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญซึ่งนักศึกษาเป็นผู้คิดคนและใช้คำนี้เป็นครั้งแรกคือ อาร์ โรเจอร์ โดยเชื่อว่าวิธีการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเป็นสิ่งที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบโดยส่งเสริมความคิดของผู้เรียนและอำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนได้พัฒนาศักยภาพสูงสุดของตนเองโดยมีแนวคิดดังนี้

·                     1.ผู้เรียนต้องรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตนเอง
·                     2.เนื้อหาวิชามีความสำคัญและมีความหมายต่อการเรียน
·                     3.การเรียนรู้จะประสบความสัมพันธ์ที่ดี
·                     4.ระหว่างผู้เรียนการมีปฏิสัมพันธ์ผลสำเร็จถ้าผู้เรียนมีส่วนร่วม
·                     5ครูเป็นมากกว่าผู้สอน.
·                     6.ผู้เรียนมีโอกาสเห็นตนเองในแง่มุมที่แตกต่างจากเดิม
·                     7.การศึกษาเป็นการให้นาประสบการณ์เรียนรู้ของผู้เรียนหลายๆด้าน
·                     8.ผู้เรียนได้เรียนรู้วิธีการทำงานอย่างเป็นกระบวนการ
·                     9.ผู้เรียนนำความรู้ที่ได้ไปเป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
·                     10.การเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางก่อให้เกิดความเป็นประชาธิปไตย
·                     11.การเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางสอนให้ผู้เรียนเกิดรู้จักวิพากษ์วิจารณ์
·                     12.การเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางทำให้เกิดการนำตนเอง
·                     13.การเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
·                     14.การเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางก่อให้เกิดการพัฒนามโนทัศน์ของตน
·                     15.การเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเป็นการเสาะแสวงหาความสามารถพิเศษของผู้เรียน
·                     16.การเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเป็นวิธีการที่ดีแล้วจะช่วยดึงศักยภาพของผู้เรียน

ใบกิจกรรมที่ 2.1
หัวข้อที่ฉันสนใจ อันดับ 5 เรื่อง.  การวิจัยการเรียนรู้  มีสาระสำคัญดังนี้ 
    การวิจัยการเรียนรู้ผู้ออกแบบการเรียนการสอนแบบเฝ้าดูงานวิจัยที่จะตัดสินว่าเงื่อนไขอะไรทำให้มีการเรียนรู้เพิ่มขึ้นในสถานการณ์ที่ขายครึ่งกับสิ่งที่ตนเผชิญอยู่  กรณีที่มีหลากหลายด้วยการตั้งคำถามลึกลึกเกี่ยวกับประสบการณ์ที่มีสำหรับการสำรวจประชากรกลุ่มใหญ่เพื่อที่ตัดสินใจว่าประชากรเรานั้นชอบหรือไม่ชอบแต่สิ่งที่สำคัญที่สุดเป็นการให้ผลต่อการศึกษาคือ การทดลอง

    แบบมโนทัศน์ของการวิจัยเกี่ยวกับการออกแบบการเรียนการสอน เนื้อหาส่วนใหญ่ของงานวิจัยที่เกี่ยวกับตัวแปรการออกแบบการเรียนการสอนต้องไปกว้างเกินไปโดยปราศจากการจัดการริทชี่ได้จัดกลุ่มงานวิจัยเกี่ยวกับตัวแปรการเรียนการสอนเป็นสี่กลุ่มใหญ่คือ 
·                     1.ผู้เรียน 
·                     2.เนื้อหาวิชา
·                     3.สิ่งแวดล้อม
·                     4.ระบบการสอน 

    ข้อมูลป้อนกลับ อีกวิธีหนึ่งทำให้การผิดพลาดคือการให้ผู้เรียนได้รับการรับรู้ที่คอยตอบสนองนั้นไม่ถูกต้องการรู้ว่าถูกหรือผิดควรช่วยให้ผู้เรียนแก้ไขการกระทำให้ถูกต้องระหว่างการทดลองและเน้นไปที่สวนของภาระงานที่ต้องกลั่นกรอง

ใบกิจกรรมที่ 2.2
ความรู้ใหม่ที่ฉันได้ไปค้นคว้าเพิ่มเติมในเว็บไซต์ เกี่ยวกับหัวข้อที่ฉันสนใจ ได้สรุปสาระสำคัญดังนี้

กระบวนการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้
     กระบวนการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ มีขั้นตอนการวิจัยเช่นเดียวกับกระบวนการวิจัยโดยทั่วไป ดังนี้



