สัปดาห์ที่ 16 แบบทดสอบ 7 ชุด โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิจิตรา ธงพานิช
วิชา การออกแบบและการจัดการเรียนรู้ ประจำภาคเรียนที่ 2 / 2560
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิจิตรา ธงพานิช
คำชี้แจง : ให้นักศึกษาอ่านคำชี้แจงและปฏิบัติตามดังต่อไปนี้
1. มีทั้งหมด 10 ข้อ แบบอัตนัยและแบบปรนัย ให้นักศึกษาทำทุกข้อ
2. เขียนคำตอบโดยให้ใช้ปากกาสีน้ำเงิน สีดำ หรือสีแดงเท่านั้น
คำชี้แจง : ข้อ 1 จงตอบคำถามต่อไปนี้ และเขียนคำตอบลงในกระดาษคำตอบ
1. การออกแบบการสอน หมายความว่า
การออกแบบการเรียนการสอน ควรมีการวางแผนเพื่อพิจารณาว่าผู้เรียนเป็นใคร มีคุณลักษณะพื้นฐานอย่างไร กำหนดจุดมุ่งหมายในการสอนครั้งนั้นอย่างไร จะใช้วิธีการเรียนการสอนและกิจกรรมการเรียนรู้ และวิธีการประเมินผลการเรียนอะไรบ้าง จึงจะสามารถทำให้การสอนนั้นบรรลุเป้าหมาย คือ ภายหลังเรียนแล้วรู้ เข้าใจ จดจำ นำไปใช้ ทำได้ สร้างสรรค์ สิ่งใหม่ได้เป็นต้น ดังนั้นสิ่งที่ควรพิจารณาในการออกแบบการเรียนการสอน ได้แก่ ผู้เรียน วิธีการสอนและกิจกรรมการเรียนรู้ จุดมุ่งหมาย และการประเมิน
คำชี้แจง : ข้อ 2-3 ให้นักเรียน ทำเครื่องหมาย หน้าคำตอบที่ถูกต้องที่สุด
2. การออกแบบการเรียนการสอน มีจุดเริ่มต้นตั้งแต่ยุคสมัยใด?
ก. ยุคสงครามโลกครั้งที่ 1 (World War I) ในช่วงปี ค.ศ. 1914-1918
ข. ยุคสงครามโลกครั้งที่ 1 (World War I) ในช่วงปี ค.ศ. 1924-1928
ค. ยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 (World War II) ในช่วงปี ค.ศ. 1929-1945
ง. ยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 (World War II) ในช่วงปี ค.ศ. 1939-1945
จ. ผิดทุกข้อ
3. ในยุคแรกๆ การสอนมีลักษณะของการถ่ายทอดความรู้ ความคิด ความเชื่อ ทักษะและเจตคติ ในยุคนั้น การสอนในช่วงนี้จึงมีลักษณะ เป็นศิลป์มากกว่าศาสตร์ คำศัพท์ที่ใช้ในช่วงนี้ คืออะไร?
ก. “การครอบงำ” (indoctrination), “การเรียนการสอน” (instruction)
ข. “ศิลป์” (art), “ศาสตร์” (science), “การสอน” (teaching)
ค. “การครอบงำ” (indoctrination), “การปลูกฝัง” (inculcation)
ง. “การปลูกฝัง” (inculcation), “การสอน” (teaching)
จ. “ศิลป์” (art), “ทฤษฏี” (theory), “การสอน” (teaching)
คำชี้แจง : ข้อ 4-8 จงจับคู่คำศัพท์กับความหมายในข้อ ก-ซ ให้ถูกต้อง โดยเติมหน้าคำศัพท์ในช่องว่างที่กำหนดให้
.............จ............ 4. การศึกษา
...............ซ........... 5. การฝึกอบรม
.................ฉ......... 6. การกวดวิชา
....................ง....... 7. การชี้แนะ
...................ก.... 8. การนิเทศ
ความหมาย
ก. การสอนเป็นรายบุคคล โดยผู้สอนทำหน้าที่สาธิตและกำกับ การปฏิบัติของผู้เรียน ให้คำชี้แนะเพื่อ ปรับปรุงแก้ไขการปฏิบัติของผู้เรียนจนผู้เรียนประสบความสร็จ
ข. ประสบการณ์การเรียนรู้ที่ไม่เจาะจง มีการวางแผนอย่างเป็นระบบ ผสมผสานทฤษฏีอย่างเป็นทางการ
ค. การฝึกประสบการณ์ทั่วไปของผู้เรียน เช่น การฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู การไปศึกษาดูงาน เป็นต้น
ง. ประสบการณ์การเรียนรู้ที่ไม่เจาะจง ส่วนใหญ่มิได้มีการวางแผน เกิดขึ้นอย่างไม่เป็นทางการ
จ. การศึกษานอกสถานที่เพื่อเรียนรู้และแสวงหาประสบการณ์ใหม่ ๆ ที่คาดหวังว่าจะสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในหน่วยงานหรืองานในหน้าที่ของแต่ละบุคคลได้
ฉ. การสอนซ่อมเสริมเพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ ในจุดที่เป็นปัญหาหรือเป็นความต้องการของผู้เรียน
ช. ประสบการณ์การเรียนรู้ที่มีโครงสร้างเฉพาะเพื่อพัฒนาทักษะเฉพาะ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ทันที
ซ. คำศัพท์ที่มักนิยมใช้ในวงวิชาชีพ เช่น ในวงการศึกษามีศึกษานิเทศก์ ในวงการธุรกิจเป็นต้น
คำชี้แจง : ข้อ 9-10 จงตอบคำถามต่อไปนี้ และเขียนคำตอบลงในกระดาษคำตอบ
9. การออกแบบการเรียนการสอน มีประโยชน์ต่อบุคคลที่กำหนดให้อย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ผู้บริหาร
การเรียนการสอนมีความมั่นใจในการประสิทธิภาพ และ ประสิทธิผลของการเรียนโดยใช้งบ ประมาณประหยัดที่สุด
ครูผู้สอน
ต้องการที่จะเห็นผู้เรียนได้รับความรู้ ความสามารถอื่น ๆ ที่จำเป็นรวมทั้งต้องการมีความสำเร็จความสัมพันธ์กับผู้เรียน
นักเรียน
ได้รับประสบการณ์การเรียนด้วยความสนุกสนานและพอใจ
10. ท่านคิดว่า การออกแบบการเรียนการสอน มีประโยชน์ต่อบุคคลใดมากที่สุด (จากข้อ 9) เพราะเหตุใด จงอธิบาย
นักเรียนเพราะ ทำให้ประสบผลสำเร็จในการเรียนและทำให้ประสิทธิภาพในการเรียนรู้ส่งเสริมให้เกิดการเรียนที่ตรงตามเป้าหมาย
ชื่อ-นามสกุล นายชนปฏิวัติ น้อยนาง รหัสนักศึกษา 593150310559
สาขาวิชาภาษาอังกฤษ ห้อง 2
คำคมฝากคิด “If you can’t explain it simply, you don’t understand it well enough.”
“ถ้าคุณไม่สามารถอธิบายสิ่งใดให้ผู้อื่นเข้าใจได้โดยง่าย นั่นหมายความว่าตัวคุณเองยังไม่เข้าใจมันดีพอ” #อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์
วิชา การออกแบบและการจัดการเรียนรู้ ประจำภาคเรียนที่ 2 / 2560
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิจิตรา ธงพานิช
คำชี้แจง : ให้นักศึกษาอ่านคำชี้แจงและปฏิบัติตามดังต่อไปนี้
1. มีทั้งหมด 10 ข้อ แบบอัตนัยและแบบปรนัย ให้นักศึกษาทำทุกข้อ
2. เขียนคำตอบโดยให้ใช้ปากกาสีน้ำเงิน สีดำ หรือสีแดงเท่านั้น
คำชี้แจง : ข้อ 1-4 อ่านข้อความต่อไปนี้ จากนั้นให้ทำเครื่องหมาย P หน้าข้อความที่เป็นจริง และทำเครื่องหมาย χ หน้าข้อความ
ที่ไม่เป็นจริง
………P …… 1. ผู้ออกแบบการสอนควรเลือกใช้สื่อที่ช่วยให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้
และความแตกต่างในการเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนมีความสนใจและกระตือรือร้นในการเรียนมากขึ้น
……… χ …… 2. Jean Piaget (1963) เป็นผู้นำเสนอแนวคิดทางพุทธิปัญญา (Cognitive Theories) มาใช้ในการออกแบบการสอน
โดยมีแนวคิดหลักคือ “ศึกษาความเข้าใจ (Understand) ที่เกิดขึ้นในจิตใจ (Mind)”
…… χ ……… 3. ไทเลอร์ (Raph W. Tyler) ได้ตั้งคำถามพื้นฐาน 3 ประการของรูปแบบการออกแบบการสอนที่เขาได้พัฒนาขึ้น คือ
1) “เรากำลังจะไปไหน (อะไรคือเป้าหมายของการเรียนการสอน)”, 2) เราจะบรรลุเป้าหมายได้อย่างไร (อะไรคือ
กลยุทธ์และสื่อกลาง) และ 3) เราจะรู้ได้อย่างไรว่าบรรลุเป้าหมายแล้ว (เครื่องมือการประเมินเป็นอย่างไร)
....... χ........ 4. ในการออกแบบการเรียนการสอน ผู้ออกแบบการสอนควรมีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมกระบวนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยมากกว่ากระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน
คำชี้แจง : ข้อ 5-8 ให้นักเรียน ทำเครื่องหมาย หน้าคำตอบที่ถูกต้องที่สุด
5. ขั้นตอนการออกแบบการสอนตามแนวคิดของ ADDIE MODEL มีกี่ขั้นตอน? และมีขั้นตอนอะไรบ้าง?
ก. 4 ขั้นตอน คือ Analysis, Design, Development, Evaluation
ข. 5 ขั้นตอน คือ Analysis, Development, Design, Improvement, Evaluation
ค. 5 ขั้นตอน คือ Analysis, Development, Design, Implementation, Evaluation
ง. 5 ขั้นตอน คือ Analysis, Design, Development, Improvement, Evaluation
จ. 5 ขั้นตอน คือ Analysis, Design, Development, Implementation, Evaluation
6. ข้อใด ไม่ใช่ กิจกรรมในขั้นการวิเคราะห์ (Analysis) ของการออกแบบการสอนตามแนวคิด ADDIE MODEL
ก. การวิเคราะห์ระบบ สิ่งแวดล้อม และสภาพขององค์กร เพื่อพิจารณาถึงทรัพยากรและอุปสรรค
ข. การศึกษาลักษณะของกลุ่มประชากร
ค. การคัดเลือกสื่อการเรียนการสอน
ง. การวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการในการเรียนการสอนหรือการฝึกอบรม
จ. การวิเคราะห์เป้าหมายและจุดประสงค์ว่าเป็นการเรียนรู้ในลักษณะใด เช่น การเรียนรู้ เนื้อหา การเรียนรู้ทักษะ เป็นต้น
7. ข้อใดกล่าว ถูกต้อง เกี่ยวกับการออกแบบการสอนตามแนวคิดของคอนสตัคติวิสต์ (Constructivist)
ก. แนวคิดนี้ให้ความสำคัญกับการสร้างการเรียนรู้ (Learning Constructed) โดยเป็นการที่ผู้เรียนได้ลงมือกระทำจากตัว
ผู้เรียนเองเป็นอย่างมาก
ข. รูปแบบการเรียนการสอนแบบร่วมมือ (Co-operative Learning) ไม่ควรนำมาใช้ในการออกแบบการสอนตามแนวคอน
สตัคติวิสต์เนื่องจากต้องเป็นรูปแบบการสอนที่การสร้างความรู้ด้วยตนเองเท่านั้น
ค. แนวคิดนี้เกิดขึ้นจากแนวคิดทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของ Robert Gagne (1896 - 1980) และทฤษฏี
Cognitivism ของ David Ausubel. (1963)
ง. ปัจจุบันแนวคิดนี้ไม่ได้รับความสนใจจากนักวิชาการและนักออกแบบการสอนทั่วโลกเนื่องจากว่าความเจริญทางเทคโนโลยี
สามารถช่วยการเรียนรู้ของผู้เรียนได้มากขึ้น ทำให้นักการศึกษามุ่งความสนใจไปยังการพัฒนาสื่อการสอนให้ทันสมัย
มากกว่าการออกแบบการสอน
จ. ถูกทั้งข้อ ก และ ค
8. ข้อใดกล่าวถึงบทบาท และสมรรถภาพของผู้ออกแบบการสอน
ก. ทักษะในการสกัดและดูดซึมสารสนเทศ เป็นอีกทักษะหนึ่งที่จำเป็นในการปฏิบัติการของผู้ออกแบบการเรียนการสอน
ข. ผู้ออกแบบการเรียนการสอนควรเป็นผู้ที่มีความสามารถในการคิดทั้งในเชิงรูปธรรมและนามธรรม
ค. บทบาทของผู้ออกแบบการสอนสามารถเปลี่ยนแปลงได้ ถ้ามีเนื้อหาที่ต้องใช้เทคนิคสูง ผู้ออกแบบจำเป็นต้องมีคำแนะนำ
ในการออกแบบจากผู้ชำนาญการด้านเนื้อหา (content expert)
ง. ผู้ออกแบบการเรียนการสอนจำเป็นต้องมีกระบวนการทางเชาว์ปัญญาทางความคิดในระดับสูง
จ. ถูกทุกข้อ
คำชี้แจง : ข้อ 9-10 จงอ่านบทความต่อไปนี้
เราต่างทราบกันดีว่า ปัญหาหลักของการออกแบบการสอนมีหลายประการ ดังเช่น
1) ปัญหาด้านทิศทาง (Direction)
2) ปัญหาด้านการวัดผล (Evaluation)
3) ปัญหาด้านเนื้อหาและการลำดับเนื้อหา (Content and Sequence)
4. ปัญหาด้านวิธีการ (Method)
5) ปัญหาข้อจำกัดต่าง ๆ (Constraint) เป็นต้น
9. จงอธิบายปัญหาหลักของการออกแบบการสอน จำนวน 2 หัวข้อ
1. ปัญหาด้านเนื้อหาและการเรียงลำดับเนื้อหา หาเนื้อไม่ครบทุกด้านและเนื้อหาเยอะเกินไปจนเรียงไม่ถูก
2. วิธีการ ไม่รู้จะใช้วิธีใดให้เหใสมกับเนื้อหาที่จะสอนเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการสอน
10. ท่านคิดว่า ปัญหาหลักของการออกแบบการสอน ปัญหาด้านใดที่ส่งผลด้านลบต่อนักเรียนไทยมากที่สุด (จากข้อ 7) เพราะเหตุใด จงอธิบาย
ด้านเนื้อหา หากครูมีเนื้อหา หรือข้อมูลที่ไม่เพื่อพอและไม่ถูกต้องอาจจะทำให้นักเรียนรับข้อมูลไม่ครบและยังรับข้อมูลที่ผิดพลาด
ชื่อ-นามสกุล นายชนปฏิวัติ น้อยนาง รหัสนักศึกษา 593150310559
สาขาวิชาภาษาอังกฤษ ห้อง 2
*คำคมฝากคิด “Stay Hungry, Stay Foolish”
-Steve Jobs-
“จงกระหาย และ ทำตัวให้โง่ตลอดเวลา”
#สตีฟ จอบส์- (ผู้นำธุรกิจและนักประดิษฐ์ชาวอเมริกัน)
วิชา การออกแบบและการจัดการเรียนรู้ ประจำภาคเรียนที่ 2 / 2560
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิจิตรา ธงพานิช
คำชี้แจง : ให้นักศึกษาอ่านคำชี้แจงและปฏิบัติตามดังต่อไปนี้
1. มีทั้งหมด 10 ข้อ ข้อละ 1 คะแนน แบบอัตนัยและแบบปรนัย ให้นักศึกษาทำทุกข้อ
2. เขียนคำตอบโดยให้ใช้ปากกาสีน้ำเงิน สีดำ หรือสีแดงเท่านั้น
คำชี้แจง : ข้อ 1-4 จงเติมคำในช่องว่างต่อไปนี้ให้ถูกต้อง ช่องละ 1 ตัวเลือก โดยพิจารณาจากตัวเลือกในกล่องข้อความดังนี้
หวัดดี ผึ้งน้อยอยากบอกว่าพิจารณาดีๆ นะจ๊ะ!
วิธีการสอนแสดงบทบาท วิธีการสอนแบบอภิปราย
จอห์น ดิวอี้ 4MAT วิธีสอนแบบ Storyline
Edward De Bon CIPPA MODEL
1. กิจกรรมการสอนเพื่อพัฒนาความคิด โดยมีลักษณะที่โดดเด่นคือ “หมวก” ที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้พยายามคิดทั้งจุดดี จุดเด่น จุดด้อย จุดที่สนใจ แทนที่จะยึดความคิดเพียงด้านเดียว พัฒนาขึ้นโดย........................ Edward De Bon....... และเราเรียกเทคนิคการสอนนี้ว่า “หมวกแห่งความคิด” หรือ “หมวก 6 ใบ” (The six thinking hats)
2. …วิธีการสอนแสดงบทบาท.......เป็นการสอนที่ฝึกให้ผู้เรียนได้มีความกล้าแสดงออก โดยสมมติขึ้นเทียบเคียงกับสภาพที่เป็นจริงหรือความคิดว่าควรจะเป็น เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้ ความเข้าใจในสิ่งที่เกิดขึ้นและเป็นการผ่อนคลายอารมณ์ตึงเครียดของผู้เรียนเช่นกัน
3. การสอนที่มีกิจกรรม 4 ขั้นตอน โดยใช้สอนกับผู้เรียนที่มีความแตกต่างระหว่างบุคคล คือ ขั้นที่ 1 Why (ทำไม) ขั้นที่ 2 (What) อะไร ขั้นที่ 3 (How) ทำอย่างไร และขั้นที่ 4 (If) ถ้า.... เราเรียกการสอนแบบนี้ว่า.... 4MAT..............
