สัปดาห์ 15 คำถามท้ายบท


คำถามท้ายบท
คำถามท้ายบทที่ 1
1.เมื่อนักศึกษาได้ศึกษาเรื่อง เเนวคิดการออกแบบการเรียนการสอนในบทที่ 1 ท่านคิดว่าการออกแบบการเรียนการสอนมีความสำคัญต่อนักเรียน ครูผู้สอนเเละสถานศึกษาอย่างไร จงอธิบายเเละให้เหตุผลที่สอดคล้องกัน
การออกแบบการเรียนการสอนมีความสำคัญต่อนักเรียน คือ นักเรียนได้เรียนตามความสนใจ ความถนัด เเละความสามารถของเเต่ละบุคคล เเละประสบผลสำเร็จในการเรียน ได้รีบประสบการณ์ทางการเรียนด้วยความสนุกสนานรู้สึกว่าตนมีความสำคัญเพราะได้มีส่วนร่วมในฐานะสมาชิก  มีผู้ฟังเรื่องราวของตนเองและได้รับรู้เรื่องราวของคนอื่น  นอกจากจะได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์แล้วยังทำให้สัมพันธภาพในกลุ่มผู้เรียนเป็นไปด้วยดี
การออกแบบการเรียนการสอนมีความสำคัญต่อครูผู้สอน คือ ได้วางเเผนการเรียนการสอนเเละได้ปรับปรุงพัฒนาการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับนักเรียนเเต่ละบุคคล ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพเเละประสิทธิผลทางการเรียนเเละยกระดับความสามารถของนักเรียนตามความสนใจ ความถนัด เเละความสามารถของนักเรียน
การออกแบบการเรียนการสอนมีความสำคัญต่อสถานศึกษา คือ สามารถยกระดับมาตรฐานทางการเรียนของสถานศึกษาเเละสามารถพัฒนาผู้เรียนได้ตรงกับวัตถุประสงค์ของสถานศึกษา เเละสรา้งความน่าเชื่อถือให้แก่สถานศึกษาในการพัฒนาผู้เรียนให้มีประสิทธิภาพ



2.ท่านคิดว่าการเรียนการสอนเเบบดั้งเดิมเเละการเรียนการสอนเชิงระบบมีข้อดีเเละข้อเสียอย่างไร จงอธิบายเเละให้เหตุผลสนับสนุนคำตอบ
การเรียนการสอนเเบบดั้งเดิม
ข้อดี คือ
มีตัวเลือกในการเรียนเยอะกว่า
 -มีโอกาสในการทำงานในมหาวิทยาลัย
 -มีสังคมและสภาพแวดล้อมที่ดีกว่า
          -ได้สัมผัสกับประสบการณ์ในการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัย
          ข้อเสีย
                    -ค่าใช้จ่ายสูงกว่า
-ข้อกำหนดคุณสมบัติในการเข้าเรียนเยอะและเข้มงวด
-การเรียนการสอนไม่ตอบสนองความสามารถของนักเรียน
-การประเมินไม่มีคุณภาพเเละไม่หลากหลาย
การเรียนการสอนเชิงระบบ
ข้อดี คือ
-มีการประเมินตามความต้องการเเละจำเป็น หลากหลายเเละตรงวัตถุประสงค์
-มีการกำหนดวัตถุประสงค์ก่อนเรียน ทำให้ผู้เรียนทราบว่าต้องเรียนรู้อะไร
-มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดี
-นักเรียนได้รับความรู้ตามวัตถุประสงค์
-นักเรียนได้เรียนในรูปแบบที่หลากหลาย
ข้อเสีย คือ
-นักเรียนอาจจะได้รับความกดดันทางการเรียน
-นักเรียนบางกลุ่มอาจจะไม่ได้รับความรู้เท่าที่ควร
-ค่าใช้จ่ายต่างๆมีมาก



3.จงเขียนภาพรวมของเนื้อหาสาระสำคัญของบทที่ 1 เรื่อง เเนวคิดการออกแบบการเรียนการสอน ให้อยู่ในรูปของแผนผังความคิด(Mind Mapping) โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์เเละนำเสนอเนื้อหาให้สมบูรณืมากที่สุด 



คำถามท้ายบทที่ 2
1.จากเนื้อหาบทที่ 2 เรื่อง วิธีการสอนเเละการจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เราจะเห็นได้ว่ามีวิธีการสอนเเละรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญที่หลากหลายท่านคิดว่าวิธีการสอนแบบใดที่มีความน่าสนใจต่อตัวท่านมากที่สุดมา 3 อันดับเเรก เพราะเหตุใด จงอธิบายเเละให้เหตุผล