  กระบวนการวิจัยเพื่อการเรียนรู้ ได้มีการนำกระบวนการวิจัยทั่วไปมาประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหา  การเรียนรู้หรือการพัฒนาการเรียนรู้เป็นสำคัญ ดังนั้นในขั้นการศึกษาและวิเคราะห์ปัญหา จึงต้องเน้นไปที่ผลการพัฒนาผู้เรียน 3 ด้าน คือด้านความรู้(Cognitive Domain) ด้านทักษะ(Psychomotor Domain) และด้านเจตคติ(Affective Domain) และก่อนที่ผู้สอนจะใช้การวิจัยในกระบวนการเรียนรู้ เพื่อแก้ปัญหาหรือเพื่อพัฒนาผู้เรียน เช่นเดียวกันกับผู้บริหารจะทำการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ซึ่งองค์ประกอบของกระบวนการวิจัยเพื่อการเรียนรู้ มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ดังแผนภูมิ

 
1.  การวิจัยในกระบวนการเรียนรู้

         การวิจัยในกระบวนการเรียนรู้ คือการนำระเบียบวิธีวิจัยมามาใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน ซึ่งมาจากความเชื่อว่า “ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองและพัฒนาตนเองได้” ดังนั้นการจัดการศึกษาจะต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ โดยส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจ ความถนัด และความต้องการ จากสื่อและอุปกรณ์ที่มีอยู่ตามแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ในครอบครัว ในสถานศึกษาและในชุมชนที่ผู้เรียนพบในชีวิตประจำวัน

         แนวคิดเกี่ยวกับการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง มีหลายแนวคิด เช่น

        1) แนวคิดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Participation learning) ซึ่งเน้นการสร้างความรู้จากประสบการณ์เดิมของผู้เรียนและการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียน
         2) แนวคิดการเรียนรู้ตามหลักพุทธศาสนา ซึ่งมี 3 ระดับ คือการรู้จำจากการบอกหรือสอน การรู้จักจากการคิดหาเหตุผล และการรู้แจ้งจากการสร้างความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งด้วยการค้นพบด้วยตนเอง
         3) แนวคิดการสร้างความรู้ (Constructivism) เน้นการสร้างความรู้ด้วยตนเองจากวิธีการต่าง ๆ กัน โดยอาศัยประสบการณ์เดิมจากโครงสร้างทางปัญญา และแรงจูงใจ

  จากแนวคิดดังกล่าวที่นำมาใช้ในการส่งเสริมการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนได้ ประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ควรจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างเป็นระบบโดยอาศัยกระบวนการวิจัยเข้ามาช่วยในการเรียนรู้ในเรื่องที่มีความซับซ้อนทำให้ผู้เรียนได้ฝึกคิด การจัดการ การหาเหตุผลในการแก้ปัญหา การผสมผสานความรู้แบบสหวิทยาการและการเรียนรู้ปัญหาที่ผู้เรียนสนใจ ครูจะต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนมีอิสระในการทดลองใช้แนวคิดและวิธีการต่าง ๆในการเรียนรู้ การทดสอบความรู้ที่ได้รับและการสรุปความรู้ เจตคติ และทักษะอันเป็นเครื่องมือพัฒนาการเรียนรู้ตลอดชีวิต มีพัฒนาการทางสติปัญญา ทางอารมณ์ สังคม และทางร่างกาย ซึ่งรูปแบบการวิจัยในกระบวนการเรียนรู้ มีดังนี้



จากแผนภูมิ การวิจัยในกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งเป้าหมายของการจัดการเรียนรู้ คือผู้เรียนมีความรู้ เจตคติ และทักษะ ซึ่งได้จากการเรียนรู้ด้วยกระบวนการวิจัยอย่างเป็นระบบ มี 5 ขั้นตอน ดังนี้

        ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์ความต้องการการเรียนรู้ ขั้นตอนนี้ผู้เรียนจะต้องทราบความต้องการการเรียนรู้ของตนเอง มีการลำดับความสำคัญของความต้องการก่อนหลังที่ต้องการจะเรียนเรียน และนำเรื่องที่มีความสำคัญลำดับแรก มากำหนดเป้าหมายของการเรียนรู้
        ขั้นตอนที่ 2 การวางแผนการเรียนรู้ ผู้เรียนจะต้องวางแผนการเรียนรู้ของตนเองว่าจะเรียนเรื่องอะไร ใช้เวลาเรียนเท่าไร เรียนรู้ด้วยวิธีใด เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ใด ต้องใช้สื่ออะไร และเมื่อมีปัญหาในการเรียนจะต้องปรึกษาใคร เมื่อได้รับความรู้แล้วจะนำความรู้ไปใช้อย่างไร ตลอดจนวางแผนการนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการปรับปรุงและพัฒนางาน
        ขั้นตอนที่ 3 การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ เป็นขั้นตอนของการปฏิบัติเพื่อแสวงหาความรู้ตามที่ได้วางแผนไว้ ซึ่งอาจใช้วิธีการต่าง ๆ ในการเรียนรู้ เช่น การสังเกต การสัมภาษณ์ การบันทึกข้อความ การสรุปความ การเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ เช่น ศูนย์วิทยาการ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อบุคคลและสื่อเทคโนโลยี เป็นต้น เมื่อได้ความรู้แล้วควรตรวจสอบความถูกต้องของความรู้ที่ได้ และนำความรู้ไปใช้ให้เป็นไปตามเป้าหมายของการเรียนรู้
        ขั้นตอนที่ 4 การสรุปความรู้ เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนสรุปความรู้และนำเสนอความรู้ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้า ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น รูปภาพ แผนภาพ แผนภูมิ ฯลฯ และอาจใช้ เครื่องมือ อุปกรณ์ หรือเทคโนโลยีต่าง ๆมาช่วยในการนำเสนอ
       ขั้นตอนที่ 5 การประเมินผลเพื่อปรับปรุงและนำไปใช้ในการพัฒนา เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนประเมินกระบวนการเรียนรู้ของตนเองในระหว่างการเรียนรู้ทุกขั้นตอน เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงและการนำไปใช้พัฒนางานต่อไป

2.  การวิจัยพัฒนาการเรียนรู้

       ในการจัดการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม  มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขนั้น ผู้สอนจะต้องคำนึงถึงมาตรฐานการจัดการศึกษา ที่กำหนดในการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนเป็นสำคัญ คือผู้เรียนจะต้องเกิดกระบวนการเรียนรู้ตรงตามเป้าหมายการเรียนรู้ ซึ่งจะต้องมีการปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของผู้สอนอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นการทำวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้จึงมีบทบาสำคัญในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ ผู้สอนจำเป็นจะต้องบูรณาการภารกิจของการวิจัยมาใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาการเรียนรู้ ดังนี้

       1. ในการจัดกระบวนการเรียนการสอน ควรใช้กระบวนการวิจัยมาเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้
       2. ทำวิจัยเพื่อจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน
       3. นำผลการวิจัยมาใช้ในการปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอน

       ดังนั้น การใช้การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้จึงเป็นภารกิจที่สำคัญและจำเป็นที่ผู้สอนควรนำมาใช้ในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาการเรียนรู้ การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ มีการดำเนินงาน ดังนี้


จากแผนภูมิกระบวนการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ มี 5 ขั้นตอน ดังนี้

                ขั้นตอนที่ 1 วิเคราะห์ความต้องการ/พัฒนาการเรียนรู้
                ขั้นตอนที่ 2 วางแผนการจัดการเรียนรู้
                ขั้นตอนที่ 3 จัดกิจกรรมการเรียนรู้
                ขั้นตอนที่ 4 ประเมินผลการเรียนรู้ 
                ขั้นตอนที่ 5 ทำรายงานผลการเรียนรู้

     กระบวนการทั้ง 5 ขั้นตอนผู้สอนจะต้องนำวิธีวิจัยมาใช้ในการดำเนินงาน และในขั้นตอนที่ 3 เมื่อผู้สอนทำการประเมินระหว่างจัดกิจกรรมการเรียนรู้แล้วพบว่ามีปัญหาเกิดขึ้นเล็กน้อย ผู้สอนจะต้องดำเนินการปรับปรุงแก้ไขการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อให้บรรลุผลตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ และเมื่อผู้สอนประเมินผลการเรียนรู้ในขั้นตอนที่ 4 แล้วพบว่าไม่มีปัญหา ผู้เรียนมีการพัฒนาการเรียนรู้ที่ตรงกับจุดมุ่งหมายของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ผู้สอนจะต้องจัดทำรายงานผลการเรียนรู้ เพื่อรายงานแก่ผู้เกี่ยวข้องเพื่อทราบและใช้ประโยชน์ต่อไป