4. .........วิธีสอนแบบ Storyline................. เป็นการสอนแบบบูรณาการโดยดึงเอาแนวคิดจากวิชาต่างๆ เช่น ศิลปะ ภาษา สังคมศึกษา วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ โดยใช้กระบวนการที่หลากหลายมาแก้ปัญหาและมีกิจกรรมหลายๆ รูปแบบ โดยให้ผู้เรียนปฏิบัติด้วยตนเองและตอบสนองความแตกต่างของผู้เรียนโดยคำนึงถึงประสบการณ์และทักษะเดิม มีการเรียนรู้ในหลายลักษณะ เช่น การทำงานเป็นทีม เรียนรายบุคคล เรียนแบบกลุ่มใหญ่และเน้นการทำงานแบบร่วมมือ (Co-operative)
คำชี้แจง : ข้อ 5-7 อ่านข้อความต่อไปนี้ จากนั้นให้ทำเครื่องหมาย P หน้าข้อความที่เป็นจริง และทำเครื่องหมาย χ หน้าข้อความ
ที่ไม่เป็นจริง
……P……… 5. การเรียนแบบร่วมมือ (Co-operative Learning) คือการเรียนรู้ที่เกิดจากด้านกระบวนการกลุ่ม ด้านการสื่อสาร ความ
รับผิดชอบการเรียนรู้ของตนและเพื่อนๆ ในกลุ่ม รวมถึงทักษะทางสังคมและการแก้ปัญหาอีกด้วย
…… χ ……… 6. รูปแบบการสอบแบบการอภิปรายกลุ่มย่อย (Small-Group Discussion) มีทักษะหรือพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องอยู่ 2
ประการคือ 1) ทักษะการคิด และ 2) การจัดระบบการคิด โดยบทบาทผู้เรียนจะเน้นการจัดระบบความคิดของตนให้
ชัดเจน เห็นถึงความสัมพันธ์ในสิ่งต่างๆ
…… χ … 7. การจัดการสอนที่ใช้เทคโนโลยี เช่น บทเรียนสำเร็จรูป, คอมพิวเตอร์ช่วยสอน, Mobile Learning ไม่ถือว่าเป็นส่วนหนึ่ง ของรูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เพราะเน้นการศึกษาด้วยตนเองมากเกินไป
ข้อ 8-9 ให้นักเรียน ทำเครื่องหมาย หน้าคำตอบที่ถูกต้องที่สุด
8. ข้อใดกล่าว ไม่ถูกต้อง กับกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอนแบบ CIPPA MODEL
ก. Construct คือกิจกรรมที่เน้นให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเองตามแนวคิด Constructivism
ข. Interaction คือ การปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน ผู้เรียนกับผู้เรียน ผู้เรียนกับสื่อและสิ่งแวดล้อมรอบตัว
ค. Physical Participation คือ การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ของผู้เรียนกับสถานการณ์ต่างๆ ที่อยู่รอบตัว
ง. Process Learning คือการเรียนรู้กระบวนการต่างๆ ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต
จ. ข้อ ก และ ข ถูกต้อง
9. จงอ่านบทความต่อไปนี้ และพิจารณาว่าบทความต่อไปนี้เป็นวิธีการสอนแบบใด
“เป็นวิธีการสอนที่ใช้เรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นจริงมาดัดแปลง และใช้เป็นตัวอย่างในการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้
วิเคราะห์และอภิปรายเพื่อสร้างความเข้าใจ และฝึกฝนหาทางแก้ปัญหา”
ก. วิธีสอนโดยใช้เกม (Game)
ข. วิธีสอนแบบสถานการณ์จำลอง (Simulation)
ค. วิธีสอนโดยการทดลอง (Experiment)
ง. วิธีสอนโดยใช้การนิรนัย (Deduction)
จ. วิธีสอนโดยกรณีศึกษา (Case Study)
คำชี้แจง : ข้อ 10 ให้นักศึกษาพิจารณาวิธีสอนและเทคนิคการสอนในหัวข้อ 1-8 ดังต่อไปนี้ แล้วเลือกมา 1 หัวข้อที่ท่านชื่นชอบ และตอบคำถามต่อไปนี้
1. วิธีสอนแบบบทบาทสมมติ (Role Playing)
|
5. วิธีสอนโดยการทดลอง (Experiment)
| |
2. วิธีสอนโดยกรณีศึกษา (Case Study)
|
6. วิธีสอนโดยใช้การนิรนัย (Deduction)
| |
3. วิธีสอนโดยใช้เกม (Game)
|
7. วิธีสอนโดยใช้การอุปนัย (Induction)
| |
4. วิธีสอนแบบสถานการณ์จำลอง (Simulation)
|
8. เทคนิคการใช้คำถาม
|
10. วิธีสอน/เทคนิคการสอน ที่นักศึกษาเลือก คือ วิธีสอนโดยใช้เกม (Game).
ท่านคิดว่า ข้อดีและข้อจำกัดของเทคนิคการสอนที่เลือกมา มีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ข้อดี
- เป็นวิธีสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้สูง ผู้เรียนได้รับความสุกสนานและเกิดการเรียนรู้จากการเล่น
- เป็นวิธีสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ โดยการเห็นประจักษ์แจ้งด้วยตนเอง ทำให้การเรียนรู้นั้นมีความหมายและอยู่คงทน
- เป็นวิธีสอนที่ผู้สอนไม่เหนื่อยแรงมากขณะสอนและผู้เรียนชอบ
ข้อจำกัด
- เป็นวิธีสอนที่ใช้เวลามาก
- เป็นวิธีสอนที่มีค่าใช้จ่าย เนื่องจากเกมบางเกมต้องซื้อหามาโดยเฉพาะเกมจำลองสถานการณ์บางเกมมีราคาสูงมาก
- เป็นวิธีสอนที่ขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้สอน ผู้สอนจำเป็นต้องมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการสร้างเกม จึงจะสามารถสร้างได้
- เป็นวิธีสอนที่ต้องอาศัยการเตรียมการมาก
- เป็นวิธีสอนที่ผู้สอนต้องมีทักษะในการนำอภิปรายที่มีประสิทธิภาพ จึงจะสามารถช่วยให้ผู้เรียนประมวลและสรุปการเรียนรู้ได้
ตามวัตถุประสงค์
ตามวัตถุประสงค์
ชื่อ-นามสกุล นายชนปฏิวัติ น้อยนาง รหัสนักศึกษา 593150310559
สาขาวิชาภาษาอังกฤษ ห้อง 2
*คำคมฝากคิด “Educating the mind without educating, the heart is NO education at all.”
-Aristotle-
“ให้ความรู้แก่สมอง โดยที่หัวใจปราศจากการเรียนรู้ มีค่าเท่ากับการไม่ได้เรียนรู้อะไรเลย.”
-อริสโตเติล-
วิชา การออกแบบและการจัดการเรียนรู้ ประจำภาคเรียนที่ 2 / 2560
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิจิตรา ธงพานิช
คำชี้แจง : ให้นักศึกษาอ่านคำชี้แจงและปฏิบัติตามดังต่อไปนี้
1. มีทั้งหมด 10 ข้อ แบบอัตนัยและแบบปรนัย ให้นักศึกษาทำทุกข้อ
2. เขียนคำตอบโดยให้ใช้ปากกาสีน้ำเงิน สีดำ หรือสีแดงเท่านั้น
คำชี้แจง : ข้อ 1-4 จงพิจารณาความหมายในแต่ละตัวเลือก A-E ต่อไปนี้ แล้วจับคู่กับคำศัพท์โดยเติมอักษรในช่องว่างที่กำหนดให้
..........D........... 1. ผังมโนทัศน์ (A Concept Map)
|
.........E............ 2. ผังความคิด (A Mind Map)
|
..........A........... 3. ผังใยแมงมุม (A Spider Map)
|
............C......... 4. ผังก้างปลา (A Fishbone Map)
|
A. เป็นการแสดงมโนทัศน์โดยเขียนความคิดรวบยอดหลักที่สำคัญไว้ตรงกึ่งกลางหน้ากระดาษแล้วเขียนคำอธิบายหรือบอกลักษณะของความคิดรองลงไปไว้ในลักษณะของใยแมงมุม B. เป็นการนำเสนอมโนทัศน์โดยการเขียนเป็นตารางเพื่อเปรียบเทียบของสองสิ่งหรือสองเรื่องขึ้นไปในประเด็นที่กำหนด C. เป็นการแสดงมโนทัศน์โดยเขียนความคิดรวบยอดหลักไว้ตรงกลาง และแสดงความสัมพันธ์ระหว่างมโนทัศน์ใหญ่ละย่อยด้วยเส้นเชื่อมโยง D. เป็นผังที่แสดงสาเหตุของปัญหาซึ่งมีความซับซ้อน ช่วยให้เห็นถึงสาเหตุหลักและสาเหตุย่อยอย่างชัดเจน E. เป็นการแสดงความสัมพันธ์ของสาระหรือความคิดต่างๆ ในภาพรวม โดยใช้เส้น คำ สี เครื่องหมาย ภาพและรูปทรงต่างๆ แสดงความหมายหรือความเชื่อมโยงของสาระหรือความคิดนั้นๆ
คำชี้แจง : ข้อ 5 จงพิจารณาตารางต่อไปนี้แล้วตอบคำถามโดยทำเครื่องหมาย ¡ หน้าคำตอบที่ถูกต้องที่สุด
รู้อะไรบ้างจากคำว่า
“เรื่องของนก”
|
ต้องการรู้อะไรจากเรื่อง “เรื่องของนก”
|
รู้อะไรบ้างจากการอ่านเรื่อง“เรื่องของนก”
|
จะหาความรู้เพิ่มเติม
โดยวิธีใด |
- นก เป็นสัตว์มีปีกที่ปรากฏตัวเป็นเวลา ยามเช้าออกหาอาหาร พอพลบค่ำก็โบยบินกลับรัง
- นกเป็นศัพท์ในแวดวงเพศทางเลือกชอบใช้ - ฯลฯ |
- คำว่า “นก” มีความหมายว่าอะไร
- มีความหมายอื่นหรือไม่
- เพศอื่นๆ ชอบใช้คำนี้หรือไม่
|
- นก เป็นคำกิริยา แปลว่า แห้ว ผู้ชายหลุดมือ
- ความหมายอื่นคือ ใช้เมื่อขั้นตอนการสนทนาคบหาดูใจ แต่ในที่สุดก็มีเหตุการณ์ที่ทำให้เป้าหมายตกใจหายไป
- ผู้หญิงสามารถใช้คำนี้ได้
|
- งานวิจัยทางภาษาที่พูดถึง เพศวิถี (Sexuality)
- อินเตอร์เน็ต
- หนังสือ
- บุคคลที่เป็นเพศทางเลือก
- ฯลฯ
|
5. จากตารางดังกล่าว เป็นการจัดการเรียนรู้ตามวิธีสอนแบบใด
ก. การจัดการเรียนรู้แบบ KWL
ข. การจัดการเรียนรู้แบบ KWL-PLUS
ค. การจัดการเรียนรู้แบบ KWDL
ง. การจัดการเรียนรู้แบบ KWHL
จ. การจัดการเรียนรู้แบบ KWLH
คำชี้แจง : ข้อ 6 จงตอบคำถามต่อไปนี้
6. หลักการพื้นฐานของการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ คือ
การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ก็คือการจัดการเรียนรู้ที่คำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของผู้เรียน โดยครูผู้สอนหรือผู้จัดการเรียนรู้ พยายามหารูปแบบวิธีการที่เหมาะสมกับผู้เรียนที่จะให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาและเกิดการเรียนรู้ได้มากที่สุด
คำชี้แจง : ข้อ 7-10 ให้นักศึกษาอ่านคำถามต่อไปนี้ และทำเครื่องหมาย ¡ หน้าคำตอบที่ถูกต้องที่สุด
7. ข้อใดเป็นลักษณะการจัดการเรียนรู้โดยครูสมัยเก่า
ก. มุ่งเน้นการประเมินกระบวนการเป็นสำคัญ
ข. ทำให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม (PARTICIPATION) อย่างตื่นตัว (ACTIVE)
ค. เน้นย้ำประสบการณ์ใหม่เพียงเล็กน้อย
ง. มุ่งเน้นความรู้ทางวิชาการและทักษะด้านจิตพิสัยเท่าเทียมกัน
จ. ข้อ ค และ ข้อ ง
8. ข้อใดเป็นลักษณะการจัดการเรียนรู้โดยครูสมัยใหม่
ก. เคร่งครัดกับมาตรฐานทางวิชาการมาก
ข. มุ่งเน้นการทำงานแบบร่วมใจ
ค. มุ่งเน้นการแข่งขันทางความรู้ความจำมากกว่าทักษะ
ง. มุ่งเน้นการประเมินกระบวนการเป็นสำคัญ
จ. ข้อ ข และ ข้อ ง
9. ข้อใด ไม่ใช่ ตัวบ่งชี้ที่บอกถึงลักษณะการเรียนรู้ของผู้เรียนในขอบข่ายการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ก. การเรียนรู้อย่างมีความสุข
ข. การเรียนรู้จากการได้คิดและลงมือปฏิบัติจริง
ค. การเรียนรู้จากการปฏิบัติเชิงความจำ (RECOGNITION PRACTICE)
ง. การเรียนรู้ด้วยกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง
จ. การเรียนรู้แบบองค์รวมหรือบูรณาการ
คำชี้แจง : ข้อ 10 อ่านข้อความข้างต้นและตอบคำถามต่อไปนี้
มีนักวิชาการกล่าวไว้ว่า “การศึกษา คือ การพัฒนาประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียนหลายๆ ด้านพร้อมกัน การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเป็นจุดเริ่มของการพัฒนาผู้เรียนหลายๆ ด้าน เช่น คุณลักษณะด้านความรู้ ความคิด ด้านการปฏิบัติ และด้านอารมณ์ความรู้สึกจะได้รับการพัฒนาไปพร้อมๆ กัน”
10. จากข้อความข้างต้น ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับข้อความดังกล่าว จงให้เหตุผลประกอบ
เห็นด้วย เพราะ การศึกษาต้องพัฒนาบุคคลให้มีความรู้ในทุกๆด้าน ดังนั้นการเรียนการสอนที่พัฒนาหลายด้านพร้อมกันเป็นผลดีต่อนักเรียน
ชื่อ-นามสกุล นายชนปฏิวัติ น้อยนาง รหัสนักศึกษา 593150310559
สาขาวิชาภาษาอังกฤษ ห้อง 2
*คำคมฝากคิด "BOOKS ARE THE QUIETEST AND MOST CONSTANT OF FRIENDS;
THEY ARE THE MOST ACCESSIBLE AND WISEST OF COUNSELLORS,
AND THE MOST PATIENT OF TEACHERS."
#CHARLES WILLIAM ELIOT
"หนังสือเป็นเพื่อนที่เงียบและมั่นคงมากที่สุด
เป็นที่ปรึกษาที่เข้าถึงได้ง่ายและรอบรู้ที่สุด
และเป็นครูที่อดทนที่สุด"
ชาร์ล วิลเลียม อีเลียต (CHARLES WILLIAM ELIOT)
อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
วิชา การออกแบบและการจัดการเรียนรู้ ประจำภาคเรียนที่ 2 / 2560
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิจิตรา ธงพานิช
คำชี้แจง : ให้นักศึกษาอ่านคำชี้แจงและปฏิบัติตามดังต่อไปนี้
1. ข้อสอบมีทั้งหมด 10 ข้อ แบบอัตนัยและแบบปรนัย ให้นักศึกษาทำทุกข้อ
2. เขียนคำตอบโดยให้ใช้ปากกาสีน้ำเงิน สีดำ หรือสีแดงเท่านั้น
คำชี้แจง : ข้อ 1 จงตอบคำถามต่อไปนี้ และเขียนคำตอบลงในกระดาษคำตอบ
1. การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ หมายถึง.......
วิธีการสำคัญที่สามารถสร้างและพัฒนาผู้เรียน ให้เกิดคุณลักษณะต่างๆ ที่ต้องการในยุคโลกาภิวัตน์เนื่องจากเป็นการจัดการเรียนการสอนที่ให้ความ สำคัญกับผู้เรียน ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักเรียนรู้ด้วยตนเอง เรียนในเรื่องที่สอดคล้องกับความสามารถและความต้องการของตนเองและได้พัฒนา ศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่ ซึ่งแนวคิดการ จัดการศึกษานี้เป็นแนวคิดที่มีรากฐานจากปรัชญาการศึกษาและทฤษฎีการเรียนรู้ ต่าง ๆ และเป็นแนวทางที่ได้รับการพิสูจน์ว่าสามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะตาม ต้องการอย่างได้ผล
คำชี้แจง : ข้อ 2-5 ให้นักเรียน ทำเครื่องหมาย ¡ หน้าคำตอบที่ถูกต้องที่สุด
2. ข้อใดกล่าว ไม่ถูกต้อง เกี่ยวกับการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem-based Learning)
ก. เป็นกิจกรรมการสอนแบบเน้นกิจกรรมการสอนเป็นหลัก
ข. เป็นการจัดการเรียนการสอนโดยให้ผู้เรียนระบุปัญหาที่ต้องการเรียนรู้ โดยผู้เรียนจะคิดวิเคราะห์ปัญหา ตั้งสมมุติฐานและหาทางทดสอบสมมุติฐานที่ตั้งไว้
ค. บทบาทของผู้สอนอีกหนึ่งประการคือจะต้องนำปัญหาที่เป็นความจริงมาเขียนเป็นกรณีศึกษาหรือสถานการณ์ให้กับผู้เรียน
ง. บทบาทของผู้เรียนประการหนึ่งคือ การสรุปผลการเรียนรู้และหลักการที่ได้จากการศึกษาปัญหา
จ. ผู้เรียนจะได้เรียนด้วยกันเป็นกลุ่มๆ ประมาณ 6-8 คน โดยให้แต่ละคนต่างค้นคว้าหาคำตอบให้กลุ่มตนเองโดยไม่ต้องมี การอภิปรายกลุ่ม
3. ข้อใดกล่าว ไม่ถูกต้อง เกี่ยวกับการสอนแบบนิรมิตวิทยา (Constructivism)
ก. เป็นการจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ใหม่ของตนเองโดยเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิมที่ผู้เรียนมีอยู่แล้ว
ข. บทบาทหนึ่งของผู้สอนจะทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือในการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนได้ตรวจสอบความรู้ใหม่ได้ถูกต้อง
ค. การสอนวิธีนี้จะมีกิจกรรมเกี่ยวกับการระดมสมอง การแสดงความคิดเห็น และกิจกรรมที่ผู้เรียนจะต้องลงมือปฏิบัติเพื่อสร้างความรู้ใหม่ที่เกี่ยวกับเนื้อหาที่เรียน
ง. เป็นกิจกรรมการสอนแบบเน้นสื่อการเรียนการสอนเป็นหลัก เช่น E-Learning, CAI, โปรแกรมสำเร็จรูป เป็นต้น
จ. ขั้นตอนของการจัดการเรียนการสอนวิธีนี้ มี 5 ขั้น คือ
1) การปฐมนิเทศ 2) กระตุ้นให้เกิดความคิด 3) สร้างความรู้ใหม่
4) ทดลองใช้ความรู้ใหม่ และ 5) การทบทวนความรู้ใหม่
4. ข้อใดกล่าว ถูกต้อง กับลักษณะของการประเมินตามสภาพจริง
ก. เน้นการพัฒนาจุดเด่นของผู้เรียน
ข. มีเครื่องมือในการวัดและประเมินผลที่หลากหลายซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการประเมิน
ค. เน้นการประเมินด้านความคิด เน้นความคิดเชิงวิเคราะห์ สังเคราะห์
ง. การประเมินสามารถทำได้ตลอดเวลาทุกสภาพการณ์โดยสามารถดำเนินการไปพร้อมๆ กับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
จ. ถูกทุกข้อ
5. เครื่องมือประเภทใดที่ทำหน้าที่ในการรวบรวมตัวอย่างและหลักฐานที่แสดงถึงผลสัมฤทธิ์ ความสามารถ ความพยายาม หรือความถนัดของบุคคลหรือประเด็นสำคัญที่ต้องเก็บไว้อย่างเป็นระบบ
ก. แบบทดสอบ
ข. แบบสังเกต
ค. แบบสัมภาษณ์
ง. แบบบันทึกความรู้สึก และแบบบันทึกความคิด
จ. แฟ้มสะสมงาน
คำชี้แจง : ข้อ 6-8 อ่านข้อความต่อไปนี้ จากนั้นให้ทำเครื่องหมาย P หน้าข้อความที่เป็นจริง และทำเครื่องหมาย χ หน้าข้อความ
ที่ไม่เป็นจริง
…… χ… 6. การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เกิดขึ้นจากพื้นฐานความเชื่อที่ว่าผู้เรียนก็คือดวงจิตเล็กๆ และประกอบด้วยระบบประสาทสัมผัส ครูคือต้นแบบที่ดีที่มีความรู้จึงจำเป็นต้องทำหน้าที่อบรมสั่งสอนนักเรียนโดยการแสดงการสาธิต หรือเป็นนักสาธิตให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และเห็นอย่างจริงจัง
……P……… 7. บุคคลที่เกี่ยวข้องและมีบทบาทสำคัญในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ คือ ครู
……P……… 8. การเรียนการสอนที่ดีเป็นพลวัตร (Dynamic) คือ มีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาทั้งในด้านการจัดกิจกรรม การสร้างบรรยากาศ รูปแบบเนื้อหาสาระ เทคนิค วิธีการ
คำชี้แจง : ข้อ 9-10 จงตอบคำถามต่อไปนี้ และเขียนคำตอบลงในกระดาษคำตอบ
9. คำว่า “เรียนด้วยสมองและสองมือ” นั้นคืออะไร? และท่านคิดว่ามีความเกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญอย่างไร?