 1. วิธีการสอนแบบแก้ปัญหา (Problem-Solving Method)
เป็นวิธีที่ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยการเรียนรู้ด้วยตนเองทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมายเเละคงทน เป็นเเนวคิดของ จอห์น ดิวอี้ โดยอาศัยหลักวิธีการสอนที่ใช้แก้ปัญหาของนักเรียน โดยครูเป็นผู้ชี้เเนะเท่านั้น ซึ่งวิธีนี้มีขั้นตอน คือ
                  1.ขั้นกำหนดปัญหา ผู้สอนและผู้เรียนอาจร่วมกันตั้งปัญหา ปัญหาที่นำมานั้นอาจมาจากแหล่งต่างๆ
       2.ขั้นตั้งสมมติฐาน การตั้งสมมติฐานเป็นการคาดคะเนคำตอบของปัญหา โดยใช้ความรู้และประสบการณ์ช่วยในการคาดคะเน
                    3.ขั้นวางแผนแก้ปัญหา
                    4.ขั้นการเก็บและการรวบรวมข้อมูล ผู้เรียนจะศึกษาค้นคว้าความรู้จากแหล่งต่างๆ เพื่อนำข้อมูลมาทดสอบสมมติฐาน
                   5.ขั้นวิเคราะห์ข้อมูลและทดสอบสมมติฐาน ผู้เรียนก็นำข้อมูลนั้นๆ มาพิจารณาว่าจะน่าเชื่อถือหรือไม่ประการใด เพื่อนำข้อมูลนั้นๆ ไปวิเคราะห์และทดสอบสมมติฐานที่ตั้งไว้ว่าเป็นไปตามที่กำหนดหรือไม่
                  6.ขั้นสรุปผล เป็นขั้นที่นำข้อมูลมาพิจารณาแปลความหมายระหว่างสาเหตุกับผลที่เกิดขึ้น
ซึ่งวิธีนี้จะทำให้ผู้เรียนได้รับประโยชน์ ได้แก่
               1.การเสนอปัญหาที่น่าสนใจจะทำให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นในการเรียน
                2.ผู้เรียนได้ฝึกคิดแก้ปัญหาด้วยตนเอง มีการฝึกทักษะ การสังเกต วิเคราะห์ หาเหตุผลใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ
                3.ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการทำงานร่วมกับการทำกิจกรรมกลุ่ม เป็นการฝึกวิถีชีวิตประชาธิปไตย
                4.ผู้เรียนได้ฝึกการค้นคว้าหาข้อมูลจากแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ ทำให้ได้รับประสบการณ์
การเรียนรู้ที่หลากหลาย
                5.ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจจากประสบการณ์ตรง  เป็นประโยชน์ในการนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต
          2.การเรียนการสอนแบบCIPPA
          เป็นการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เเละให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเองเเละลงมือปฏิบัติจริง  เเละมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความรู้ ความเข้าใจในเรื่องที่เรียนอย่างแท้จริง โดยการให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยอาศัยความร่วมมือจากกลุ่ม โดยการใช้กิจกรรมที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง 5 ด้าน ได้แก่
                       1.Construct หรือ การสร้างความรู้ตามเเนวคิดของConstructivism ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเอง
                      2.Interaction หรือ การปฏิสัมพันธ์ หมายถึง ผู้เรียนมีโอกาสปฏิสัมพันธ์กับผู้สอน สื่อ และสิ่งเเวดล้อมรอบตัว