      ในกรณีผู้สอนทำการประเมินผลการเรียนรู้ในขั้นตอนที่ 4 แล้วพบว่ามีปัญหารุนแรง หรือพบว่ามีบางเรื่องที่จำเป็นต้องพัฒนา แต่ไม่อาจทำได้ทันที เช่น ผู้เรียนวิชาภาษาไทยขาดทักษะการอ่าน โดยเฉพาะการอ่านจับใจความ ผู้สอนจะต้องทำวิจัยเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น โดยดำเนินการดังนี้

           1) จัดกิจกรรมแก้ปัญหา/พัฒนา
           2) เก็บรวบรวมข้อมูล/วิเคราะห์ข้อมูล
           3) สรุปผลการแก้ปัญหา/พัฒนา

       เมื่อได้ผลการแก้ปัญหา/พัฒนาแล้ว ผู้สอนจะต้องกลับไปประเมินผลการเรียนรู้และรายงานต่อผู้เกี่ยวข้องเพื่อนำไปใช้ประโยชน์และเมื่อผู้สอนได้ทำวิจัยเพิ่มเติมเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในการจัดการเรียนรู้ได้แล้ว ผู้สอนจะต้องนำผลวิจัยไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ต่อไป

3.  การวิจัยพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา

       การจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มีประสิทธิภาพนั้น ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบภายในของสถานศึกษา เช่น ผู้สอน ผู้เรียน หลักสูตร  สื่อ วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ และผู้ที่มีบทบาทสำคัญที่สุดในการทำให้กิจกรรมต่าง ๆ ของสถานศึกษาดำเนินไปได้ด้วยดี คือผู้บริหารสถานศึกษา ซึ่งจะต้องระดมสรรพกำลังบุคลากรทุกฝ่ายตั้งแต่ ผู้สอน ผู้เรียน กรรมการสถานศึกษา และชุมชน มาร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการ เพื่อกำหนดทิศทางหรือวิสัยทัศน์  จัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษา จัดทำแผนปฏิบัติการ การดำเนินงานตามแผน การนิเทศติดตามผล และการจัดทำรายงานผลการดำเนินงานของสถานศึกษา

        กระบวนการต่าง ๆ ดังกล่าวถือว่าผู้บริหารสถานศึกษาได้นำกระบวนการวิจัยมาใช้ในการบริหารจัดการของสถานศึกษา ดังนี้


จากแผนภูมิจะเห็นได้ว่าผู้บริหารได้ใช้กระบวนการวิจัยมาดำเนินการบริหารสถานศึกษา เริ่มตั้งแต่การวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการเพื่อกำหนดทิศทาง/วิสัยทัศน์จัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษา/แผนปฏิบัติการ กำกับ ดูแลการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามแผน นิเทศ ติดตามประเมินผลการดำเนินงาน และจัดทำรายงานผลการดำเนินงานของสถานศึกษา

      ในกรณีที่ประเมินผลการดำเนินงานแล้วพบว่ามีปัญหารุนแรงหรือพบเรื่องที่ควรได้รับการพัฒนา ผู้บริหารจะต้องทำวิจัยเพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนางานดังกล่าวในระหว่างขั้นตอนที่ 4 ของการดำเนินงาน โดยมีขั้นตอนวิจัย 5 ขั้นตอน ดังนี้

                  1. การวิเคราะห์ปัญหา/พัฒนา
                  2. วางแผนแก้ปัญหา/พัฒนา
                  3. จัดกิจกรรมแก้ปัญหา/พัฒนา
                  4. เก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล
                  5. สรุปผลการแก้ปัญหา/พัฒนา

        เมื่อสรุปผลการแก้ปัญหา/พัฒนา เสร็จแล้วขั้นต่อไปคือการนำผลการวิจัยไปใช้ และประเมินในขั้นตอนที่ 4 ของการดำเนินงานบริหารอีกครั้ง ถ้าพบว่าไม่มีปัญหา จึงจัดทำรายงานผลการดำเนินงานสถานศึกษาให้ผู้เกี่ยวข้องทราบหรือเป็นข้อมูลในการพัฒนา ต่อไป

แหล่งอ้างอิง

1.  กระทรวงศึกษาธิการ.(2548) มาตรฐานการศึกษาของชาติ.กรุงเทพฯ : สหายบล็อกและการพิมพ์
2.  กรมวิชาการ.(2545) การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว
3.  สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์การมหาชน)(2547).พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค
                                                                              
ใบกิจกรรมที่ 2.2
ความรู้ใหม่ที่ฉันได้ไปค้นคว้าเพิ่มเติมในเว็บไซต์ เกี่ยวกับหัวข้อที่ฉันสนใจ ได้สรุปสาระสำคัญดังนี้