เรียนด้วยสมองและสองมือ ข้าพเจ้าคิดว่า มนุษย์ เป็นผู้ที่มีปัญญา มีความสามารถที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นการจัดการเรียนรู้ควรจัดให้สอดคล้องกับความถนัด และจัดตามระดับสติปัญญาของแต่ละบุคคล ซึ่งก็คือ การสอนโดยให้ผู้เรียนลงมือ ปฏิบัติจริง ฝึกให้ผู้เรียนได้มีโอกาสใช้สมอง ในการคิด แก้ไขปัญหาต่างๆ และเผชิญกับสถานการณ์จริงบ้าง เพื่อให้เกิดการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง และยังเป็นการเรียนรู้ที่ยั่งยืน
สอนที่ 1-9 ดังต่อไปนี้ แล้วตอบคำถาม
1. ความแตกต่างระหว่างผู้เรียน
2. การเน้นความต้องการของผู้เรียนเป็นหลัก
3. ความเข้าใจผู้เรียน
4. การวางแผนการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ
5. การจัดกิจกรรมให้น่าสนใจ ไม่ทำให้รู้สึกเบื่อหน่าย
6. การสร้างสถานการณ์ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้โดยการปฏิบัติจริง
7. ภูมิหลังของผู้เรียน
8. ความเมตตากรุณาต่อผู้เรียน
9. การสอนในสิ่งที่ไม่ไกลตัวผู้เรียนมากเกินไป
จากประเด็นที่ 1-9 ท่านคิดว่า ในบทบาทของครู ควรคำนึงถึงปัจจัยใดมากที่สุดในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในยุคศตวรรษที่ 21 มา 3 อันดับแรก และเพราะเหตุใด? จงอธิบาย (ให้ตอบโดยเรียงอันดับมากที่สุดขึ้นก่อน)
1.ความแตกต่างระหว่างผู้เรียน เป็นสิ่งแรกที่ครูต้องทำความเข้าใจ และให้ความสำคัญมากที่สุด ครู ไม่อาจสอนปลาให้ปีนต้นไม้ และ ในขณะเดียวกัน ก็ไม่อาจสอน ลิง ให้ว่ายน้ำได้ คนทุกคนเกิดมาจากสภาพแวดล้อม และโตมาจากสังคมที่ต่างกัน ดังนั้น ความคิด และสติปัญญาของผู้เรียนก็ย่อมแตกต่างกันไป
5. การจัดกิจกรรมให้น่าสนใจ ไม่ทำให้รู้สึกเบื่อหน่าย การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนก็เป็นสิ่งสำคัญที่ครูไม่ควรมองข้าม ให้ครูลองมองย้อนกลับไปว่า เมื่อครั้นครูเคยเป็นนักเรียน ชอบเรียนกับครูแบบไหน และไม่ชอบแบบไหน พยายามจัดทำกิจกรรมให้น่าเรียน น่าสนุก เด็กก็อยากเรียนวิชานั้นๆ
9. การสอนในสิ่งที่ไม่ไกลตัวผู้เรียนมากเกินไป การสอนในสิ่งที่ใกล้ตัวผู้เรียน เป็นสิ่งที่ควรทำอย่างยิ่ง เพราะผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้ได้ดีนั้นส่วนหนึ่งก็เกิดจากการสะสมประสบการณ์ในชีวิต หากได้มีโอกาส นำเอาประสบการณ์เก่า มาบูรณาการกับความรู้ใหม่แน่นอนว่า ต้องเกิดประโยชน์แก่ตัวผู้เรียนอย่างแน่นอน
ชื่อ-นามสกุล นายชนปฏิวัติ น้อยนาง รหัสนักศึกษา 593150310559
สาขาวิชาภาษาอังกฤษ ห้อง 2
*คำคมฝากคิด "Genius is one percent inspiration and ninety-nine percent perspiration."
#Thomas A. Edison
“อัจฉริยะเกิดจากแรงบันดาลใจเพียง 1 เปอร์เซ็นต์ และอีก 99 เปอร์เซ็นต์คือความอุตสาหะ”
- โทมัส อัลวา เอดิสัน
วิชา การออกแบบและการจัดการเรียนรู้ ประจำภาคเรียนที่ 2 / 2560
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิจิตรา ธงพานิช
คำชี้แจง : ให้นักศึกษาอ่านคำชี้แจงและปฏิบัติตามดังต่อไปนี้
1. มีทั้งหมด 10 ข้อ แบบอัตนัยและแบบปรนัย ให้นักศึกษาทำทุกข้อ
2. เขียนคำตอบโดยให้ใช้ปากกาสีน้ำเงิน สีดำ หรือสีแดงเท่านั้น
คำชี้แจง : ข้อ 1-3 อ่านข้อความต่อไปนี้ จากนั้นให้ทำเครื่องหมาย P หน้าข้อความที่เป็นจริง และทำเครื่องหมาย χ หน้าข้อความ
ที่ไม่เป็นจริง
………P…… 1. รูปแบบ (Model) หมายถึง รูปธรรมของความคิดที่เป็นนามธรรม ซึ่งแสดงออกมาในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง เช่น
แผนผัง ไดอะแกรม หรือแผนภาพ เพื่อให้ตนเองและบุคคลอื่นสามารถเข้าใจได้ชัดเจนขึ้น
………P…… 2. รูปแบบเชิงสาเหตุ (Causal Model) เป็นรูปแบบด้านศึกษาศาสตร์ โดยเป็นความคิดที่แสดงออกผ่านทางสูตร
คณิตศาสตร์ ซึ่งส่วนมากจะเกิดขึ้นหลังจากได้รูปเชิงภาษาแล้ว
………P…… 3. รูปแบบการเรียนการสอน หมายถึง สภาพหรือลักษณะของการจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบระเบียบตามหลัก
ปรัชญา ทฤษฏี หลักแนวคิดและความเชื่อต่างๆ โดยมีการจัดกระบวนการเรียนการสอนโดยอาศัยวิธีสอนและเทคนิค
การสอนต่างๆ เข้าไปและได้รับการพิสูจน์และทดสอบแล้วว่ามีประสิทธิภาพ
คำชี้แจง : ข้อ 4 จงบอกความแตกต่างของรูปแบบการเรียนการสอนมโนทัศน์กับรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ผังความคิด ผังกราฟิก) โดยเขียนคำตอบลงในตารางที่กำหนดให้
รูปแบบการเรียนการสอนมโนทัศน์
รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ผังกราฟิก
เนื่องจากผู้เรียนเกิดการเรียนรู้มโนทัศน์ จากการคิด วิเคราะห์และตัวอย่างที่หลากหลาย
ดังนั้นผลที่ผู้เรียนจะได้รับโดยตรงคือ จะเกิดความเข้าใจในมโนทัศน์นั้น และได้เรียนรู้ทักษะการสร้างมโนทัศน์
ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการทำความเข้าใจมโนทัศน์อื่น ๆต่อไปได้ รวมทั้งช่วยพัฒนาทักษะการใช้เหตุผล
โดยการอุปนัย (inductive reasoning) อีกด้วย
เพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้เชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิมและสร้างความหมายและความ
เข้าใจในเนื้อหาสาระหรือข้อมูลที่เรียนรู้ และจัดระเบียบข้อมูลที่เรียนรู้ด้วยผังกราฟิก ซึ่งจะช่วยให้ง่ายแก่การ
จดจำ
คำชี้แจง : ข้อ 5 ให้นักเรียน ทำเครื่องหมาย หน้าคำตอบที่ถูกต้องที่สุด
5. ข้อใดกล่าว ไม่ถูกต้อง เกี่ยวกับรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้บทบาทสมมุติ (Role-Playing Model)
ก. ผู้พัฒนารูปแบบนี้คือแซฟเทลและแซฟเทล (Shaftel and Shaftel, 1967)
ข. การสอนในรูปแบบนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถปฏิบัติหรือทำงานที่ต้องอาศัยความเคลื่อนไหวหรือ
ประสานงานของกล้ามเนื้อทั้งหลายได้อย่างดี มีความถูกต้อง และมีความชำนาญ
ค. กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบนี้แบ่งออกเป็น 9 ขั้น ได้แก่ การนำเสนอสถานการณ์ปัญหาและบทบาทสมมติ การ
เลือกผู้แสดง การจัดฉาก การเตรียมผู้สังเกตการณ์ และการแสดง เป็นต้น
ง. การเรียนในรูปแบบนี้จะทำให้ผู้เรียนจะเกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้งเกี่ยวกับความรู้สึก ค่านิยม คุณธรรม จริยธรรมของผู้อื่นได้
จ. ผู้แสดงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการที่จะทำให้ผู้ชมเข้าใจเรื่องราว/เหตุการณ์ ซึ่งผู้แสดงจะต้องแสดงตามบทบาทให้ดีที่สุด
คำชี้แจง : ข้อ 6-10 จงตอบคำถามต่อไปนี้ และเขียนคำตอบลงในกระดาษคำตอบ
6. จงพิจารณาตัวเลือก A-C ต่อไปนี้ และเลือกมา 1 ตัวเลือก แล้วตอบคำถามตามประเด็นดังนี้
A. รูปแบบการสอนตามแนวคิดการพัฒนาทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซัน
B. รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของแฮร์โรว์
C. รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์
ทฤษฏี/หลักการของรูปแบบ
ทักษะเป็นเรื่องที่มีความเกี่ยวข้องกับพัฒนาการ
ทางกายของผู้เรียน เป็นความสามารถในการประสานการท างานของกล้ามเนื้อหรือร่างกาย ในการ
ท างานที่มีความซับซ้อน และต้องอาศัยความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อหลาย ๆ ส่วน การท างาน
ดังกล่าวเกิดขึ้นได้จากการสั่งงานของสมอง ซึ่งต้องมีความสัมพันธ์กับความรู้สึกที่เกิดขึ้น ทักษะปฏิบัติ
นี้สามารถพัฒนาได้ด้วยการฝึกฝน ซึ่งหากได้รับการฝึกฝนที่ดีแล้ว จะเกิดความถูกต้อง ความ
คล่องแคล่ว ความเชี่ยวชาญและความคงทน ผลของพฤติกรรมหรือการกระทำสามารถ
สังเกตได้จากความรวดเร็ว ความแม่นยำ ความเร็วหรือความราบรื่นในการ จัดการ
วัตถุประสงค์ของรูปแบบ
เพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถปฏิบัติหรือทำงานที่ต้องอาศัยการเคลื่อนไหวหรือการ
ประสานงานของกล้ามเนื้อทั้งหลายได้อย่างดี มีความถูกต้องและมีความชำนาญ
กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ (ยกตัวอย่างมา 1 ขั้น)
ขั้นที่ 1 ขั้นการรับรู้ เป็นขั้นการให้ผู้เรียนรับรู้ในสิ่งที่จะทำโดยการให้ผู้เรียนสังเกตการทำงานนั้นอย่างตั้งใจ
ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนตามรูปแบบ
ผู้เรียนจะสามารถกระทำหรือแสดงออกอย่างคล่องแคล่ว ชำนาญ ในสิ่งที่ต้องการให้ผู้เรียนทำได้ นอกจากนั้นยังช่วยพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ และความอดทนให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียนด้วย
7. จงบอกความแตกต่างของรูปแบบการเรียนการสอนกระบวนการสืบสอบและแสวงหาความรู้เป็นกลุ่ม กับ รูปแบบการสอนกระบวนการคิดสร้างสรรค์ โดยเขียนคำตอบลงในตารางที่กำหนดให้ โดยจะนำเสนอประเด็นอะไรก็ได้ไม่จำกัด (สามารถดูประเด็นตัวอย่างในการเขียนในข้อ 6)
รูปแบบการเรียนการสอนกระบวนการสืบสอบ
และแสวงหาความรู้เป็นกลุ่ม
รูปแบบการสอน
กระบวนการคิดสร้างสรรค์
รูปแบบนี้มุ่งพัฒนาทักษะในการสืบสอบเพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ความเข้าใจ
โดยอาศัยกลุ่มซึ่งเป็นเครื่องมือทางสังคมช่วยกระตุ้นความสนใจหรือความอยากรู้และช่วยดำเนินงานการแสวงหาความรู้หรือคำตอบที่ต้องการ
ผู้เรียนจะเกิดความคิดใหม่ ๆ และสามารถนำความคิดใหม่ ๆ นั้นไปใช้ในงานของตน ทา ให้งานของตนมีความแปลกใหม่ น่าสนใจมากขึ้น นอกจากนั้น ผู้เรียนอาจเกิดความ ตระหนักในคุณค่าของการคิด และความคิดของผู้อื่นอีกด้วย
8. จงพิจารณาตัวเลือก A-D ต่อไปนี้ และเลือกมา 1 ตัวเลือก แล้วตอบคำถามตามประเด็นดังนี้
A. รูปแบบการเรียนการสอนทางตรง
B. รูปแบบการเรียนการสอนโดยการสร้างเรื่อง
C. รูปแบบการเรียนการสอนตามวัฏจักรการเรียนรู้ 4 MAT
D. รูปแบบการเรียนการสอนของการเรียนรู้แบบร่วมมือ
ทฤษฏี/หลักการของรูปแบบ
แม็ค คาร์ธี (Mc Carthy, อ้างถึงใน ศักดิ์ชัย นิรัญทวี และไพเราะ พุ่มมั่น, 2542: 7-11) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนนี้ขึ้นจากแนวคิดของโคล์ป (Kolb) ซึ่งอธิบายว่า การเรียนรู้เกิดขึ้น จากความสัมพันธ์ของ 2 มิติ คือการรับรู้ และกระบวนการจัดกระท าข้อมูล การรับรู้ของบุคคลมี 2 ช่องทาง คือผ่านทางประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรม และผ่านทางความคิดรวบยอดที่เป็นนามธรรม ส่วน การจัดกระท ากับข้อมูลที่รับรู้นั้น มี 2 ลักษณะเช่นเดียวกัน คือการลงมือทดลองปฏิบัติ และการ สังเกตโดยใช้ความคิดอย่างไตร่ตรอง
วัตถุประสงค์ของรูปแบบ
เพื่อช่วยให้ผู้เรียนมีโอกาสได้ใช้สมองทุกส่วน ทั้งซีกซ้ายและขวา ในการสร้างความรู้ ความเข้าใจให้แก่ตนเอง
กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ (ยกตัวอย่างมา 1 ขั้น)
ขั้นที่ 1 การสร้างประสบการณ์ ผู้สอนเริ่มต้นจากการจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนเห็นคุณค่า ของเรื่องที่เรียนด้วยตนเอง ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนตอบได้ว่า ทำไม ตนจึงต้องเรียนรู้เรื่องนี้
ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนตามรูปแบบ
ผู้เรียนจะสามารถสร้างความรู้ด้วยตนเองในเรื่องที่เรียน จะเกิดความรู้ความเข้าใจและ น าความรู้ความเข้าใจนั้นไปใช้ได้ และสามารถสร้างผลงานที่เป็นความคิดสร้างสรรค์ของตนเอง รวมทั้ง ได้พัฒนาทักษะกระบวนการต่าง ๆ อีกจ านวนมาก
9. เราต่างทราบกันดีว่า รูปแบบการเรียนการสอนของการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Co-operative Learning) นั้นมีกระบวนการสอนหลายรูปแบบที่มีวิธีการสอนและมีกระบวนการที่มีความแตกต่างกันไป คือ
JGSAW STAD TAI TGT LT GI CIRC
Complex Instruction
ท่านคิดว่า กระบวนการต่างๆ ในรูปแบบนี้มีประโยชน์ต่อผู้เรียนอย่างไร
ทำให้ผู้เรียนได้ความรู้จากการลงมือทำทั้งเเบบเดี่ยวเเละเเบบเป็นกลุ่มทำให้ได้ความรู้เเละเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
และมีประโยชน์ต่อผู้สอนอย่างไร
ทำให้ผู้สอนมีการเรียนการสอนที่ได้ประสิทธิภาพเเละทำให้ผู้สอนมีพัฒนาการในการสอน
10. ท่านคิดว่า การศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบการเรียนการสอนแบบสากล มีประโยชน์ต่อบุคคลใดมากที่สุด เพราะเหตุใด จงอธิบาย
ผู้เรียน เพราะการเรียนเเบบสากลรูปแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล
รูปแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากลซึ่ง รองศาสตราจารย์ ดร. ทิศนา แขมมณี ได้คัดเลือกมานำเสนอล้วนได้รับการพิสูจน์ทดสอบประสิทธิภาพมาแล้วและมีผู้นิยมนำไปใช้ในการเรียนการสอนโดยทั่วไป แต่เนื่องจากรูปแบบการเรียนการสอนดังกล่าวมีจำนวนมาก เพื่อความสะดวกในการศึกษาและการนำไปใช้
จึงได้จัดหมวดหมู่ของรูปแบบเหล่านั้นตามลักษณะของวัตถุประสงค์เฉพาะหรือเจตนารมณ์ของรูปแบบ ซึ่งสามารถจัดกลุ่มได้เป็น 5 หมวดดังนี้
1. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาด้านพุทธิพิสัย(cognitive domain)
รูปแบบการเรียนการสอนในหมวดนี้ เป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่มุ่งช่วยให้ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาสาระต่าง ๆ ซึ่งเนื้อหาสาระนั้นอาจอยู่ในรูปของข้อมูล ข้อเท็จจริง มโนทัศน์ หรือความคิดรวบยอด
2. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาด้านจิตพิสัย(affective domain)
รูปแบบการเรียนการสอนในหมวดนี้เป็นรูปแบบที่มุ่งช่วยพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความรู้สึก เจตคติ ค่านิยม คุณธรรม และจริยธรรมที่พึงประสงค์ ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากแก่การพัฒนาหรือปลูกฝัง การจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบการสอนที่เพียงให้เกิดความรู้ความเข้าใจ มักไม่เพียงพอต่อการให้ผู้เรียนเกิดเจตคติที่ดีได้ จำเป็นต้องอาศัยหลักการและวิธีการอื่นๆ เพิ่มเติม
3. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาด้านทักษะพิสัย(psycho-motor domain)
รูปแบบการเรียนการสอนในหมวดนี้ เป็นรูปแบบที่มุ่งช่วยพัฒนาความสามารถของผู้เรียนในด้านการปฏิบัติ การกระทำ หรือการแสดงออกต่าง ๆ ซึ่งจำเป็นต้องใช้หลักการ วิธีการ ที่แตกต่างไปจากการพัฒนาทางด้านจิตพิสัยหรือพุทธิพิสัย
4. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาทักษะกระบวนการ(process skill)
ทักษะกระบวนการ เป็นทักษะที่เกี่ยวข้องกับวิธีดำเนินการต่าง ๆ ซึ่งอาจเป็น
กระบวนการทางสติปัญญา เช่น กระบวนการสืบสอบแสวงหาความรู้ หรือกระบวนการคิดต่าง ๆ อาทิ การคิดวิเคราะห์ การอุปนัย การนิรนัย การใช้เหตุผล การสืบสอบ การคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เป็นต้น หรืออาจเป็นกระบวนการทางสังคม เช่น กระบวนการทำงานร่วมกัน เป็นต้น ปัจจุบันการศึกษาให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก เพราะถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการดำรงชีวิต
5. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการบูรณาการ(integration)
รูปแบบการเรียนการสอนในหมวดนี้ เป็นรูปแบบที่พยายามพัฒนาการเรียนรู้
ด้านต่าง ๆ ของผู้เรียนไปพร้อม ๆ กัน โดยใช้การบูรณาการทั้งทางด้านเนื้อหาสาระและวิธีการ รูปแบบในลักษณะนี้กำลังได้รับความนิยมอย่างมาก เพราะมีความสอดคล้องกับหลักทฤษฎีทางการศึกษาที่มุ่งเน้นการพัฒนารอบด้าน หรือการพัฒนาเป็นองค์รวม
เพราะเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ชื่อ-นามสกุล นายชนปฏิวัติ น้อยนาง รหัสนักศึกษา 593150310559
สาขาวิชาภาษาอังกฤษ ห้อง 2
*คำคมฝากคิด
"If you focus on results, you
will never change. If you
focus on change, you will get results."