                      3. Physical Participation หรือการมีส่วนร่วมทางกาย  หมายถึง  คือการให้ผู้เรียนมีบทบาท มีส่วนร่วมในการเรียนรู้มากที่สุด
                     4.Process Learning หรือ กระบวนการเรียนรู้ต่างๆ หมายถึง การให้ผู้เรียนได้เรียนรู้กระบวนการควบคู่ไปกับผลงาน ข้อความที่สรุปได้
                     5.Application หรือการประยุกต์ใช้ หมายถึง การให้ผู้เรียนนำความรู้ที่ได้ไปใช้ให้เป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
          กระบวนการเรียนการสอนของแผนการสอนแบบCIPPA
       ประกอบด้วยขั้นตอนการดำเนินการ 7 ขั้นตอน ดังนี้
               ขั้นที่ 1 การทบทวนความรู้เดิม
เป็นการดึงความรู้เดิมของผู้เรียนในเรื่องที่จะเรียน เพื่อช่วยให้ผู้เรียนมีความพร้อมในการเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิม ของตน ซึ่งผู้สอนอาจใช้วิธีการต่าง ได้อย่างหลากหลาย
               ขั้นที่ 2 การแสวงหาความรู้ใหม่
เป็นการแสวงหาความรู้ข้อมูลความรู้ใหม่ของผู้เรียนจากแหล่งข้อมูลหรือ แหล่งความรู้ต่าง ซึ่งครูอาจจัดเตรียมมาให้ผู้เรียนหรือให้คำแนะนำเกี่ยวกับแหล่งข้อมูลต่าง เพื่อให้ผู้เรียนไปแสวงหาก็ได้
              ขั้นที่ 3 การศึกษาทำความเข้าใจข้อมูล/ความรู้ใหม่ และเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิม
เป็นขั้นที่ผู้เรียนจะต้องศึกษาและทำความเข้าใจกับข้อมูล/ความรู้ที่หา มาได้ ผู้เรียนจะต้องสร้างความหมายของข้อมูล/ประสบการณ์ใหม่ๆโดยใช้กระบวนการต่าง ด้วยตนเอง เช่น ใช้กระบวนการคิด และกระบวนการกลุ่มในการอภิปรายและสรุปความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลนั้น ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยการเชื่อมโยงกับความรู้เดิม
              ขั้นที่ 4 การแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจกับกลุ่ม
เป็นขั้นที่ผู้เรียนอาศัยกลุ่มเป็นเครื่องมือในการตรวจสอบความรู้ความ เข้าใจของตน รวมทั้งขยายความรู้ความเข้าใจของตนให้กว้างขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนได้แบ่งปันความรู้ความเข้าใจของตนแก่ผู้อื่น และได้รับประโยชน์จากความรู้ ความเข้าใจของผู้อื่นไปพร้อมกัน
              ขั้นที่ 5 การสรุปและจัดระเบียบความรู้
เป็นขั้นของการสรุปความรู้ที่ได้รับทั้งหมด ทั้งความรู้เดิมและความรู้ใหม่ และจัดสิ่งที่เรียนให้เป็นระบบระเบียบเพื่อช่วยให้ผู้เรียนจดจำสิ่งที่ เรียนรู้ได้ง่าย
              ขั้นที่ 6 การปฏิบัติ และ/ หรือการแสดงผลงาน
เป็นขั้นที่ช่วยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสแสดงผลงานการสร้างความรู้ ของตนให้ผู้อื่นรับรู้ เป็นการช่วยให้ผู้เรียนได้ตอกย้ำหรือตรวจสอบความเข้าใจของตนและส่งเสริมให้ ผู้เรียนใช้ความคิดสร้างสรรค์ แต่หากต้องมีการปฏิบัติตามข้อความรู้ที่ได้ ขั้นนี้จะเป็นขั้นปฏิบัติ และมีการแสดงผลงานที่ได้ปฏิบัติด้วย
              ขั้นที่ 7 การประยุกต์ใช้ความรู้
เป็นขั้นของการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนการนำความรู้ความเข้าใจไปใช้ ในสถานการณ์ต่าง ที่หลากหลายเพื่อเพิ่มความชำนาญ