ทฤษฏีการเรียนการสอน
    ทฤษฎี หมายถึง ความคิดหรือชุดของความคิดที่ต้องการอธิบาย บรรยาย หรือทำนายปรากฏการณ์ หรือหลักการอย่างใดอย่างหนึ่ง (ราชบัณฑิตยสถาน, 2555, หน้า 544) ทฤษฎีเป็นกรอบแนวคิดที่แยก ลักษณะสำคัญออกจากสารสนเทศทั่วไปของปรากฏการณ์ และต้องผ่านการทดสอบจนเป็นที่ยอมรับ (Gredler, 1997, p. 8) ดังนั้น ความหมายของทฤษฎีการเรียนรู้ที่เป็นไปตามข้อตกลงเบื้องต้นที่กล่าวมา นี้จึงตรงกับที่ ทิศนา  แขมมณี (2555, หน้า 475) ให้ความหมายของทฤษฎีการเรียนรู้คือ ข้อความรู้ที่ พรรณนา/อธิบาย/ทำนายปรากฏการณ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับการเรียนรู้ ซึ่งได้รับการพิสูจน์ทดสอบตามกระบวนการ ทางวิทยาศาสตร์หรือกระบวนการสืบสอบ แสวงหาความรู้ที่เหมาะกับศาสตร์แต่ละสาขาซึ่งได้รับการยอมรับ ว่าเชื่อถือได้ และสามารถนำไปนิรนัยเป็นหลักหรือกฎการเรียนรู้ย่อย ๆ หรือนำไปใช้เป็นหลักในการจัด กระบวนการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนได้ ทฤษฎีโดยทั่วไปมักประกอบด้วยหลักการย่อย ๆ หลายหลักการ

บทบาทของทฤษฎีการเรียนรู้   ทฤษฎีการเรียนรู้มีบทบาทต่อการพัฒนาการเรียนการสอนดังนี้ (Gredler, 1997, pp. 9-11)

1) เป็นกรอบแนวคิดในการดำเนินการวิจัย ทฤษฎีการเรียนรู้ประกอบด้วยหลักการเรียนรู้ย่อย หลายหลักการที่สามารถตรวจสอบได้ในห้องทดลอง หรือนำไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ ซึ่งข้อมูลที่รวบรวมได้จะช่วยให้เราเข้าใจปรากฏการณ์การเรียนรู้ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างเป็นเหตุเป็นผลเพราะผ่าน การตรวจสอบด้วยข้อมูลเชิงประจักษ์ ยกตัวอย่าง เช่น ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์ (Thorndike’s connectionism) ธอร์นไดค์เป็นนักจิตวิทยาการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยมซึ่งทำการทดลองความสัมพันธ์ ระหว่างสิ่งเร้าที่มีต่อพฤติกรรมการตอบสนองที่เป็นการลงมือปฏิบัติและผลที่ตามมาในหลากหลายลักษณะ จนสามารถสรุปเป็นหลักการเรียนรู้ที่เรียกว่า กฎแห่งผล ซึ่งกล่าวว่าพฤติกรรมการตอบสนองต่อสิ่งเร้าใด ที่ได้รับผลที่ทำให้ผู้เรียนพึงพอใจ ผู้เรียนจะกระทำพฤติกรรมนั้นซ้ำอีก แต่ถ้าไม่ได้รับผลที่พึงพอใจผู้เรียน ก็จะหยุดหรือเลิกทำพฤติกรรมนั้น การนำทฤษฎีการเรียนรู้ของธอร์นไดค์ไปประยุกต์ใช้ในห้องเรียน จึงเป็นกรอบการวิจัยที่จะช่วยพัฒนาให้เกิดผลการเรียนรู้ที่เราคาดหวังกับนักเรียน โดยการจัดสิ่งเร้าที่ นักเรียนพึงพอใจ และให้รางวัลกับนักเรียนเมื่อนักเรียนแสดงพฤติกรรมที่เป็นผลการเรียนรู้ที่เราต้องการ พัฒนา