ถ้ามัวแต่รอให้ทุกสิ่งเปลี่ยนแปลง ทุกอย่างก็จะไม่มีวันเปลี่ยนไป
แต่ถ้าคุณเริ่มสร้างความเปลี่ยนแปลงด้วยตัวเอง สิ่งที่คุณคาดหวังก็จะมาถึงเอง
#JACK DIXON
วิชา การออกแบบและการจัดการเรียนรู้ ประจำภาคเรียนที่ 2 / 2560
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิจิตรา ธงพานิช
คำชี้แจง : ให้นักศึกษาอ่านคำชี้แจงและปฏิบัติตามดังต่อไปนี้
1. มีทั้งหมด 10 ข้อ แบบอัตนัยและแบบปรนัย ให้นักศึกษาทำทุกข้อ
2. เขียนคำตอบโดยให้ใช้ปากกาสีน้ำเงิน สีดำ หรือสีแดงเท่านั้น
คำชี้แจง : ข้อ 1-3 อ่านข้อความต่อไปนี้ จากนั้นให้ทำเครื่องหมาย P หน้าข้อความที่เป็นจริง และทำเครื่องหมาย χ หน้าข้อความ
ที่ไม่เป็นจริง
………P…… 1. รูปแบบการเรียนการสอนโดยสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการพัฒนาโดยทิศนา แขมมณี ในปี 2526 โดยมีวัตถุประสงค์ของรูปแบบคือมุ่งพัฒนาความสามารถในการคิด (โยนิโสมนสิการ) การตัดสินใจและการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่เรียน
……χ……… 2. รูปแบบการเรียนการสอนแบบโยนิโสมนสิการพัฒนาขึ้นจากหลักการที่ว่า การศึกษาที่แท้ควรสัมพันธ์สอดคล้องกับการดำเนินชีวิต ซึ่งต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ซึ่งมีทั้งทุกข์ สุข ความผิดหวังและความสมหวัง ซึ่งการศึกษาที่แท้ควรช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ที่จะเผชิญกับสถานการณ์ต่างๆ เหล่านั้น
………P…… 3. รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้โมเดลซิปปา (CIPPA MODEL) พัฒนาจากหลักการเรียนรู้ 5 ประการ คือ
1. การสร้างความรู้
2. กระบวนการกลุ่มและความร่วมมือ
3. ความพร้อมในการเรียนรู้
4. การเรียนรู้และกระบวนการ
5. การถ่ายโอนการเรียนรู้
คำชี้แจง : ข้อ 4-5 จงตอบคำถามต่อไปนี้ และเขียนคำตอบลงในกระดาษคำตอบ
4. รูปแบบการเรียนการสอนโดยสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการ
ทฤษฏี/หลักการของรูปแบบ
๑. ขั้นนำ ( เสริมสร้างปัญญา )
๓. ขั้นสรุป
วัตถุประสงค์ของรูปปแบบ
๑. เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้วิธีการใช้ความคิดอย่างถูกวิธี คิดเป็น คิดอย่างมีระเบียบ รู้วิธีหาเหตุผล ตลอดจนสามารถแยกแยะปัญหาได้ด้วยตนเอง
๒. เพื่อให้ผู้เรียนนำความรู้ทักษะมาใช้เป็นหลักปฏิบัติในชีวิตประจำวัน
กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ
ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้
๑. ขั้นนำ ( เสริมสร้างปัญญา )
๑.๑ จัดบรรยากาศในชั้นเรียนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ ซึ่งต้องมีลักษณะ -- มีความสงบใกล้ชิดธรรมชาติ ให้ผู้เรียนได้สัมผัสสิ่งแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติ ให้ผู้เรียนได้สัมผัสสิ่งแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติ ใช้แหล่งวิทยากรในชุมชน ผู้เรียนได้ประสบการณ์ตรง -- สภาพชั้นเรียน แปลกใหม่ไม่จำเจ บริเวณห้องเรียน โรงเรียนสะอาดมีระเบียบเรียนร้อย -- สร้างบรรยากาศ ที่ชวนให้สบายใจ ไม่มีการข่มขู่บังคับ
๑.๒ สร้างสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน-- ผู้สอนต้องปฏิบัติตัวเป็นกัลยาณมิตรกับผู้เรียน คือต้องมีสำรวมกาย น่าเชื่อถือศรัทธา สง่า สะอาด แจ่มใส มีความรู้มีคุณธรรม -- สั่งสอนผู้เรียนด้วยความรักและเป็นที่พึ่งของผู้เรียน อย่างแท้จริง
๑.๓ ผู้สอนนำเสนอสิ่งเร้าและแรงจูงใจ เช่นใช้วิธีตรวจสอบความคิด และความสามารถของผู้เรียน ก่อนสอน เป็นการเสริมแรงเร้าให้เกิดความมานะ พากเพียร ใส่สื่อกิจกรรมที่น่าสนใจ
๒. ขั้นสอน
๑. ผู้สอนเสนอปัญหาที่เป็นสาระสำคัญของบทเรียน โดยใช้วิธีนำเสนอที่หลากหลาย และท้าทายความคิด
๒. ผู้สอนแนะนำแหล่งเรียนรู้อย่างกว้างขวาง
๓. ให้ผู้เรียนฝึกการรวบรวมข้อมูล โดยการ ทำงานอย่างเป็นระบบระเบียบ
๔. ผู้สอนจัดกิจกรรมเร้าให้ผู้เรียนเกิดความคิดวิธีต่าง ๆ เช่นใช้คำถามอย่างเหมาะสมเพื่อเร้าให้เกิดความคิด
๕. ให้ผู้เรียนฝึกการสรุปประเด็นของข้อมูล เพื่อหาทางเลือกวิธีแก้ปัญหาโดยการฝึกกระบวนการทำงานเป็นกลุ่ม แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน
๖. ให้ผู้เรียนเลือกและตัดสินใจ การลงมติร่วมกันภายในกลุ่ม
๗. ให้ผู้เรียนฝึก ปฏิบัติ เพื่อพิสูจน์การเลือก ให้ตรงกับแผนและบันทึกข้อมูลให้เป็นระเบียบ
๓. ขั้นสรุป
๑. ครูและนักเรียนร่วมกันสังเกตวิธี ปฏิบัติ ตรวจสอบปรับปรุงแก้ไข
๒. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปราย และสอบถามข้อสงสัย
๓. ครูละนักเรียนร่วมกันสรุปการเรียนรู้ เช่นใช้การอภิปรายกลุ่ม และสรุปสาระสำคัญ
๔. ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันประเมินผลการเรียนรู้
ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนตามรูปแบบ
๑. เป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะด้านการคิดหาเหตุผลอย่างเป็นระบบ๒. ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจนเกิดปัญญาด้วยตนเอง
๓. เสริมสร้างบรรยากาศที่เป็นกัลยาณมิตรต่อกันระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน
๔. ฝึกความเป็นประชาธิปไตยบนพื้นฐานของความเป็นเหตุผล และเสริมสร้างปัญญาให้กับผู้เรียน โดยการจัดลำดับการฝึกคิด โดยใช้หลักการชั้นสูง
5. รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้โมเดลซิปปา (CIPPA MODEL)
ทฤษฏี/หลักการของรูปแบบ
รูปแบบการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง : โมเดลซิปปา (Cippa Model) หรือรูปแบบการประสานห้าแนวคิด ได้พัฒนาขึ้นโดย ทิศนา แขมมณี รองศาสตราจารย์ประจำคณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งได้พัฒนารูปแบบจากประสบการณ์ในการสอนมากว่า 30 ปี และพบว่าแนวคิดจำนวนหนึ่งสามารถใช้ได้ผลดีตลอดมา จึงได้นำแนวคิดเหล่านั้นมาประสานกันเกิดเป็นแบบแผนขึ้น แนวคิดดังกล่าวได้แก่
1. แนวคิดการสร้างความรู้
2. แนวคิดกระบวนการกลุ่มและการเรียนรู้แบบร่วมมือ
3. แนวคิดเกี่ยวกับความพร้อมในการเรียนรู้
4. แนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้
5. แนวคิดเกี่ยวกับการถ่ายโอนความรู้
เมื่อนำแนวคิดดังกล่าวมาจัดการเรียนการสอนพบว่าสามารถพัฒนาผู้เรียนได้ครบทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย อารมณ์ สติปัญญาและสังคม โดยหลักการของโมเดลซิปปา ได้ยึดหลักการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ในตัวหลักการคือการช่วยให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ ช่วยให้ผู้เรียนมีบทบาทและมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ให้มากที่สุด มีปฏิสัมพันธ์ต่อกันและได้เรียนรู้จากกันและกัน มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ ความคิดเห็นและประสบการณ์ ผู้เรียนได้เรียนรู้กระบวนการต่าง ๆ ร่วมกับการผลิตผลงานซึ่งมีความคิดสร้างสรรค์ที่หลากหลายและสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน ให้นักเรียนเป็นผู้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองตามแนวคิด Constructivism (ทิศนา แขมมณี, 2542 )
วัตถุประสงค์ของรูปแบบ
รูปแบบนี้มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความรู้ ความเข้าใจในเรื่องที่เรียนอย่างแท้จริงโดยการให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยอาศัยความร่วมมือจากกลุ่ม นอกจากนั้นยังช่วยพัฒนาทักษะกระบวนการต่างๆ จำนวนมาก อาทิ กระบวนการคิด กระบวนการกลุ่ม การปฏิสัมพันธ์สังคม และกระบวนการแสวงหาความรู้ เป็นต้น
กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ
ซิปปา (CIPPA) เป็นการหลักซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นหลักในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆ ให้แก่ผู้เรียน การจัดกระบวนการเรียนการสอนตามหลัก “CIPPA” นี้สามารถใช้วิธีการและกระบวนการที่หลากหลาย ซึ่งอาจจัดเป็นแบบแผนได้หลายรูปแบบ รูปแบบหนึ่งที่ผู้เขียนได้นำเสนอไว้และได้มีการนำไปทดลองใช้แล้วได้ผลดี ประกอบด้วยขั้นตอนการดำเนินการ 7 ขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่ 1 การทบทวนความรู้เดิม
ขั้นนี้เป็นการดึงความรู้เดิมของผู้เรียนในเรื่องที่จะเรียน เพื่อช่วยให้ผู้เรียนมีความพร้อมในการเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิมของตน ซึ่งผู้สอนอาจใช้วิธีการต่างๆ ได้อย่างหลากหลาย
ขั้นที่ 2 การแสวงหาความรู้ใหม่
ขั้นนี้เป็นการแสวงหาข้อมูลความรู้ใหม่ของผู้เรียนจากแหล่งข้อมูลหรือแหล่งความรู้ต่างๆ ซึ่งครูอาจจัดเตรียมมาให้ผู้เรียนหรือให้คำแนะนำเกี่ยวกับแหล่งข้อมูลต่างๆ เพื่อให้ผู้เรียนไปแสวงหาก็ได้
ขั้นที่ 3 การศึกษาทำความเข้าใจข้อมูล/ความรู้ใหม่ และเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความเดิม
ขั้นนี้เป็นขั้นที่ผู้เรียนจะต้องศึกษาและทำความเข้าใจกับข้อมูล/ความรู้ที่หามาได้ ผู้เรียนจะต้องสร้างความหมายของข้อมูล/ประสบการณ์ใหม่ๆ โดยใช้กระบวนการต่างๆ ด้วยตนเอง เช่น ใช้กระบวนการคิด และกระบวนการกลุ่มในการอภิปรายและสรุปความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลนั้นๆ ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยการเชื่อมโยงกับความรู้เดิม
ขั้นที่ 4 การแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจกับกลุ่ม
ขั้นนี้เป็นขั้นที่ผู้เรียนอาศัยกลุ่มเป็นเครื่องมือในการตรวจสอบความรู้ความเข้าใจของตน รวมทั้งขยายความรู้ความเข้าใจของตนเองให้กว้างขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนได้แบ่งปันความรู้ความเข้าใจของตนแก่ผู้อื่น และได้รับประโยชน์จากความรู้ ความเข้าใจของผู้อื่นไปพร้อมๆ กัน
ขั้นที่ 5 การสรุปและจัดระเบียบความรู้
ขั้นนี้เป็นขั้นของการสรุปความรู้ที่ได้รับทั้งหมด ทั้งความรู้เดิมและความรู้ใหม่ และสิ่งที่เรียนให้เป็นระบบระเบียบเพื่อช่วยให้ผู้เรียนจดจำสิ่งที่เรียนรู้ได้ง่าย
ขั้นที่ 6 การปฏิบัติ และ/หรือการแสดงผลงาน
หากข้อความรู้ที่ได้เรียนรู้มาไม่มีการปฏิบัติ ขั้นนั้นจะเป็นขั้นที่ช่วยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสแสดงผลงานการสร้างความรู้ของตนเองให้ผู้อื่นรับรู้ เป็นการช่วยให้ผู้เรียนได้ตอกย้ำหรือตรวจสอบความเข้าใจของตนเองและช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้ความคิดสร้างสรรค์แต่หากต้องมีการปฏิบัติตามข้อความรู้ที่ได้ ขั้นนี้จะเป็นขั้นปฏิบัติ และมีการแสดงผลงานที่ได้ปฏิบัติด้วย
ขั้นที่ 7 การประยุกต์ใช้ความรู้
ขั้นนี้เป็นขั้นของการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนการนำความรู้ความเข้าใจของตนไปใช้ในสถานการณ์ต่างๆ ที่หลากหลายเพื่อเพิ่มความชำนาญ ความเข้าใจ ความสามารถในการแก้ปัญหาและความจำในเรื่องนั้นๆ
หลังจากการประยุกต์ใช้ในความรู้ อาจจะมีการนำเสนอผลงานจากการประยุกต์อีกครั้งก็ได้ หรืออาจไม่มีการนำเสนอผลงานในขั้นที่ 6 แต่นำมารวมแสดงในขั้นตอนท้ายหลังขั้นการประยุกต์ใช้ก็ได้เช่นกัน
ขั้นตอนตั้งแต่ขั้นที่ 1-6 เป็นกระบวนการของการสร้างความรู้ (construc-tion of knowledge) ซึ่งครูสามารถจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนมีโอกาสปฏิสัมพันธ์แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน (interaction) และฝึกฝนทักษะกระบวนการต่างๆ (process learning) อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากขั้นตอนแต่ละขั้นตอนช่วยให้ผู้เรียนได้ทำกิจกรรมหลากหลายที่มีลักษณะให้ผู้เรียนได้มีการเคลื่อนไหวทางกาย ทางสติปัญญา ทางอารมณ์ และทางสังคม อย่างเหมาะสม 6 ทีคุณสมบัติตามหลักการ CIPPส่วนขั้นตอนที่ 7 เป็นขั้นตอนที่ช่วยให้ผู้เรียนนำความรู้ไปใช้ (application) จึงทำให้เป็นรูปแบบนี้มีคุณสมบัติครบตามหลักCIPPA
ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนตามรูปแบบ
ผู้เรียนจะเกิดความเข้าใจในสิ่งที่เรียน สามารถอธิบาย ชี้แจง ตอบคำถามได้ดี นอกจากนั้นยังได้พัฒนาทักษะในการคิดวิเคราะห์ การคิดสร้างสรรค์ การทำงานเป็นกลุ่ม การสื่อสาร รวมทั้งเกิดความใฝ่รู้ด้วย
CIPPA Model นอกจากจะเป็นรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแล้ว ยังสามารถนำไปใช้เป็นตัวชี้วัด หรือเป็นเครื่องตรวจสอบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้ว่า กิจกรรมนั้นเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางหรือไม่ โดยนำเอากิจกรรมในแผนการสอนมาตรวจสอบตามหลัก CIPPAการจัดการเรียนการสอนแบบCIPPA
การจัดการเรียนการสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางนั้นก็คือ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมนั้น ทั้งทางร่างกาย สติปัญญา สังคมและอารมณ์
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมนั้น มิใช่หมายความแต่เพียงว่าให้ผู้เรียนได้ทำกิจกรรมอะไรๆ ก็ได้ที่ผู้เรียนชอบ กิจกรรมที่ครูจัดให้ผู้เรียนจะต้องเป็นกิจกรรมที่นำไปสู่การเรียนรู้ตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ และเป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา สังคม และอารมณ์ จึงจะสามารถทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี ดังนั้นครูที่จะสอนผู้เรียนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง จึงจำเป็นที่จะต้องออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนให้มีลักษณะดังนี้
1. เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมทางด้านกาย (Physical Participation) คือ เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเคลื่อนไหวร่างกาย เพื่อช่วยให้ประสาทการรับรู้ของผู้เรียนตื่นตัวพร้อมที่จะรับข้อมูลและการเรียนรู้ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น การรับรู้เป็นปัจจัยสำคัญในการเรียนรู้ หากผู้เรียนไม่มีความพร้อมในการรับรู้ แม้จะมีการให้ความรู้ที่ดีๆ ผู้เรียนก็ไม่สามารถรับได้ ซึ่งจะเห็นได้จากเหตุการณ์ที่พบได้เสมอๆ คือ หากผู้เรียนต้องนั่งนานๆ ไม่ช้า ผู้เรียนอาจหลับไป หรือคิดไปเรื่องอื่นๆ ได้ การเคลื่อนไหวทางกาย มีส่วนช่วยให้ประสาทรับรู้ตื่นตัว พร้อมที่จะรับและเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้ดี ดังนั้นกิจกรรมที่จัดให้ผู้เรียน จึงควรเป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เคลื่อนไหวในลักษณะใดลักษณะหนึ่งเป็นระยะๆ ตามความเหมาะสมกับวัยและระดับความสนใจของผู้เรียน
2. เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทางสติปัญญา (Intellectual Participation) คือเป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเคลื่อนไหวทางสติปัญญาหรือพูดง่ายๆ ว่า เป็นกิจกรรมที่ท้าทายความคิดของผู้เรียน ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความจดจ่อในการคิด สนุกที่จะคิด ดังนั้น กิจกรรมจะมีลักษณะดังกล่าวได้ ก็จะต้องมีเรื่องให้ผู้เรียนคิด โดยเรื่องนั้นจะต้องไม่ง่ายและไม่ยากเกินไปสำหรับผู้เรียน เพราะถ้าง่ายเกินไป ผู้เรียนก็ไม่จำเป็นต้องใช้ความคิด แต่ถ้ายากเกินไป ผู้เรียนก็จะเกิดความท้อถอยที่จะคิด ดังนั้นครูจึงต้องหาประเด็นที่เหมาะสมกับวัยและความสามารถของผู้เรียน เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนใช้ความคิดหรือลงมือทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
3. เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทางสังคม (Social Participation) คือ เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับบุคคลหรือสิ่งแวดล้อมรอบตัว เนื่องจากมนุษย์เป็นสัตว์สังคม ที่อาศัยรวมกันอยู่เป็นหมู่คณะ มนุษย์โดยทั่วไปจะต้องเรียนรู้ที่จะปรับตัวเข้ากับบริบทต่างๆ การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ทางสังคม ซึ่งจะส่งผลถึงการเรียนรู้ทางด้านอื่นๆ ด้วย ดังนั้น กิจกรรมการเรียนรู้ที่ดี จึงควรเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมรอบตัวด้วย
4. เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทางอารมณ์ (Emotional Participation) คือ กิจกรรมที่ส่งผลต่ออารมณ์ความรู้สึกของผู้เรียน ซึ่งจะช่วยให้การเรียนรู้นั้นเกิดความหมายต่อตนเอง กิจกรรมที่ส่งผลต่อความรู้สึกของผู้เรียนนั้น มักจะเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับชีวิต ประสบการณ์ และความเป็นจริงของผู้เรียน จะต้องเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับตัวผู้เรียนโดยตรงหรือใกล้ตัวผู้เรียน
คำชี้แจง : ข้อ 6-7 ให้นักเรียน ทำเครื่องหมาย ¡ หน้าคำตอบที่ถูกต้องที่สุด
6. รูปแบบการเรียนการสอนใด ใช้แนวคิดของ “Anchored Instruction” มาใช้เป็นชื่อการจัดการเรียนการสอนและนำมาใช้เป็นหลักการและแนวคิดของรูปแบบ
ก. รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้กิจกรรมทางกาย
ข. รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้สาระอิงบริบท
ค. รูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ตามแนวคิดของทฤษฏีคอนสตรัคติวิสต์
ง. รูปแบบการเรียนการสอนการเขียนภาษาอังกฤษแบบเน้นกระบวนการ
จ. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นทักษะปฏิบัติสำหรับครูวิชาอาชีพ
7. รูปแบบการเรียนการสอนใด มีวัตถุประสงค์ของรูปแบบโดยมุ่งพัฒนาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับงานที่ทำ และเกิดทักษะความสามารถที่จะทำงานนั้นได้อย่างชำนาญตามเกณฑ์ รวมถึงมีเจตคติที่ดีและลักษณะนิสัยที่ดีในการทำงานด้วย
ก. รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้กิจกรรมทางกาย
ข. รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้สาระอิงบริบท
ค. รูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ตามแนวคิดของทฤษฏีคอนสตรัคติวิสต์
ง. รูปแบบการเรียนการสอนการเขียนภาษาอังกฤษแบบเน้นกระบวนการ
จ. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นทักษะปฏิบัติสำหรับครูวิชาอาชีพ
คำชี้แจง : ข้อ 8-10 จงตอบคำถามต่อไปนี้ และเขียนคำตอบลงในกระดาษคำตอบ
8. จงอธิบายความหมายของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้โมเดลซิปปาให้ถูกต้องและชัดเจน
C – Construction of Knowledge คือ
หลักการสร้างความรู้ หมายถึง การให้ผู้เรียนสร้างความรู้ตามแนวคิดของ Constructivism ซึ่งเชื่อว่าการเรียนรู้เป็นประสบการณ์เฉพาะตนในการสร้างความหมายของสิ่งที่เรียนรู้ด้วยตนเอง กล่าวคือ กิจกรรมการเรียนรู้ที่ดีควรเป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนมีโอกาสสร้างความรู้ได้ด้วยตนเอง ทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจและเกิดการเรียนรู้ที่มีความหมายต่อตนเอง ซึ่งการที่ผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความรู้ด้วยตนเองนี้เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทางสติปัญญา
I – Interaction คือ
หลักการปฏิสัมพันธ์ หมายถึง การให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นหรือสิ่งแวดล้อมรอบตัว ซึ่งตามทฤษฎี Constructivismและ Cooperative Learning เชื่อว่าการเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสังคมที่บุคคลจะต้องอาศัยและพึ่งพาซึ่งกันและกันเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการอยู่ร่วมกัน กล่าวคือ กิจกรรมการเรียนรู้ที่ดีจะต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับบุคคล และแหล่งความรู้ที่หลากหลาย ซึ่งเป็นการช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทางสังคม
P – Process Skills คือ
หลักการเรียนรู้กระบวนการ หมายถึง การเรียนรู้กระบวนการต่างๆ เพราะทักษะกระบวนการเป็นเครื่องมือสำคัญในการเรียนรู้ ซึ่งมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าสาระ (Content) ของการเรียนรู้ กล่าวคือ กิจกรรมการเรียนรู้ที่ดีควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้กระบวนการต่างๆ เช่น กระบวนการคิด กระบวนการทำงาน กระบวนการแสวงหาความรู้ กระบวนการแก้ปัญหา กระบวนการกลุ่ม ฯลฯ ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต และเป็นสิ่งที่ผู้เรียนจำเป็นต้องใช้ตลอดชีวิต รวมทั้งเป็นการช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทางด้านสติปัญญาอีกทางหนึ่ง
P – Physical Participation คือ
หลักการมีส่วนร่วมทางร่างกาย หมายถึง การให้ผู้เรียนมีโอกาสได้เคลื่อนไหวร่างกาย โดยการทำกิจกรรมในลักษณะต่าง ๆ ซึ่งเป็นการช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทางกาย กล่าวคือ การเรียนรู้ต้องอาศัยการเรียนรู้การเคลื่อนไหวทางกายจะช่วยให้ประสาทการรับรู้ "active" และรับรู้ได้ดีดังนั้นในการสอนจึงจาเป็นต้องมีกิจกรรมให้ผู้เรียนต้องเคลื่อนไหวที่หลากหลาย และเหมาะสมกับวัยและความสนใจของผู้เรียน เพื่อช่วยให้ผู้เรียนมีความพร้อมในการรับรู้และเรียนรู้
A – Application คือ
หลักการประยุกต์ใช้ความรู้ หมายถึง การนาความรู้ไปประยุกต์ใช้ กล่าวคือ การนำความรู้ไปใช้ในชีวิตจริงหรือการปฏิบัติจริง จะช่วยให้ผู้เรียนได้รับประโยชน์จากการเรียน ทำให้เกิดการเรียนรู้เพิ่มเติมขึ้นเรื่อยๆ และเกิดการเรียนรู้ที่ลึกซึ้งขึ้น กิจกรรมการเรียนรู้ที่มีแต่เพียงการสอนเนื้อหาสาระให้ผู้เรียนเข้าใจ โดยขาดกิจกรรมการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ จะทำให้ผู้เรียนขาดการเชื่อมโยงระหว่างทฤษฎีกับการปฏิบัติ ซึ่งจะทำให้การเรียนรู้ไม่เกิดประโยชน์เท่าที่ควร การจัด กิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนสามารถนาความรู้ไปประยุกต์ใช้นี้ เท่ากับเป็นการช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ในด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายๆ ด้านแล้วแต่ลักษณะของสาระและกิจกรรมที่จัดนอกจากนี้ การนำความรู้ไปใช้เป็นประโยชน์ในการดำรงชีวิต เป็นเป้าหมายสำคัญของการจัดการศึกษาและการเรียนการสอน
9. “จากการศึกษารูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นโดยคนไทยแล้ว ปรากฏว่า รูปแบบการสอนทุกรูปแบบนั้นได้รับการพัฒนาอย่างเป็นระบบและได้รับการทดลองใช้เพื่อพิสูจน์ทดสอบประสิทธิภาพ” ท่านมีความคิดเห็นด้วยหรือไม่อย่างไรกับข้อความนี้ เพราะอะไร จงอธิบาย
การจัดการเรียนการสอนตาม CIPPA Model สามารถส่งเสริมให้ผู้เรียนมี ส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ทั้งทางด้านกาย สติปัญญา และสังคม ส่วนการมีส่วนร่วมทางด้านอารมณ์นั้น ความจริงแล้วมีเกิดขึ้นควบคู่ไปกับทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นทางด้านกาย สติปัญญา และสังคม ซึ่งหากครูสามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้ตามหลักดังกล่าวแล้ว การจัด การเรียนการสอนของครูก็จะมีลักษณะที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางอย่างแท้จริง วิธีการที่จะจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับ CIPPA Model สามารถทำได้โดยครูอาจเริ่มต้นจากแผนการสอนที่มีอยู่แล้ว และนำแผนดังกล่าวมาพิจารณาตาม CIPPA Model หากกิจกรรมตามแผนการสอนขาดลักษณะใดไป ก็พยายามคิดหากิจกรรมที่จะช่วยเพิ่มลักษณะดังกล่าวลงไป หากแผนเดิมมีอยู่บ้างแล้ว ก็ควรพยายามเพิ่มให้มากขึ้น เพื่อกิจกรรมจะได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เมื่อทำเช่นนี้ได้จนเริ่มชำนาญแล้ว ต่อไปครูก็จะสามารถวางแผนตาม CIPPA Model ได้ไม่ยากนัก
10. ท่านคิดว่า การศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบการเรียนการสอนโดยคนไทยรูปแบบใด มีประโยชน์ต่อนักเรียนมากที่สุด เพราะเหตุใด จงอธิบาย
8. ข้อใดเป็นลักษณะการจัดการเรียนรู้โดยครูสมัยใหม่
ก. เคร่งครัดกับมาตรฐานทางวิชาการมาก
ข. มุ่งเน้นการทำงานแบบร่วมใจ
ค. มุ่งเน้นการแข่งขันทางความรู้ความจำมากกว่าทักษะ
ง. มุ่งเน้นการประเมินกระบวนการเป็นสำคัญ
จ. ข้อ ข และ ข้อ ง
9. ข้อใด ไม่ใช่ ตัวบ่งชี้ที่บอกถึงลักษณะการเรียนรู้ของผู้เรียนในขอบข่ายการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ก. การเรียนรู้อย่างมีความสุข
ข. การเรียนรู้จากการได้คิดและลงมือปฏิบัติจริง
ค. การเรียนรู้จากการปฏิบัติเชิงความจำ (RECOGNITION PRACTICE)
ง. การเรียนรู้ด้วยกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง
จ. การเรียนรู้แบบองค์รวมหรือบูรณาการ
คำชี้แจง : ข้อ 10 อ่านข้อความข้างต้นและตอบคำถามต่อไปนี้
มีนักวิชาการกล่าวไว้ว่า “การศึกษา คือ การพัฒนาประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียนหลายๆ ด้านพร้อมกัน การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเป็นจุดเริ่มของการพัฒนาผู้เรียนหลายๆ ด้าน เช่น คุณลักษณะด้านความรู้ ความคิด ด้านการปฏิบัติ และด้านอารมณ์ความรู้สึกจะได้รับการพัฒนาไปพร้อมๆ กัน”
10. จากข้อความข้างต้น ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับข้อความดังกล่าว จงให้เหตุผลประกอบ
เห็นด้วย เพราะ การศึกษาต้องพัฒนาบุคคลให้มีความรู้ในทุกๆด้าน ดังนั้นการเรียนการสอนที่พัฒนาหลายด้านพร้อมกันเป็นผลดีต่อนักเรียน
ชื่อ-นามสกุล นายชนปฏิวัติ น้อยนาง รหัสนักศึกษา 593150310559
สาขาวิชาภาษาอังกฤษ ห้อง 2
*คำคมฝากคิด "BOOKS ARE THE QUIETEST AND MOST CONSTANT OF FRIENDS;
THEY ARE THE MOST ACCESSIBLE AND WISEST OF COUNSELLORS,
AND THE MOST PATIENT OF TEACHERS."
#CHARLES WILLIAM ELIOT
"หนังสือเป็นเพื่อนที่เงียบและมั่นคงมากที่สุด
เป็นที่ปรึกษาที่เข้าถึงได้ง่ายและรอบรู้ที่สุด
และเป็นครูที่อดทนที่สุด"
ชาร์ล วิลเลียม อีเลียต (CHARLES WILLIAM ELIOT)
อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
วิชา การออกแบบและการจัดการเรียนรู้ ประจำภาคเรียนที่ 2 / 2560
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิจิตรา ธงพานิช
คำชี้แจง : ให้นักศึกษาอ่านคำชี้แจงและปฏิบัติตามดังต่อไปนี้
1. ข้อสอบมีทั้งหมด 10 ข้อ แบบอัตนัยและแบบปรนัย ให้นักศึกษาทำทุกข้อ
2. เขียนคำตอบโดยให้ใช้ปากกาสีน้ำเงิน สีดำ หรือสีแดงเท่านั้น
คำชี้แจง : ข้อ 1 จงตอบคำถามต่อไปนี้ และเขียนคำตอบลงในกระดาษคำตอบ
1. การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ หมายถึง.......
วิธีการสำคัญที่สามารถสร้างและพัฒนาผู้เรียน ให้เกิดคุณลักษณะต่างๆ ที่ต้องการในยุคโลกาภิวัตน์เนื่องจากเป็นการจัดการเรียนการสอนที่ให้ความ สำคัญกับผู้เรียน ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักเรียนรู้ด้วยตนเอง เรียนในเรื่องที่สอดคล้องกับความสามารถและความต้องการของตนเองและได้พัฒนา ศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่ ซึ่งแนวคิดการ จัดการศึกษานี้เป็นแนวคิดที่มีรากฐานจากปรัชญาการศึกษาและทฤษฎีการเรียนรู้ ต่าง ๆ และเป็นแนวทางที่ได้รับการพิสูจน์ว่าสามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะตาม ต้องการอย่างได้ผล
คำชี้แจง : ข้อ 2-5 ให้นักเรียน ทำเครื่องหมาย ¡ หน้าคำตอบที่ถูกต้องที่สุด
2. ข้อใดกล่าว ไม่ถูกต้อง เกี่ยวกับการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem-based Learning)
ก. เป็นกิจกรรมการสอนแบบเน้นกิจกรรมการสอนเป็นหลัก
ข. เป็นการจัดการเรียนการสอนโดยให้ผู้เรียนระบุปัญหาที่ต้องการเรียนรู้ โดยผู้เรียนจะคิดวิเคราะห์ปัญหา ตั้งสมมุติฐานและหาทางทดสอบสมมุติฐานที่ตั้งไว้
ค. บทบาทของผู้สอนอีกหนึ่งประการคือจะต้องนำปัญหาที่เป็นความจริงมาเขียนเป็นกรณีศึกษาหรือสถานการณ์ให้กับผู้เรียน
ง. บทบาทของผู้เรียนประการหนึ่งคือ การสรุปผลการเรียนรู้และหลักการที่ได้จากการศึกษาปัญหา
จ. ผู้เรียนจะได้เรียนด้วยกันเป็นกลุ่มๆ ประมาณ 6-8 คน โดยให้แต่ละคนต่างค้นคว้าหาคำตอบให้กลุ่มตนเองโดยไม่ต้องมี การอภิปรายกลุ่ม
3. ข้อใดกล่าว ไม่ถูกต้อง เกี่ยวกับการสอนแบบนิรมิตวิทยา (Constructivism)
ก. เป็นการจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ใหม่ของตนเองโดยเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิมที่ผู้เรียนมีอยู่แล้ว
ข. บทบาทหนึ่งของผู้สอนจะทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือในการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนได้ตรวจสอบความรู้ใหม่ได้ถูกต้อง
ค. การสอนวิธีนี้จะมีกิจกรรมเกี่ยวกับการระดมสมอง การแสดงความคิดเห็น และกิจกรรมที่ผู้เรียนจะต้องลงมือปฏิบัติเพื่อสร้างความรู้ใหม่ที่เกี่ยวกับเนื้อหาที่เรียน
จ. ขั้นตอนของการจัดการเรียนการสอนวิธีนี้ มี 5 ขั้น คือ
1) การปฐมนิเทศ 2) กระตุ้นให้เกิดความคิด 3) สร้างความรู้ใหม่
4) ทดลองใช้ความรู้ใหม่ และ 5) การทบทวนความรู้ใหม่
4. ข้อใดกล่าว ถูกต้อง กับลักษณะของการประเมินตามสภาพจริง
ก. เน้นการพัฒนาจุดเด่นของผู้เรียน
ข. มีเครื่องมือในการวัดและประเมินผลที่หลากหลายซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการประเมิน
ค. เน้นการประเมินด้านความคิด เน้นความคิดเชิงวิเคราะห์ สังเคราะห์
ง. การประเมินสามารถทำได้ตลอดเวลาทุกสภาพการณ์โดยสามารถดำเนินการไปพร้อมๆ กับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
5. เครื่องมือประเภทใดที่ทำหน้าที่ในการรวบรวมตัวอย่างและหลักฐานที่แสดงถึงผลสัมฤทธิ์ ความสามารถ ความพยายาม หรือความถนัดของบุคคลหรือประเด็นสำคัญที่ต้องเก็บไว้อย่างเป็นระบบ
ก. แบบทดสอบ
ข. แบบสังเกต
ค. แบบสัมภาษณ์
ง. แบบบันทึกความรู้สึก และแบบบันทึกความคิด
คำชี้แจง : ข้อ 6-8 อ่านข้อความต่อไปนี้ จากนั้นให้ทำเครื่องหมาย P หน้าข้อความที่เป็นจริง และทำเครื่องหมาย χ หน้าข้อความ
ที่ไม่เป็นจริง
…… χ… 6. การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เกิดขึ้นจากพื้นฐานความเชื่อที่ว่าผู้เรียนก็คือดวงจิตเล็กๆ และประกอบด้วยระบบประสาทสัมผัส ครูคือต้นแบบที่ดีที่มีความรู้จึงจำเป็นต้องทำหน้าที่อบรมสั่งสอนนักเรียนโดยการแสดงการสาธิต หรือเป็นนักสาธิตให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และเห็นอย่างจริงจัง
……P……… 7. บุคคลที่เกี่ยวข้องและมีบทบาทสำคัญในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ คือ ครู
……P……… 8. การเรียนการสอนที่ดีเป็นพลวัตร (Dynamic) คือ มีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาทั้งในด้านการจัดกิจกรรม การสร้างบรรยากาศ รูปแบบเนื้อหาสาระ เทคนิค วิธีการ
คำชี้แจง : ข้อ 9-10 จงตอบคำถามต่อไปนี้ และเขียนคำตอบลงในกระดาษคำตอบ
9. คำว่า “เรียนด้วยสมองและสองมือ” นั้นคืออะไร? และท่านคิดว่ามีความเกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญอย่างไร?