 2) ช่วยในการจัดการกับความรู้ ถ้าพิจารณาเนื้อหาความรู้ที่นำมาสอนในห้องเรียนจะพบว่า ความรู้บางอย่างเป็นรูปธรรม บางอย่างเป็นนามธรรม ความรู้บางอย่างเป็นพื้นฐานต้องเรียนก่อน บางอย่างมีความซับซ้อน ต้องมีพื้นฐานบางเรื่องมาก่อนจึงจะเรียนรู้ได้ การจัดเนื้อหาให้เหมาะสมกับ ผู้เรียน นอกจากต้องเข้าใจธรรมชาติของเนื้อหาแล้วยังต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับทฤษฎีพัฒนาการทาง สติปัญญาของผู้เรียนซึ่งเป็นทฤษฎีที่เสนอโดยเพียเจต์ นักจิตวิทยาพัฒนาการที่ได้อธิบายการเรียนรู้ของ ผู้เรียนในแต่ละช่วงวัยเป็นลำดับ จากเรื่องที่ง่ายหรือเป็นรูปธรรมไปสู่เรื่องที่ยากซับซ้อนหรือเป็นนามธรรม ซึ่งช่วยในการจัดการกับความรู้ที่จะนำเสนอให้มีความเหมาะสมกับผู้เรียน

 3) ช่วยให้เข้าใจพฤติกรรมของผู้เรียนและปรับพฤติกรรมของนักเรียนให้ดีขึ้น ปรากฏการณ์ ที่เกิดขึ้นในห้องเรียนนั้นมีความซับซ้อน หากครูไม่เข้าใจทฤษฎีการเรียนรู้อย่างถ่องแท้ก็มักจะใช้ผิด ๆ หรือไม่เข้าใจว่าเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น ทฤษฎีการเรียนรู้จะช่วยให้ครูจัดการกับปัญหาการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น ในห้องเรียนอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ยกตัวอย่าง การให้คำชมเชย ครูที่ใช้คำชมเชยอย่างพร่ำเพรื่อ แก่นักเรียนจะไม่สามารถกระตุ้นหรือส่งเสริมนักเรียนให้แสดงพฤติกรรมตามที่ครูต้องการอย่างได้ผลคงที่ แน่นอน จากทฤษฎีการเรียนรู้ของสกินเนอร์ทำให้ทราบว่า การให้คำชมเชยแก่นักเรียนต้องทำอย่างมี เงื่อนไขชัดเจนจึงจะได้ผลตามที่ต้องการ

4) ช่วยในการจัดการกับประสบการณ์ที่ควรมีมาก่อนของผู้เรียน ในการเรียนรู้เรื่องใหม่ ความรู้ พื้นฐานหรือประสบการณ์เดิมนับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะจากทฤษฎีการสร้างความรู้ทำให้ ทราบว่า การเรียนรู้เรื่องใหม่ต้องมีพื้นฐานจากความรู้และประสบการณ์เดิมที่เกี่ยวข้องจึงจะช่วยให้การเรียนรู้นั้นเกิดขึ้นได้ ครูที่ตระหนักในทฤษฎีดังกล่าวจะต้องวิเคราะห์ผู้เรียนโดยเฉพาะภูมิหลังและ ประสบการณ์เดิมของผู้เรียนเพื่อจะรู้ว่าควรเริ่มต้นการเรียนรู้อย่างไรจึงจะมีประสิทธิผล

5) ช่วยในการวางแบบแผนในการทำงาน ทฤษฎีเป็นข้อความที่อธิบายความสัมพันธ์ของตัวแปรเหตุ ที่มีต่อผลที่จะเกิดขึ้น ดังนั้นการใช้ทฤษฎีการเรียนรู้ในการวางแผนการเรียนการสอนจึงเป็นการทำงาน อย่างเป็นระบบเพื่อไปสู่เป้าหมายหรือผลที่คาดหวัง ทำให้การดำเนินงานประสบความสำเร็จได้ดีกว่า การทำงานโดยขาดแนวทางและเป้าหมายที่ชัดเจน นอกจากนั้นการท างานโดยมีทฤษฎีชี้นำยังช่วยให้ สามารถปรับเปลี่ยนการทำงานให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ที่เปลี่ยนแปลงได้อีกด้วย เพราะทฤษฎีสามารถ พัฒนาหรือปรับเปลี่ยนได้ หากทฤษฎีไม่สามารถอธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นได้ ยกตัวอย่าง ทฤษฎี การเรียนรู้แบบวางเงื่อนไขของพาฟลอฟ (Pavlov) ที่เหมาะกับการปรับพฤติกรรมของสัตว์ที่แสดงพฤติกรรม ตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่เป็นความต้องการพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตทั่วไปตามธรรมชาติ เช่น อาหาร แต่ไม่ สามารถนำมาใช้กับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของมนุษย์ที่มีความซับซ้อนได้

  ทฤษฎีการเรียนรู้และการประยุกต์สู่การสอน 
 ทฤษฎีการเรียนรู้สร้างขึ้นจากพื้นฐานความเชื่อเกี่ยวกับธรรมชาติของการเรียนรู้ เช่น ทฤษฎี ในกลุ่มพฤติกรรมนิยมซึ่งนิยามการเรียนรู้ว่า เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ก็จะเน้นองค์ประกอบที่มี ต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ส่วนทฤษฎีกลุ่มพุทธินิยมที่นิยามการเรียนรู้ว่า เป็นกระบวนการคิดหรือ การพัฒนาทางสติปัญญา ก็จะเน้นที่กระบวนการคิดอย่างมีคุณภาพ  ดังนั้นในการน าเสนอทฤษฎีการ เรียนรู้ต่าง ๆ ที่คัดสรรว่ามีบทบาทต่อการประยุกต์สู่การออกแบบการเรียนการสอนที่จะกล่าวถึงในที่นี้ก็ จะกล่าวถึงองค์ประกอบของการเรียนรู้ กฎหรือหลักการพื้นฐานในการเรียนรู้ของทฤษฎีนั้นและการ ประยุกต์สู่การออกแบบการเรียนการสอน

  ทฤษฎีเกสตัลต์ (gestalt theory)  คำว่า “gestalt” เป็นคำศัพท์ในภาษาเยอรมัน หมายถึง รูปร่างหรือรูปแบบ (form or pattern) ทั้งที่เป็นส่วนย่อยและส่วนทั้งหมด นักทฤษฎีในกลุ่มนี้ศึกษาว่ามนุษย์รับรู้สิ่งที่เห็นอย่างไรและเข้าใจ ความสัมพันธ์ของส่วนทั้งหมดกับส่วนย่อยที่ประกอบกันเป็นส่วนทั้งหมดอย่างไร นอกจากนี้ยังเชื่อว่า บุคคลแต่ละคนตอบสนอง/รับรู้ ต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในลักษณะที่เป็นสถานการณ์เดียวกันมากกว่า การรับรู้แยกกันเป็นแต่ละเหตุการณ์ แนวความคิดหลักของทฤษฎีนี้คือ ส่วนรวมมิใช่เป็นเพียงผลรวมของ ส่วนย่อย ส่วนรวมเป็นสิ่งที่มากกว่าผลรวมของส่วนย่อย (the whole is more than the sum of the parts) (ทิศนา  แขมมณี, 2555, หน้า 60)

ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์ (Thorndike’s connectionism) ธอร์นไดค์ (Thorndike) เป็นผู้ค้นพบกฎการเรียนรู้จากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการ ตอบสนองโดยการกระทำอย่างมีเป้าหมาย จากผลงานการทดลองจับแมวใส่กรงที่มีสลักประตูปิดไว้ให้ แมวหาทางออกจากกรงเพื่อกินอาหาร โดยแมวจะต้องหาทางถอดสลักประตูให้ได้จึงจะได้กินอาหาร ซึ่ง จากการทดลองพบว่า ในระยะแรกแมวใช้วิธีลองถูกลองผิด (trial and error) และค้นพบวิธีถอดสลัก ประตูโดยบังเอิญทำให้ประตูเปิดและออกมากินอาหารได้ การทดลองในครั้งต่อ ๆ มา แมวใช้เวลา น้อยลงในการหาทางออกมากินอาหารได้ การทดลองนี้ทำให้สามารถตั้งกฎการเรียนรู้ที่สำคัญดังนี้ (Gredler, 1997, p. 24)

ทฤษฎีการเรียนรู้พุทธินิยมเชิงสังคม (social-cognitive learning theory) แบนดูรา (Bandura, 1977) ผู้พัฒนาทฤษฎีการเรียนรู้พุทธินิยมเชิงสังคม (social-cognitive learning theory) อธิบายว่า มนุษย์เรียนรู้การแสดงพฤติกรรมใหม่ผ่านการสังเกตพฤติกรรมของผู้อื่น หรือตัวแบบ (model) และผลที่ตามมาของพฤติกรรม ซึ่งเป็นสารสนเทศที่นำมาใช้ในการพิจารณาว่า พฤติกรรมอันใดได้รับการยอมรับให้ปฏิบัติ บุคคลก็จะใช้เป็นแนวทางสำหรับการแสดงพฤติกรรมใหม่ ของตนต่อไป  แบนดูรากล่าวถึง การเรียนรู้และการแสดงพฤติกรรมว่าเป็นเหตุการณ์ที่แยกกัน การเรียนรู้ ตามทัศนะของแบนดูราจึงแตกต่างจากการเรียนรู้ตามทัศนะของนักพฤติกรรมนิยมซึ่งมีความเห็นว่า การเรียนรู้คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างถาวร แต่ทัศนะของแบนดูราผู้ที่เรียนรู้พฤติกรรมใด หมายถึงการรับรู้และจดจำพฤติกรรมนั้นไว้ แต่อาจจะแสดงหรือไม่แสดงพฤติกรรมนั้นก็ได้