เรียนด้วยสมองและสองมือ ข้าพเจ้าคิดว่า มนุษย์ เป็นผู้ที่มีปัญญา มีความสามารถที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นการจัดการเรียนรู้ควรจัดให้สอดคล้องกับความถนัด และจัดตามระดับสติปัญญาของแต่ละบุคคล ซึ่งก็คือ การสอนโดยให้ผู้เรียนลงมือ ปฏิบัติจริง ฝึกให้ผู้เรียนได้มีโอกาสใช้สมอง ในการคิด แก้ไขปัญหาต่างๆ และเผชิญกับสถานการณ์จริงบ้าง เพื่อให้เกิดการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง และยังเป็นการเรียนรู้ที่ยั่งยืน
สอนที่ 1-9 ดังต่อไปนี้ แล้วตอบคำถาม
1. ความแตกต่างระหว่างผู้เรียน
2. การเน้นความต้องการของผู้เรียนเป็นหลัก
3. ความเข้าใจผู้เรียน
4. การวางแผนการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ
5. การจัดกิจกรรมให้น่าสนใจ ไม่ทำให้รู้สึกเบื่อหน่าย
6. การสร้างสถานการณ์ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้โดยการปฏิบัติจริง
7. ภูมิหลังของผู้เรียน
8. ความเมตตากรุณาต่อผู้เรียน
9. การสอนในสิ่งที่ไม่ไกลตัวผู้เรียนมากเกินไป
จากประเด็นที่ 1-9 ท่านคิดว่า ในบทบาทของครู ควรคำนึงถึงปัจจัยใดมากที่สุดในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในยุคศตวรรษที่ 21 มา 3 อันดับแรก และเพราะเหตุใด? จงอธิบาย (ให้ตอบโดยเรียงอันดับมากที่สุดขึ้นก่อน)
1.ความแตกต่างระหว่างผู้เรียน เป็นสิ่งแรกที่ครูต้องทำความเข้าใจ และให้ความสำคัญมากที่สุด ครู ไม่อาจสอนปลาให้ปีนต้นไม้ และ ในขณะเดียวกัน ก็ไม่อาจสอน ลิง ให้ว่ายน้ำได้ คนทุกคนเกิดมาจากสภาพแวดล้อม และโตมาจากสังคมที่ต่างกัน ดังนั้น ความคิด และสติปัญญาของผู้เรียนก็ย่อมแตกต่างกันไป
5. การจัดกิจกรรมให้น่าสนใจ ไม่ทำให้รู้สึกเบื่อหน่าย การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนก็เป็นสิ่งสำคัญที่ครูไม่ควรมองข้าม ให้ครูลองมองย้อนกลับไปว่า เมื่อครั้นครูเคยเป็นนักเรียน ชอบเรียนกับครูแบบไหน และไม่ชอบแบบไหน พยายามจัดทำกิจกรรมให้น่าเรียน น่าสนุก เด็กก็อยากเรียนวิชานั้นๆ
9. การสอนในสิ่งที่ไม่ไกลตัวผู้เรียนมากเกินไป การสอนในสิ่งที่ใกล้ตัวผู้เรียน เป็นสิ่งที่ควรทำอย่างยิ่ง เพราะผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้ได้ดีนั้นส่วนหนึ่งก็เกิดจากการสะสมประสบการณ์ในชีวิต หากได้มีโอกาส นำเอาประสบการณ์เก่า มาบูรณาการกับความรู้ใหม่แน่นอนว่า ต้องเกิดประโยชน์แก่ตัวผู้เรียนอย่างแน่นอน
ชื่อ-นามสกุล นายชนปฏิวัติ น้อยนาง รหัสนักศึกษา 593150310559
สาขาวิชาภาษาอังกฤษ ห้อง 2
*คำคมฝากคิด "Genius is one percent inspiration and ninety-nine percent perspiration."
#Thomas A. Edison
“อัจฉริยะเกิดจากแรงบันดาลใจเพียง 1 เปอร์เซ็นต์ และอีก 99 เปอร์เซ็นต์คือความอุตสาหะ”
- โทมัส อัลวา เอดิสัน
วิชา การออกแบบและการจัดการเรียนรู้ ประจำภาคเรียนที่ 2 / 2560
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิจิตรา ธงพานิช
คำชี้แจง : ให้นักศึกษาอ่านคำชี้แจงและปฏิบัติตามดังต่อไปนี้
1. มีทั้งหมด 10 ข้อ แบบอัตนัยและแบบปรนัย ให้นักศึกษาทำทุกข้อ
2. เขียนคำตอบโดยให้ใช้ปากกาสีน้ำเงิน สีดำ หรือสีแดงเท่านั้น
คำชี้แจง : ข้อ 1-3 อ่านข้อความต่อไปนี้ จากนั้นให้ทำเครื่องหมาย P หน้าข้อความที่เป็นจริง และทำเครื่องหมาย χ หน้าข้อความ
ที่ไม่เป็นจริง
………P…… 1. รูปแบบ (Model) หมายถึง รูปธรรมของความคิดที่เป็นนามธรรม ซึ่งแสดงออกมาในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง เช่น
แผนผัง ไดอะแกรม หรือแผนภาพ เพื่อให้ตนเองและบุคคลอื่นสามารถเข้าใจได้ชัดเจนขึ้น
………P…… 2. รูปแบบเชิงสาเหตุ (Causal Model) เป็นรูปแบบด้านศึกษาศาสตร์ โดยเป็นความคิดที่แสดงออกผ่านทางสูตร
คณิตศาสตร์ ซึ่งส่วนมากจะเกิดขึ้นหลังจากได้รูปเชิงภาษาแล้ว
………P…… 3. รูปแบบการเรียนการสอน หมายถึง สภาพหรือลักษณะของการจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบระเบียบตามหลัก
ปรัชญา ทฤษฏี หลักแนวคิดและความเชื่อต่างๆ โดยมีการจัดกระบวนการเรียนการสอนโดยอาศัยวิธีสอนและเทคนิค
การสอนต่างๆ เข้าไปและได้รับการพิสูจน์และทดสอบแล้วว่ามีประสิทธิภาพ
รูปแบบการเรียนการสอนมโนทัศน์
|
รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ผังกราฟิก
|
เนื่องจากผู้เรียนเกิดการเรียนรู้มโนทัศน์ จากการคิด วิเคราะห์และตัวอย่างที่หลากหลาย
ดังนั้นผลที่ผู้เรียนจะได้รับโดยตรงคือ จะเกิดความเข้าใจในมโนทัศน์นั้น และได้เรียนรู้ทักษะการสร้างมโนทัศน์
ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการทำความเข้าใจมโนทัศน์อื่น ๆต่อไปได้ รวมทั้งช่วยพัฒนาทักษะการใช้เหตุผล
โดยการอุปนัย (inductive reasoning) อีกด้วย
|
เพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้เชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิมและสร้างความหมายและความ
เข้าใจในเนื้อหาสาระหรือข้อมูลที่เรียนรู้ และจัดระเบียบข้อมูลที่เรียนรู้ด้วยผังกราฟิก ซึ่งจะช่วยให้ง่ายแก่การ
จดจำ
|
คำชี้แจง : ข้อ 5 ให้นักเรียน ทำเครื่องหมาย หน้าคำตอบที่ถูกต้องที่สุด
5. ข้อใดกล่าว ไม่ถูกต้อง เกี่ยวกับรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้บทบาทสมมุติ (Role-Playing Model)
ก. ผู้พัฒนารูปแบบนี้คือแซฟเทลและแซฟเทล (Shaftel and Shaftel, 1967)
ข. การสอนในรูปแบบนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถปฏิบัติหรือทำงานที่ต้องอาศัยความเคลื่อนไหวหรือ
ประสานงานของกล้ามเนื้อทั้งหลายได้อย่างดี มีความถูกต้อง และมีความชำนาญ
ค. กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบนี้แบ่งออกเป็น 9 ขั้น ได้แก่ การนำเสนอสถานการณ์ปัญหาและบทบาทสมมติ การ
เลือกผู้แสดง การจัดฉาก การเตรียมผู้สังเกตการณ์ และการแสดง เป็นต้น
ง. การเรียนในรูปแบบนี้จะทำให้ผู้เรียนจะเกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้งเกี่ยวกับความรู้สึก ค่านิยม คุณธรรม จริยธรรมของผู้อื่นได้
จ. ผู้แสดงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการที่จะทำให้ผู้ชมเข้าใจเรื่องราว/เหตุการณ์ ซึ่งผู้แสดงจะต้องแสดงตามบทบาทให้ดีที่สุด
คำชี้แจง : ข้อ 6-10 จงตอบคำถามต่อไปนี้ และเขียนคำตอบลงในกระดาษคำตอบ
6. จงพิจารณาตัวเลือก A-C ต่อไปนี้ และเลือกมา 1 ตัวเลือก แล้วตอบคำถามตามประเด็นดังนี้
A. รูปแบบการสอนตามแนวคิดการพัฒนาทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซัน
B. รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของแฮร์โรว์
C. รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์
ทฤษฏี/หลักการของรูปแบบ
ทักษะเป็นเรื่องที่มีความเกี่ยวข้องกับพัฒนาการ
ทางกายของผู้เรียน เป็นความสามารถในการประสานการท างานของกล้ามเนื้อหรือร่างกาย ในการ
ท างานที่มีความซับซ้อน และต้องอาศัยความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อหลาย ๆ ส่วน การท างาน
ดังกล่าวเกิดขึ้นได้จากการสั่งงานของสมอง ซึ่งต้องมีความสัมพันธ์กับความรู้สึกที่เกิดขึ้น ทักษะปฏิบัติ
นี้สามารถพัฒนาได้ด้วยการฝึกฝน ซึ่งหากได้รับการฝึกฝนที่ดีแล้ว จะเกิดความถูกต้อง ความ
คล่องแคล่ว ความเชี่ยวชาญและความคงทน ผลของพฤติกรรมหรือการกระทำสามารถ
สังเกตได้จากความรวดเร็ว ความแม่นยำ ความเร็วหรือความราบรื่นในการ จัดการ
วัตถุประสงค์ของรูปแบบ
เพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถปฏิบัติหรือทำงานที่ต้องอาศัยการเคลื่อนไหวหรือการ
ประสานงานของกล้ามเนื้อทั้งหลายได้อย่างดี มีความถูกต้องและมีความชำนาญ
กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ (ยกตัวอย่างมา 1 ขั้น)
ขั้นที่ 1 ขั้นการรับรู้ เป็นขั้นการให้ผู้เรียนรับรู้ในสิ่งที่จะทำโดยการให้ผู้เรียนสังเกตการทำงานนั้นอย่างตั้งใจ
ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนตามรูปแบบ
ผู้เรียนจะสามารถกระทำหรือแสดงออกอย่างคล่องแคล่ว ชำนาญ ในสิ่งที่ต้องการให้ผู้เรียนทำได้ นอกจากนั้นยังช่วยพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ และความอดทนให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียนด้วย
7. จงบอกความแตกต่างของรูปแบบการเรียนการสอนกระบวนการสืบสอบและแสวงหาความรู้เป็นกลุ่ม กับ รูปแบบการสอนกระบวนการคิดสร้างสรรค์ โดยเขียนคำตอบลงในตารางที่กำหนดให้ โดยจะนำเสนอประเด็นอะไรก็ได้ไม่จำกัด (สามารถดูประเด็นตัวอย่างในการเขียนในข้อ 6)
รูปแบบการเรียนการสอนกระบวนการสืบสอบ
และแสวงหาความรู้เป็นกลุ่ม
|
รูปแบบการสอน
กระบวนการคิดสร้างสรรค์
|
รูปแบบนี้มุ่งพัฒนาทักษะในการสืบสอบเพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ความเข้าใจ
โดยอาศัยกลุ่มซึ่งเป็นเครื่องมือทางสังคมช่วยกระตุ้นความสนใจหรือความอยากรู้และช่วยดำเนินงานการแสวงหาความรู้หรือคำตอบที่ต้องการ
|
ผู้เรียนจะเกิดความคิดใหม่ ๆ และสามารถนำความคิดใหม่ ๆ นั้นไปใช้ในงานของตน ทา ให้งานของตนมีความแปลกใหม่ น่าสนใจมากขึ้น นอกจากนั้น ผู้เรียนอาจเกิดความ ตระหนักในคุณค่าของการคิด และความคิดของผู้อื่นอีกด้วย
|
8. จงพิจารณาตัวเลือก A-D ต่อไปนี้ และเลือกมา 1 ตัวเลือก แล้วตอบคำถามตามประเด็นดังนี้
A. รูปแบบการเรียนการสอนทางตรง
B. รูปแบบการเรียนการสอนโดยการสร้างเรื่อง
C. รูปแบบการเรียนการสอนตามวัฏจักรการเรียนรู้ 4 MAT
D. รูปแบบการเรียนการสอนของการเรียนรู้แบบร่วมมือ
ทฤษฏี/หลักการของรูปแบบ
แม็ค คาร์ธี (Mc Carthy, อ้างถึงใน ศักดิ์ชัย นิรัญทวี และไพเราะ พุ่มมั่น, 2542: 7-11) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนนี้ขึ้นจากแนวคิดของโคล์ป (Kolb) ซึ่งอธิบายว่า การเรียนรู้เกิดขึ้น จากความสัมพันธ์ของ 2 มิติ คือการรับรู้ และกระบวนการจัดกระท าข้อมูล การรับรู้ของบุคคลมี 2 ช่องทาง คือผ่านทางประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรม และผ่านทางความคิดรวบยอดที่เป็นนามธรรม ส่วน การจัดกระท ากับข้อมูลที่รับรู้นั้น มี 2 ลักษณะเช่นเดียวกัน คือการลงมือทดลองปฏิบัติ และการ สังเกตโดยใช้ความคิดอย่างไตร่ตรอง
วัตถุประสงค์ของรูปแบบ
เพื่อช่วยให้ผู้เรียนมีโอกาสได้ใช้สมองทุกส่วน ทั้งซีกซ้ายและขวา ในการสร้างความรู้ ความเข้าใจให้แก่ตนเอง
กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ (ยกตัวอย่างมา 1 ขั้น)
ขั้นที่ 1 การสร้างประสบการณ์ ผู้สอนเริ่มต้นจากการจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนเห็นคุณค่า ของเรื่องที่เรียนด้วยตนเอง ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนตอบได้ว่า ทำไม ตนจึงต้องเรียนรู้เรื่องนี้
ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนตามรูปแบบ
ผู้เรียนจะสามารถสร้างความรู้ด้วยตนเองในเรื่องที่เรียน จะเกิดความรู้ความเข้าใจและ น าความรู้ความเข้าใจนั้นไปใช้ได้ และสามารถสร้างผลงานที่เป็นความคิดสร้างสรรค์ของตนเอง รวมทั้ง ได้พัฒนาทักษะกระบวนการต่าง ๆ อีกจ านวนมาก
9. เราต่างทราบกันดีว่า รูปแบบการเรียนการสอนของการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Co-operative Learning) นั้นมีกระบวนการสอนหลายรูปแบบที่มีวิธีการสอนและมีกระบวนการที่มีความแตกต่างกันไป คือ
JGSAW STAD TAI TGT LT GI CIRC
Complex Instruction
ท่านคิดว่า กระบวนการต่างๆ ในรูปแบบนี้มีประโยชน์ต่อผู้เรียนอย่างไร
ทำให้ผู้เรียนได้ความรู้จากการลงมือทำทั้งเเบบเดี่ยวเเละเเบบเป็นกลุ่มทำให้ได้ความรู้เเละเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
และมีประโยชน์ต่อผู้สอนอย่างไร
ทำให้ผู้สอนมีการเรียนการสอนที่ได้ประสิทธิภาพเเละทำให้ผู้สอนมีพัฒนาการในการสอน
ผู้เรียน เพราะการเรียนเเบบสากลรูปแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล
รูปแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากลซึ่ง รองศาสตราจารย์ ดร. ทิศนา แขมมณี ได้คัดเลือกมานำเสนอล้วนได้รับการพิสูจน์ทดสอบประสิทธิภาพมาแล้วและมีผู้นิยมนำไปใช้ในการเรียนการสอนโดยทั่วไป แต่เนื่องจากรูปแบบการเรียนการสอนดังกล่าวมีจำนวนมาก เพื่อความสะดวกในการศึกษาและการนำไปใช้
จึงได้จัดหมวดหมู่ของรูปแบบเหล่านั้นตามลักษณะของวัตถุประสงค์เฉพาะหรือเจตนารมณ์ของรูปแบบ ซึ่งสามารถจัดกลุ่มได้เป็น 5 หมวดดังนี้
1. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาด้านพุทธิพิสัย(cognitive domain)
จึงได้จัดหมวดหมู่ของรูปแบบเหล่านั้นตามลักษณะของวัตถุประสงค์เฉพาะหรือเจตนารมณ์ของรูปแบบ ซึ่งสามารถจัดกลุ่มได้เป็น 5 หมวดดังนี้
1. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาด้านพุทธิพิสัย(cognitive domain)
รูปแบบการเรียนการสอนในหมวดนี้ เป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่มุ่งช่วยให้ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาสาระต่าง ๆ ซึ่งเนื้อหาสาระนั้นอาจอยู่ในรูปของข้อมูล ข้อเท็จจริง มโนทัศน์ หรือความคิดรวบยอด
2. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาด้านจิตพิสัย(affective domain)
รูปแบบการเรียนการสอนในหมวดนี้เป็นรูปแบบที่มุ่งช่วยพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความรู้สึก เจตคติ ค่านิยม คุณธรรม และจริยธรรมที่พึงประสงค์ ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากแก่การพัฒนาหรือปลูกฝัง การจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบการสอนที่เพียงให้เกิดความรู้ความเข้าใจ มักไม่เพียงพอต่อการให้ผู้เรียนเกิดเจตคติที่ดีได้ จำเป็นต้องอาศัยหลักการและวิธีการอื่นๆ เพิ่มเติม
3. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาด้านทักษะพิสัย(psycho-motor domain)
3. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาด้านทักษะพิสัย(psycho-motor domain)
รูปแบบการเรียนการสอนในหมวดนี้ เป็นรูปแบบที่มุ่งช่วยพัฒนาความสามารถของผู้เรียนในด้านการปฏิบัติ การกระทำ หรือการแสดงออกต่าง ๆ ซึ่งจำเป็นต้องใช้หลักการ วิธีการ ที่แตกต่างไปจากการพัฒนาทางด้านจิตพิสัยหรือพุทธิพิสัย
4. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาทักษะกระบวนการ(process skill)
4. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาทักษะกระบวนการ(process skill)
ทักษะกระบวนการ เป็นทักษะที่เกี่ยวข้องกับวิธีดำเนินการต่าง ๆ ซึ่งอาจเป็น
กระบวนการทางสติปัญญา เช่น กระบวนการสืบสอบแสวงหาความรู้ หรือกระบวนการคิดต่าง ๆ อาทิ การคิดวิเคราะห์ การอุปนัย การนิรนัย การใช้เหตุผล การสืบสอบ การคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เป็นต้น หรืออาจเป็นกระบวนการทางสังคม เช่น กระบวนการทำงานร่วมกัน เป็นต้น ปัจจุบันการศึกษาให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก เพราะถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการดำรงชีวิต
กระบวนการทางสติปัญญา เช่น กระบวนการสืบสอบแสวงหาความรู้ หรือกระบวนการคิดต่าง ๆ อาทิ การคิดวิเคราะห์ การอุปนัย การนิรนัย การใช้เหตุผล การสืบสอบ การคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เป็นต้น หรืออาจเป็นกระบวนการทางสังคม เช่น กระบวนการทำงานร่วมกัน เป็นต้น ปัจจุบันการศึกษาให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก เพราะถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการดำรงชีวิต
5. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการบูรณาการ(integration)
รูปแบบการเรียนการสอนในหมวดนี้ เป็นรูปแบบที่พยายามพัฒนาการเรียนรู้
ด้านต่าง ๆ ของผู้เรียนไปพร้อม ๆ กัน โดยใช้การบูรณาการทั้งทางด้านเนื้อหาสาระและวิธีการ รูปแบบในลักษณะนี้กำลังได้รับความนิยมอย่างมาก เพราะมีความสอดคล้องกับหลักทฤษฎีทางการศึกษาที่มุ่งเน้นการพัฒนารอบด้าน หรือการพัฒนาเป็นองค์รวม
ด้านต่าง ๆ ของผู้เรียนไปพร้อม ๆ กัน โดยใช้การบูรณาการทั้งทางด้านเนื้อหาสาระและวิธีการ รูปแบบในลักษณะนี้กำลังได้รับความนิยมอย่างมาก เพราะมีความสอดคล้องกับหลักทฤษฎีทางการศึกษาที่มุ่งเน้นการพัฒนารอบด้าน หรือการพัฒนาเป็นองค์รวม
เพราะเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ชื่อ-นามสกุล นายชนปฏิวัติ น้อยนาง รหัสนักศึกษา 593150310559
สาขาวิชาภาษาอังกฤษ ห้อง 2
*คำคมฝากคิด
"If you focus on results, you
will never change. If you
focus on change, you will get results."