กิจกรรมที่ 3 : “สรุปสิ่งที่เรียนรู้ใหม่ โดยใช้ผังความคิด
กิจกรรมที่ 3.1 สรุปสิ่งที่เรียนรู้ สร้างแผนผังความคิดที่ดีงามและสร้างสรรค์ (20 นาที)*
เกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินคือ      ชื่อหัวข้อ + จินตนาการ + การออกแบบ + Concept
ของรูปภาพ + เนื้อหาสาระ    พี่จ๊าบขอแนะนำแหล่งศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการสร้างแผนผังความคิด คลิ๊กไปได้ที่ :http://www.si.mahidol.ac.th/th/division/soqd/admin/news_files/403_18_4.pdf

 กิจกรรมที่ 4 : “ประเมินความรู้ความเข้าใจ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อน

กิจกรรมที่ 4.1 ประเมินความรู้ความเข้าใจ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อน (ไม่จำกัด)*
“Hooray!!! ในที่สุด...คุณก็มาถึงจุดๆ นี้คือกิจกรรมสุดท้าย ขอแสดงความยินดีด้วยนะ ในการตรวจสอบพัฒนาการด้านความรู้ของเรา ว่าจะดีขึ้นมากน้อยขนาดไหน ให้นักศึกษาปฏิบัติตามดังนี้
1.     ให้ย้อนกลับไปดูกิจกรรมที่ 1 ทบทวนความรู้เดิมของเรา และดูกิจกรรมที่ 2 มา
เรื่อยๆ จนถึงกิจกรรมที่ 3  สรุปสิ่งที่เรียนรู้ใหม่ โดยใช้ผังความคิด และตอบคำถามต่อไปนี้ จากนั้นร่วมอภิปรายถึงกิจกรรมของตนเองที่ได้ศึกษาและเรียนรู้ ร่วมกันกับเพื่อนผ่านทาง Line, Facebook กันอย่างสนุกสนาน เฮฮา รื่นเริง ต้อนรับสงกรานต์

1) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประเด็นที่ทำการศึกษาในบทที่ 4 ก่อนและหลังการปฏิบัติกิจกรรม      การเรียนรู้แบบนำตนเอง (Self-directed Learning) จงอธิบาย?



คนที่ไม่รู้อะไรมากมายเกี่ยวกับเรื่องที่จะเรียน เฉื่อยบางครั้ง  ตั้งใจฟังบ้างไม่ฟังบ้าง
ค้นคว้าหาความรู้ปกติ ไม่รู้ก็ไม่ได้เดือดร้อนอะไร





คนที่มีควากระตือรือร้นในการค้นค้าหาความรู้และการทำงาน ตั้งใจฟังผู้สอน มีความรับผิดชอบต่อตนเองและส่วนรวมมากขึ้น

ฉันคนเดิม
ฉันคนใหม่

2) สิ่งที่ฉันได้เรียนรู้ในการปฏิบัติกิจกรรมนี้ คือ...เวลาเป็นสิ่งที่มีค่า ควรบริหารเวลาให้เหมาะสม ไม่ใช่เป็นคนรับความรู้อย่างเดียว ต้องหาคามรู้และเป้นผู้ให้กับตนเองและเพื่อนๆด้วย มีความรับผิดชอบ มสิตในการคิด คิดแบบเป้นเหตุเป้นผลเสมอ มีความรูมาขึ้นในเนื้อหาสาระการเรียน
ข้อดี   มีความกระตือรือร้นมากขึ้น  คิดอย่างมีเหตุผลและการทำงานให้เต็มที่  มีความรับผิดชอบต่อห้าที่ที่ตนพึงกระทำ
ข้อเสีย...เวลาอาจจะน้อยไปในการทำกิจกรรมที่ให้มาเยอะขนาดนี้..
3) ระยะเวลาที่ปฏิบัติกิจกรรมทั้งหมด .1. วัน ...3 ชั่วโมง....0นาที


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บทที่ ๓ รูปแบบการเรียนการสอน

บทที่ ๑ แนวคิดการออกแบบและการจัดการเรียนรู้

บทที่ ๒ วิธีการสอนและเทคนิคการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