ถ้ามัวแต่รอให้ทุกสิ่งเปลี่ยนแปลง ทุกอย่างก็จะไม่มีวันเปลี่ยนไป
แต่ถ้าคุณเริ่มสร้างความเปลี่ยนแปลงด้วยตัวเอง สิ่งที่คุณคาดหวังก็จะมาถึงเอง
#JACK DIXON
วิชา การออกแบบและการจัดการเรียนรู้ ประจำภาคเรียนที่ 2 / 2560
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิจิตรา ธงพานิช
คำชี้แจง : ให้นักศึกษาอ่านคำชี้แจงและปฏิบัติตามดังต่อไปนี้
1. มีทั้งหมด 10 ข้อ แบบอัตนัยและแบบปรนัย ให้นักศึกษาทำทุกข้อ
2. เขียนคำตอบโดยให้ใช้ปากกาสีน้ำเงิน สีดำ หรือสีแดงเท่านั้น
คำชี้แจง : ข้อ 1-3 อ่านข้อความต่อไปนี้ จากนั้นให้ทำเครื่องหมาย P หน้าข้อความที่เป็นจริง และทำเครื่องหมาย χ หน้าข้อความ
ที่ไม่เป็นจริง
………P…… 1. รูปแบบการเรียนการสอนโดยสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการพัฒนาโดยทิศนา แขมมณี ในปี 2526 โดยมีวัตถุประสงค์ของรูปแบบคือมุ่งพัฒนาความสามารถในการคิด (โยนิโสมนสิการ) การตัดสินใจและการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่เรียน
……χ……… 2. รูปแบบการเรียนการสอนแบบโยนิโสมนสิการพัฒนาขึ้นจากหลักการที่ว่า การศึกษาที่แท้ควรสัมพันธ์สอดคล้องกับการดำเนินชีวิต ซึ่งต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ซึ่งมีทั้งทุกข์ สุข ความผิดหวังและความสมหวัง ซึ่งการศึกษาที่แท้ควรช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ที่จะเผชิญกับสถานการณ์ต่างๆ เหล่านั้น
………P…… 3. รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้โมเดลซิปปา (CIPPA MODEL) พัฒนาจากหลักการเรียนรู้ 5 ประการ คือ
1. การสร้างความรู้
2. กระบวนการกลุ่มและความร่วมมือ
3. ความพร้อมในการเรียนรู้
4. การเรียนรู้และกระบวนการ
5. การถ่ายโอนการเรียนรู้
คำชี้แจง : ข้อ 4-5 จงตอบคำถามต่อไปนี้ และเขียนคำตอบลงในกระดาษคำตอบ
4. รูปแบบการเรียนการสอนโดยสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการ
ทฤษฏี/หลักการของรูปแบบ
๑. ขั้นนำ ( เสริมสร้างปัญญา )
๓. ขั้นสรุป
๑. ขั้นนำ ( เสริมสร้างปัญญา )
๓. ขั้นสรุป
วัตถุประสงค์ของรูปปแบบ
๑. เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้วิธีการใช้ความคิดอย่างถูกวิธี คิดเป็น คิดอย่างมีระเบียบ รู้วิธีหาเหตุผล ตลอดจนสามารถแยกแยะปัญหาได้ด้วยตนเอง
๒. เพื่อให้ผู้เรียนนำความรู้ทักษะมาใช้เป็นหลักปฏิบัติในชีวิตประจำวัน
กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ
ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้
๑. ขั้นนำ ( เสริมสร้างปัญญา )
๑.๑ จัดบรรยากาศในชั้นเรียนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ ซึ่งต้องมีลักษณะ -- มีความสงบใกล้ชิดธรรมชาติ ให้ผู้เรียนได้สัมผัสสิ่งแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติ ให้ผู้เรียนได้สัมผัสสิ่งแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติ ใช้แหล่งวิทยากรในชุมชน ผู้เรียนได้ประสบการณ์ตรง -- สภาพชั้นเรียน แปลกใหม่ไม่จำเจ บริเวณห้องเรียน โรงเรียนสะอาดมีระเบียบเรียนร้อย -- สร้างบรรยากาศ ที่ชวนให้สบายใจ ไม่มีการข่มขู่บังคับ
๑.๒ สร้างสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน-- ผู้สอนต้องปฏิบัติตัวเป็นกัลยาณมิตรกับผู้เรียน คือต้องมีสำรวมกาย น่าเชื่อถือศรัทธา สง่า สะอาด แจ่มใส มีความรู้มีคุณธรรม -- สั่งสอนผู้เรียนด้วยความรักและเป็นที่พึ่งของผู้เรียน อย่างแท้จริง
๑.๓ ผู้สอนนำเสนอสิ่งเร้าและแรงจูงใจ เช่นใช้วิธีตรวจสอบความคิด และความสามารถของผู้เรียน ก่อนสอน เป็นการเสริมแรงเร้าให้เกิดความมานะ พากเพียร ใส่สื่อกิจกรรมที่น่าสนใจ
๒. ขั้นสอน
๑. ผู้สอนเสนอปัญหาที่เป็นสาระสำคัญของบทเรียน โดยใช้วิธีนำเสนอที่หลากหลาย และท้าทายความคิด
๒. ผู้สอนแนะนำแหล่งเรียนรู้อย่างกว้างขวาง
๓. ให้ผู้เรียนฝึกการรวบรวมข้อมูล โดยการ ทำงานอย่างเป็นระบบระเบียบ
๔. ผู้สอนจัดกิจกรรมเร้าให้ผู้เรียนเกิดความคิดวิธีต่าง ๆ เช่นใช้คำถามอย่างเหมาะสมเพื่อเร้าให้เกิดความคิด
๕. ให้ผู้เรียนฝึกการสรุปประเด็นของข้อมูล เพื่อหาทางเลือกวิธีแก้ปัญหาโดยการฝึกกระบวนการทำงานเป็นกลุ่ม แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน
๖. ให้ผู้เรียนเลือกและตัดสินใจ การลงมติร่วมกันภายในกลุ่ม
๗. ให้ผู้เรียนฝึก ปฏิบัติ เพื่อพิสูจน์การเลือก ให้ตรงกับแผนและบันทึกข้อมูลให้เป็นระเบียบ
๓. ขั้นสรุป
๑. ครูและนักเรียนร่วมกันสังเกตวิธี ปฏิบัติ ตรวจสอบปรับปรุงแก้ไข
๒. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปราย และสอบถามข้อสงสัย
๓. ครูละนักเรียนร่วมกันสรุปการเรียนรู้ เช่นใช้การอภิปรายกลุ่ม และสรุปสาระสำคัญ
๔. ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันประเมินผลการเรียนรู้
ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนตามรูปแบบ
๑. เป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะด้านการคิดหาเหตุผลอย่างเป็นระบบ๒. ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจนเกิดปัญญาด้วยตนเอง
๓. เสริมสร้างบรรยากาศที่เป็นกัลยาณมิตรต่อกันระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน
๔. ฝึกความเป็นประชาธิปไตยบนพื้นฐานของความเป็นเหตุผล และเสริมสร้างปัญญาให้กับผู้เรียน โดยการจัดลำดับการฝึกคิด โดยใช้หลักการชั้นสูง
5. รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้โมเดลซิปปา (CIPPA MODEL)
ทฤษฏี/หลักการของรูปแบบ
รูปแบบการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง : โมเดลซิปปา (Cippa Model) หรือรูปแบบการประสานห้าแนวคิด ได้พัฒนาขึ้นโดย ทิศนา แขมมณี รองศาสตราจารย์ประจำคณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งได้พัฒนารูปแบบจากประสบการณ์ในการสอนมากว่า 30 ปี และพบว่าแนวคิดจำนวนหนึ่งสามารถใช้ได้ผลดีตลอดมา จึงได้นำแนวคิดเหล่านั้นมาประสานกันเกิดเป็นแบบแผนขึ้น แนวคิดดังกล่าวได้แก่
1. แนวคิดการสร้างความรู้
2. แนวคิดกระบวนการกลุ่มและการเรียนรู้แบบร่วมมือ
3. แนวคิดเกี่ยวกับความพร้อมในการเรียนรู้
4. แนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้
5. แนวคิดเกี่ยวกับการถ่ายโอนความรู้
เมื่อนำแนวคิดดังกล่าวมาจัดการเรียนการสอนพบว่าสามารถพัฒนาผู้เรียนได้ครบทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย อารมณ์ สติปัญญาและสังคม โดยหลักการของโมเดลซิปปา ได้ยึดหลักการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ในตัวหลักการคือการช่วยให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ ช่วยให้ผู้เรียนมีบทบาทและมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ให้มากที่สุด มีปฏิสัมพันธ์ต่อกันและได้เรียนรู้จากกันและกัน มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ ความคิดเห็นและประสบการณ์ ผู้เรียนได้เรียนรู้กระบวนการต่าง ๆ ร่วมกับการผลิตผลงานซึ่งมีความคิดสร้างสรรค์ที่หลากหลายและสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน ให้นักเรียนเป็นผู้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองตามแนวคิด Constructivism (ทิศนา แขมมณี, 2542 )
วัตถุประสงค์ของรูปแบบ
รูปแบบนี้มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความรู้ ความเข้าใจในเรื่องที่เรียนอย่างแท้จริงโดยการให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยอาศัยความร่วมมือจากกลุ่ม นอกจากนั้นยังช่วยพัฒนาทักษะกระบวนการต่างๆ จำนวนมาก อาทิ กระบวนการคิด กระบวนการกลุ่ม การปฏิสัมพันธ์สังคม และกระบวนการแสวงหาความรู้ เป็นต้น
กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ
ซิปปา (CIPPA) เป็นการหลักซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นหลักในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆ ให้แก่ผู้เรียน การจัดกระบวนการเรียนการสอนตามหลัก “CIPPA” นี้สามารถใช้วิธีการและกระบวนการที่หลากหลาย ซึ่งอาจจัดเป็นแบบแผนได้หลายรูปแบบ รูปแบบหนึ่งที่ผู้เขียนได้นำเสนอไว้และได้มีการนำไปทดลองใช้แล้วได้ผลดี ประกอบด้วยขั้นตอนการดำเนินการ 7 ขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่ 1 การทบทวนความรู้เดิม
ขั้นนี้เป็นการดึงความรู้เดิมของผู้เรียนในเรื่องที่จะเรียน เพื่อช่วยให้ผู้เรียนมีความพร้อมในการเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิมของตน ซึ่งผู้สอนอาจใช้วิธีการต่างๆ ได้อย่างหลากหลาย
ขั้นที่ 2 การแสวงหาความรู้ใหม่
ขั้นนี้เป็นการแสวงหาข้อมูลความรู้ใหม่ของผู้เรียนจากแหล่งข้อมูลหรือแหล่งความรู้ต่างๆ ซึ่งครูอาจจัดเตรียมมาให้ผู้เรียนหรือให้คำแนะนำเกี่ยวกับแหล่งข้อมูลต่างๆ เพื่อให้ผู้เรียนไปแสวงหาก็ได้
ขั้นที่ 3 การศึกษาทำความเข้าใจข้อมูล/ความรู้ใหม่ และเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความเดิม
ขั้นนี้เป็นขั้นที่ผู้เรียนจะต้องศึกษาและทำความเข้าใจกับข้อมูล/ความรู้ที่หามาได้ ผู้เรียนจะต้องสร้างความหมายของข้อมูล/ประสบการณ์ใหม่ๆ โดยใช้กระบวนการต่างๆ ด้วยตนเอง เช่น ใช้กระบวนการคิด และกระบวนการกลุ่มในการอภิปรายและสรุปความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลนั้นๆ ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยการเชื่อมโยงกับความรู้เดิม
ขั้นที่ 4 การแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจกับกลุ่ม
ขั้นนี้เป็นขั้นที่ผู้เรียนอาศัยกลุ่มเป็นเครื่องมือในการตรวจสอบความรู้ความเข้าใจของตน รวมทั้งขยายความรู้ความเข้าใจของตนเองให้กว้างขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนได้แบ่งปันความรู้ความเข้าใจของตนแก่ผู้อื่น และได้รับประโยชน์จากความรู้ ความเข้าใจของผู้อื่นไปพร้อมๆ กัน
ขั้นที่ 5 การสรุปและจัดระเบียบความรู้
ขั้นนี้เป็นขั้นของการสรุปความรู้ที่ได้รับทั้งหมด ทั้งความรู้เดิมและความรู้ใหม่ และสิ่งที่เรียนให้เป็นระบบระเบียบเพื่อช่วยให้ผู้เรียนจดจำสิ่งที่เรียนรู้ได้ง่าย
ขั้นที่ 6 การปฏิบัติ และ/หรือการแสดงผลงาน
หากข้อความรู้ที่ได้เรียนรู้มาไม่มีการปฏิบัติ ขั้นนั้นจะเป็นขั้นที่ช่วยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสแสดงผลงานการสร้างความรู้ของตนเองให้ผู้อื่นรับรู้ เป็นการช่วยให้ผู้เรียนได้ตอกย้ำหรือตรวจสอบความเข้าใจของตนเองและช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้ความคิดสร้างสรรค์แต่หากต้องมีการปฏิบัติตามข้อความรู้ที่ได้ ขั้นนี้จะเป็นขั้นปฏิบัติ และมีการแสดงผลงานที่ได้ปฏิบัติด้วย
ขั้นที่ 7 การประยุกต์ใช้ความรู้
ขั้นนี้เป็นขั้นของการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนการนำความรู้ความเข้าใจของตนไปใช้ในสถานการณ์ต่างๆ ที่หลากหลายเพื่อเพิ่มความชำนาญ ความเข้าใจ ความสามารถในการแก้ปัญหาและความจำในเรื่องนั้นๆ
หลังจากการประยุกต์ใช้ในความรู้ อาจจะมีการนำเสนอผลงานจากการประยุกต์อีกครั้งก็ได้ หรืออาจไม่มีการนำเสนอผลงานในขั้นที่ 6 แต่นำมารวมแสดงในขั้นตอนท้ายหลังขั้นการประยุกต์ใช้ก็ได้เช่นกัน
ขั้นตอนตั้งแต่ขั้นที่ 1-6 เป็นกระบวนการของการสร้างความรู้ (construc-tion of knowledge) ซึ่งครูสามารถจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนมีโอกาสปฏิสัมพันธ์แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน (interaction) และฝึกฝนทักษะกระบวนการต่างๆ (process learning) อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากขั้นตอนแต่ละขั้นตอนช่วยให้ผู้เรียนได้ทำกิจกรรมหลากหลายที่มีลักษณะให้ผู้เรียนได้มีการเคลื่อนไหวทางกาย ทางสติปัญญา ทางอารมณ์ และทางสังคม อย่างเหมาะสม 6 ทีคุณสมบัติตามหลักการ CIPPส่วนขั้นตอนที่ 7 เป็นขั้นตอนที่ช่วยให้ผู้เรียนนำความรู้ไปใช้ (application) จึงทำให้เป็นรูปแบบนี้มีคุณสมบัติครบตามหลักCIPPA
ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนตามรูปแบบ
ผู้เรียนจะเกิดความเข้าใจในสิ่งที่เรียน สามารถอธิบาย ชี้แจง ตอบคำถามได้ดี นอกจากนั้นยังได้พัฒนาทักษะในการคิดวิเคราะห์ การคิดสร้างสรรค์ การทำงานเป็นกลุ่ม การสื่อสาร รวมทั้งเกิดความใฝ่รู้ด้วย
CIPPA Model นอกจากจะเป็นรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแล้ว ยังสามารถนำไปใช้เป็นตัวชี้วัด หรือเป็นเครื่องตรวจสอบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้ว่า กิจกรรมนั้นเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางหรือไม่ โดยนำเอากิจกรรมในแผนการสอนมาตรวจสอบตามหลัก CIPPAการจัดการเรียนการสอนแบบCIPPA
การจัดการเรียนการสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางนั้นก็คือ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมนั้น ทั้งทางร่างกาย สติปัญญา สังคมและอารมณ์
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมนั้น มิใช่หมายความแต่เพียงว่าให้ผู้เรียนได้ทำกิจกรรมอะไรๆ ก็ได้ที่ผู้เรียนชอบ กิจกรรมที่ครูจัดให้ผู้เรียนจะต้องเป็นกิจกรรมที่นำไปสู่การเรียนรู้ตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ และเป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา สังคม และอารมณ์ จึงจะสามารถทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี ดังนั้นครูที่จะสอนผู้เรียนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง จึงจำเป็นที่จะต้องออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนให้มีลักษณะดังนี้
1. เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมทางด้านกาย (Physical Participation) คือ เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเคลื่อนไหวร่างกาย เพื่อช่วยให้ประสาทการรับรู้ของผู้เรียนตื่นตัวพร้อมที่จะรับข้อมูลและการเรียนรู้ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น การรับรู้เป็นปัจจัยสำคัญในการเรียนรู้ หากผู้เรียนไม่มีความพร้อมในการรับรู้ แม้จะมีการให้ความรู้ที่ดีๆ ผู้เรียนก็ไม่สามารถรับได้ ซึ่งจะเห็นได้จากเหตุการณ์ที่พบได้เสมอๆ คือ หากผู้เรียนต้องนั่งนานๆ ไม่ช้า ผู้เรียนอาจหลับไป หรือคิดไปเรื่องอื่นๆ ได้ การเคลื่อนไหวทางกาย มีส่วนช่วยให้ประสาทรับรู้ตื่นตัว พร้อมที่จะรับและเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้ดี ดังนั้นกิจกรรมที่จัดให้ผู้เรียน จึงควรเป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เคลื่อนไหวในลักษณะใดลักษณะหนึ่งเป็นระยะๆ ตามความเหมาะสมกับวัยและระดับความสนใจของผู้เรียน
2. เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทางสติปัญญา (Intellectual Participation) คือเป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเคลื่อนไหวทางสติปัญญาหรือพูดง่ายๆ ว่า เป็นกิจกรรมที่ท้าทายความคิดของผู้เรียน ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความจดจ่อในการคิด สนุกที่จะคิด ดังนั้น กิจกรรมจะมีลักษณะดังกล่าวได้ ก็จะต้องมีเรื่องให้ผู้เรียนคิด โดยเรื่องนั้นจะต้องไม่ง่ายและไม่ยากเกินไปสำหรับผู้เรียน เพราะถ้าง่ายเกินไป ผู้เรียนก็ไม่จำเป็นต้องใช้ความคิด แต่ถ้ายากเกินไป ผู้เรียนก็จะเกิดความท้อถอยที่จะคิด ดังนั้นครูจึงต้องหาประเด็นที่เหมาะสมกับวัยและความสามารถของผู้เรียน เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนใช้ความคิดหรือลงมือทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
3. เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทางสังคม (Social Participation) คือ เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับบุคคลหรือสิ่งแวดล้อมรอบตัว เนื่องจากมนุษย์เป็นสัตว์สังคม ที่อาศัยรวมกันอยู่เป็นหมู่คณะ มนุษย์โดยทั่วไปจะต้องเรียนรู้ที่จะปรับตัวเข้ากับบริบทต่างๆ การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ทางสังคม ซึ่งจะส่งผลถึงการเรียนรู้ทางด้านอื่นๆ ด้วย ดังนั้น กิจกรรมการเรียนรู้ที่ดี จึงควรเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมรอบตัวด้วย
4. เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทางอารมณ์ (Emotional Participation) คือ กิจกรรมที่ส่งผลต่ออารมณ์ความรู้สึกของผู้เรียน ซึ่งจะช่วยให้การเรียนรู้นั้นเกิดความหมายต่อตนเอง กิจกรรมที่ส่งผลต่อความรู้สึกของผู้เรียนนั้น มักจะเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับชีวิต ประสบการณ์ และความเป็นจริงของผู้เรียน จะต้องเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับตัวผู้เรียนโดยตรงหรือใกล้ตัวผู้เรียน
คำชี้แจง : ข้อ 6-7 ให้นักเรียน ทำเครื่องหมาย ¡ หน้าคำตอบที่ถูกต้องที่สุด
6. รูปแบบการเรียนการสอนใด ใช้แนวคิดของ “Anchored Instruction” มาใช้เป็นชื่อการจัดการเรียนการสอนและนำมาใช้เป็นหลักการและแนวคิดของรูปแบบ
ก. รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้กิจกรรมทางกาย
ข. รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้สาระอิงบริบท
ค. รูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ตามแนวคิดของทฤษฏีคอนสตรัคติวิสต์
ง. รูปแบบการเรียนการสอนการเขียนภาษาอังกฤษแบบเน้นกระบวนการ
จ. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นทักษะปฏิบัติสำหรับครูวิชาอาชีพ
7. รูปแบบการเรียนการสอนใด มีวัตถุประสงค์ของรูปแบบโดยมุ่งพัฒนาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับงานที่ทำ และเกิดทักษะความสามารถที่จะทำงานนั้นได้อย่างชำนาญตามเกณฑ์ รวมถึงมีเจตคติที่ดีและลักษณะนิสัยที่ดีในการทำงานด้วย
ก. รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้กิจกรรมทางกาย
ข. รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้สาระอิงบริบท
ค. รูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ตามแนวคิดของทฤษฏีคอนสตรัคติวิสต์
ง. รูปแบบการเรียนการสอนการเขียนภาษาอังกฤษแบบเน้นกระบวนการ
จ. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นทักษะปฏิบัติสำหรับครูวิชาอาชีพ
คำชี้แจง : ข้อ 8-10 จงตอบคำถามต่อไปนี้ และเขียนคำตอบลงในกระดาษคำตอบ
8. จงอธิบายความหมายของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้โมเดลซิปปาให้ถูกต้องและชัดเจน
C – Construction of Knowledge คือ
หลักการสร้างความรู้ หมายถึง การให้ผู้เรียนสร้างความรู้ตามแนวคิดของ Constructivism ซึ่งเชื่อว่าการเรียนรู้เป็นประสบการณ์เฉพาะตนในการสร้างความหมายของสิ่งที่เรียนรู้ด้วยตนเอง กล่าวคือ กิจกรรมการเรียนรู้ที่ดีควรเป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนมีโอกาสสร้างความรู้ได้ด้วยตนเอง ทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจและเกิดการเรียนรู้ที่มีความหมายต่อตนเอง ซึ่งการที่ผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความรู้ด้วยตนเองนี้เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทางสติปัญญา
I – Interaction คือ
หลักการปฏิสัมพันธ์ หมายถึง การให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นหรือสิ่งแวดล้อมรอบตัว ซึ่งตามทฤษฎี Constructivismและ Cooperative Learning เชื่อว่าการเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสังคมที่บุคคลจะต้องอาศัยและพึ่งพาซึ่งกันและกันเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการอยู่ร่วมกัน กล่าวคือ กิจกรรมการเรียนรู้ที่ดีจะต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับบุคคล และแหล่งความรู้ที่หลากหลาย ซึ่งเป็นการช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทางสังคม
P – Process Skills คือ
หลักการเรียนรู้กระบวนการ หมายถึง การเรียนรู้กระบวนการต่างๆ เพราะทักษะกระบวนการเป็นเครื่องมือสำคัญในการเรียนรู้ ซึ่งมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าสาระ (Content) ของการเรียนรู้ กล่าวคือ กิจกรรมการเรียนรู้ที่ดีควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้กระบวนการต่างๆ เช่น กระบวนการคิด กระบวนการทำงาน กระบวนการแสวงหาความรู้ กระบวนการแก้ปัญหา กระบวนการกลุ่ม ฯลฯ ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต และเป็นสิ่งที่ผู้เรียนจำเป็นต้องใช้ตลอดชีวิต รวมทั้งเป็นการช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทางด้านสติปัญญาอีกทางหนึ่ง
P – Physical Participation คือ
หลักการมีส่วนร่วมทางร่างกาย หมายถึง การให้ผู้เรียนมีโอกาสได้เคลื่อนไหวร่างกาย โดยการทำกิจกรรมในลักษณะต่าง ๆ ซึ่งเป็นการช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทางกาย กล่าวคือ การเรียนรู้ต้องอาศัยการเรียนรู้การเคลื่อนไหวทางกายจะช่วยให้ประสาทการรับรู้ "active" และรับรู้ได้ดีดังนั้นในการสอนจึงจาเป็นต้องมีกิจกรรมให้ผู้เรียนต้องเคลื่อนไหวที่หลากหลาย และเหมาะสมกับวัยและความสนใจของผู้เรียน เพื่อช่วยให้ผู้เรียนมีความพร้อมในการรับรู้และเรียนรู้
A – Application คือ
หลักการประยุกต์ใช้ความรู้ หมายถึง การนาความรู้ไปประยุกต์ใช้ กล่าวคือ การนำความรู้ไปใช้ในชีวิตจริงหรือการปฏิบัติจริง จะช่วยให้ผู้เรียนได้รับประโยชน์จากการเรียน ทำให้เกิดการเรียนรู้เพิ่มเติมขึ้นเรื่อยๆ และเกิดการเรียนรู้ที่ลึกซึ้งขึ้น กิจกรรมการเรียนรู้ที่มีแต่เพียงการสอนเนื้อหาสาระให้ผู้เรียนเข้าใจ โดยขาดกิจกรรมการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ จะทำให้ผู้เรียนขาดการเชื่อมโยงระหว่างทฤษฎีกับการปฏิบัติ ซึ่งจะทำให้การเรียนรู้ไม่เกิดประโยชน์เท่าที่ควร การจัด กิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนสามารถนาความรู้ไปประยุกต์ใช้นี้ เท่ากับเป็นการช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ในด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายๆ ด้านแล้วแต่ลักษณะของสาระและกิจกรรมที่จัดนอกจากนี้ การนำความรู้ไปใช้เป็นประโยชน์ในการดำรงชีวิต เป็นเป้าหมายสำคัญของการจัดการศึกษาและการเรียนการสอน
9. “จากการศึกษารูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นโดยคนไทยแล้ว ปรากฏว่า รูปแบบการสอนทุกรูปแบบนั้นได้รับการพัฒนาอย่างเป็นระบบและได้รับการทดลองใช้เพื่อพิสูจน์ทดสอบประสิทธิภาพ” ท่านมีความคิดเห็นด้วยหรือไม่อย่างไรกับข้อความนี้ เพราะอะไร จงอธิบาย
การจัดการเรียนการสอนตาม CIPPA Model สามารถส่งเสริมให้ผู้เรียนมี ส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ทั้งทางด้านกาย สติปัญญา และสังคม ส่วนการมีส่วนร่วมทางด้านอารมณ์นั้น ความจริงแล้วมีเกิดขึ้นควบคู่ไปกับทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นทางด้านกาย สติปัญญา และสังคม ซึ่งหากครูสามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้ตามหลักดังกล่าวแล้ว การจัด การเรียนการสอนของครูก็จะมีลักษณะที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางอย่างแท้จริง วิธีการที่จะจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับ CIPPA Model สามารถทำได้โดยครูอาจเริ่มต้นจากแผนการสอนที่มีอยู่แล้ว และนำแผนดังกล่าวมาพิจารณาตาม CIPPA Model หากกิจกรรมตามแผนการสอนขาดลักษณะใดไป ก็พยายามคิดหากิจกรรมที่จะช่วยเพิ่มลักษณะดังกล่าวลงไป หากแผนเดิมมีอยู่บ้างแล้ว ก็ควรพยายามเพิ่มให้มากขึ้น เพื่อกิจกรรมจะได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เมื่อทำเช่นนี้ได้จนเริ่มชำนาญแล้ว ต่อไปครูก็จะสามารถวางแผนตาม CIPPA Model ได้ไม่ยากนัก
10. ท่านคิดว่า การศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบการเรียนการสอนโดยคนไทยรูปแบบใด มีประโยชน์ต่อนักเรียนมากที่สุด เพราะเหตุใด จงอธิบาย
การเรียนแบบนักเรียนเป็นศูนย์กลาง
เพราะ
1. มุ่งเน้นไปที่ให้มีการเรียนรู้อย่างมีการโต้ตอบ ใช้แนวคิดต่างๆ ร่วมกันเพื่อเชื่องต่อการเรียนรู้ใหม่กับการเรียนรู้เดิม กระตุ้นความสนใจและสิ่งที่เชื่องโยงกัน เปิดโอกาสให้ผู้เรียนหรือนักเรียนมีทางเลือกและควบคุม ปรับเปลี่ยน เพื่อความต้องการในการพัฒนาที่แตกต่างกันของแต่ละคน พร้อมกันนั้นยังให้การดูแลและสร้างบรรยากาศการที่ส่งเสริมการเรียนรู้
2.จัดโครงสร้างความรู้โดยผ่านการเรียนรู้ที่แท้จริง คือการเรียนในบรรยากาศจริงหรือในบริบทที่ความรู้เกิดขึ้นหรือถูกสร้างขึ้น หรือจะกล่าวได้อีกอย่างว่า เชื่อมต่อประสบการณ์การเรียนรู้ในโรงเรียนกับสถานการณ์ของโรลกความจริงนั้น เอง
3.นักเรียนมีส่วนร่วมในขั้นตอนการเรียนรู้ มากกว่าการเป็นผู้รับความรู้ นักเรียนจะได้รับโอกาสในการมีส่วนร่วมและเพิ่มความรู้สึกรับผิดชอบเพื่อให้ ทราบถึงทิศทางการเรียนรู้ของตัวเองและความต้องการในการเรียนรู้ของตนเอง รู้แหล่งของการเรียนรู้ และจัดโครงสร้างความรู้ตามความต้องการของตัวเอง
4.จัดกิจกรรมในชั้นเรียนและโครงงานที่แตกต่าง เพื่อให้ผู้เรียนหรือนักเรียนได้มีทางเลือกหลากหลายในการคัดสรรตามความต้อง การของนักเรียนแต่ละคน เป็นผลมาจากการตระหนักว่านักเรียนแต่ละคนมีศักยภาพต่างกัน มีความชื่นชอบในรูปแบบการเรียนรู้และมียุทธวิธีในการเรียนรู้ที่ต่างกัน
5.บรรยากาศในการเรียนรู้ กล่าวคือการเรียนรู้ควรเกิดขึ้นได้ทุกที่ และทุกเวลา ทั้งในรูปแบบต่างและในความหมายต่างๆ ที่สามารถสร้างสรรค์ได้ บรรยากาศการเรียนรู้เช่นนี้จะช่งยสร้างเสริมให้นักเรียนมีส่วนร่วมและมีความ รับผิดชอบในการศึกษาของตน ดังนั้นนักเรียนได้ถูกเตรียมตัวในบรรยากาศที่แท้จริงด้วยกิจกรรมนอกห้อง เรียนที่จะเพิ่มการเรียนรู้ของนักเรียนในมิติต่างๆ
6.นักเรียนถูกกระตุ้นจากภายใน (มีแรงจูงใจของตัวเอง) มากกว่าถูกกระตุ้นจากภายนอก (แรงจูงใจจากภายนอก) หรือกล่าวง่ายๆ ว่านักเรียนมีแรงจูงใจจากภายในไม่ใช่จากภายนอก ยกตัวอย่างเช่น นักเรียนพิมพ์รายงานส่งเพราะนักเรียนต้องการสร้างความภูมิใจให้งานของตัวเอง ไม่ใช่ต้องการให้คนอื่นชื่นชมวิธีการนำเสนอนี้
ชื่อ-นามสกุล นายชนปฏิวัติ น้อยนาง รหัสนักศึกษา 593150310559
สาขาวิชาภาษาอังกฤษ ห้อง 2
*คำคมฝากคิด
You can be the one in a million. Don’t be discouraged by the odds to succeed.”
“คุณสามารถ เป็นหนึ่งในล้านได้ อย่าให้ความท้อถอย มาทำลายความสำเร็จ”
#เดวิด เบคแฮม
เพราะ
1. มุ่งเน้นไปที่ให้มีการเรียนรู้อย่างมีการโต้ตอบ ใช้แนวคิดต่างๆ ร่วมกันเพื่อเชื่องต่อการเรียนรู้ใหม่กับการเรียนรู้เดิม กระตุ้นความสนใจและสิ่งที่เชื่องโยงกัน เปิดโอกาสให้ผู้เรียนหรือนักเรียนมีทางเลือกและควบคุม ปรับเปลี่ยน เพื่อความต้องการในการพัฒนาที่แตกต่างกันของแต่ละคน พร้อมกันนั้นยังให้การดูแลและสร้างบรรยากาศการที่ส่งเสริมการเรียนรู้
2.จัดโครงสร้างความรู้โดยผ่านการเรียนรู้ที่แท้จริง คือการเรียนในบรรยากาศจริงหรือในบริบทที่ความรู้เกิดขึ้นหรือถูกสร้างขึ้น หรือจะกล่าวได้อีกอย่างว่า เชื่อมต่อประสบการณ์การเรียนรู้ในโรงเรียนกับสถานการณ์ของโรลกความจริงนั้น เอง
3.นักเรียนมีส่วนร่วมในขั้นตอนการเรียนรู้ มากกว่าการเป็นผู้รับความรู้ นักเรียนจะได้รับโอกาสในการมีส่วนร่วมและเพิ่มความรู้สึกรับผิดชอบเพื่อให้ ทราบถึงทิศทางการเรียนรู้ของตัวเองและความต้องการในการเรียนรู้ของตนเอง รู้แหล่งของการเรียนรู้ และจัดโครงสร้างความรู้ตามความต้องการของตัวเอง
4.จัดกิจกรรมในชั้นเรียนและโครงงานที่แตกต่าง เพื่อให้ผู้เรียนหรือนักเรียนได้มีทางเลือกหลากหลายในการคัดสรรตามความต้อง การของนักเรียนแต่ละคน เป็นผลมาจากการตระหนักว่านักเรียนแต่ละคนมีศักยภาพต่างกัน มีความชื่นชอบในรูปแบบการเรียนรู้และมียุทธวิธีในการเรียนรู้ที่ต่างกัน
5.บรรยากาศในการเรียนรู้ กล่าวคือการเรียนรู้ควรเกิดขึ้นได้ทุกที่ และทุกเวลา ทั้งในรูปแบบต่างและในความหมายต่างๆ ที่สามารถสร้างสรรค์ได้ บรรยากาศการเรียนรู้เช่นนี้จะช่งยสร้างเสริมให้นักเรียนมีส่วนร่วมและมีความ รับผิดชอบในการศึกษาของตน ดังนั้นนักเรียนได้ถูกเตรียมตัวในบรรยากาศที่แท้จริงด้วยกิจกรรมนอกห้อง เรียนที่จะเพิ่มการเรียนรู้ของนักเรียนในมิติต่างๆ
6.นักเรียนถูกกระตุ้นจากภายใน (มีแรงจูงใจของตัวเอง) มากกว่าถูกกระตุ้นจากภายนอก (แรงจูงใจจากภายนอก) หรือกล่าวง่ายๆ ว่านักเรียนมีแรงจูงใจจากภายในไม่ใช่จากภายนอก ยกตัวอย่างเช่น นักเรียนพิมพ์รายงานส่งเพราะนักเรียนต้องการสร้างความภูมิใจให้งานของตัวเอง ไม่ใช่ต้องการให้คนอื่นชื่นชมวิธีการนำเสนอนี้
ชื่อ-นามสกุล นายชนปฏิวัติ น้อยนาง รหัสนักศึกษา 593150310559
สาขาวิชาภาษาอังกฤษ ห้อง 2
*คำคมฝากคิด
You can be the one in a million. Don’t be discouraged by the odds to succeed.”
“คุณสามารถ เป็นหนึ่งในล้านได้ อย่าให้ความท้อถอย มาทำลายความสำเร็จ”
#เดวิด เบคแฮม
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น