          3.วิธีการสอนเเบบศูนย์การเรียน(Learning Center)เป็นวิธีการสอนที่ทำให้ผู้เรียนได้เกิดการเเลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกัน โดยเเบ่งบทเรียนออกเป็น4-6 กลุ่ม เเต่ละศูนย์ประกอบกิจกรรมเเตกต่างกันออกไปตามที่กำหนดไว้ในชุดการสอน เเต่ละกลุ่มจะมีสื่อการเรียนที่จัดไว้ในกล่องวางบนโต๊ะ โดยเเต่ละกลุ่มหมุนเวียนกันประกอบกิจกรรมตามศูนย์ต่างๆ เเห่งละ 15-20 นาที จนครบทุกศูนย์
          ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้เเบบศูนย์การเรียน
             1.ขั้นเตรียมการ
    ก่อนจะทำการสอนทุกครั้งผู้สอนจะต้องศึกษาข้อมูลและรายละเอียดต่าง ในคู่มือการสอน เริ่มตั้งแต่
จุดประสงค์การเรียนรู้ การนำเข้าสู่บทเรียน การแบ่งกลุ่มผู้เรียน ระยะเวลาที่เหมาะสมในการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละศูนย์ /กลุ่ม / ฐานการเรียนรู้ เนื้อหาวิชาที่จะสอน วิธีการใช้สื่อต่าง ประกอบการสอน
วิธีการวัดประเมินผล จนถึงการสรุปบทเรียน เตรียมวัสดุอุปกรณ์ทุกอย่างเเละเตรียมสถานที่
            2.ขั้นสอน
    สร้างกติกาการเรียนรู้ร่วมกัน ผู้สอนชี้แจงกระบวนการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียนและสร้างกติกาหรือ
ข้อตกลงร่วมกัน เช่น การรักษาเวลาในการเรียนรู้แต่ละศูนย์ การทำงานเป็นทีม ความรับผิดชอบ
ในการทำกิจกรรม เป็นต้น
                  3.ขั้นสรุปบทเรียน
      หลังจากที่ผู้เรียนหมุนเวียนกันทำกิจกรรมครบศูนย์ / กลุ่ม / ฐานการเรียนรู้แล้ว ผู้สอนตั้งคำถามให้ผู้เรียนสะท้อนความรู้สึกและบทเรียนที่ได้รับ  ผู้สอนทำหน้าที่สรุปบทเรียนทั้งหมดร่วมกับผู้เรียน
              4.ขั้นประเมินผล
      เมื่อสรุปบทเรียนแล้วให้ผู้เรียนทำการทดสอบหลังเรียน พร้อมทั้งแจ้งผลการทดสอบให้ทุกคน
ทราบพัฒนาการของตนเองเมื่อเปรียบเทียบกับผลการทดสอบก่อนเรียน


2.ท่านคิดว่า วิธีการสอนเเละการจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีความสำคัญเเละประโยชน์ต่อนักเรียน ครูผู้สอนเเละสถานศึกษาของไทยอย่างไร จงอธิบายเเละให้เหตุผลทีี่สอดคล้องกัน
 วิธีการสอนเเละการจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีความสำคัญเเละประโยชน์ต่อนักเรียน คือ
-ผู้เรียนได้เรียนรู้จากกิจกรรมเเละรุปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายน่าสนใจ
-ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง
-ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้จริง
-ผู้เรียนเกิดทักษะอื่นๆ เช่น ทักษะการทำงาน ทักษะสังคม ทักษะการแก้ปัญหา
-ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองตามความสามารถ ความสนใจเเละตามศักยภาพ
 วิธีการสอนเเละการจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีความสำคัญเเละประโยชน์ต่อครูผู้สอน คือ
-มีรูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายทำให้สามารถจัดการเรียนการสอนที่ไม่น่าเบื่อ ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
-ปรับปรุงการเรียนการสอนได้อย่างรวดเร็ว
-สามารถยกระดับความสามารถของผู้เรียนได้อย่างเเท้จริง
  วิธีการสอนเเละการจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีความสำคัญเเละประโยชน์ต่อสถานศึกษา คือ
-ทำให้สถานศึกษามีมาตรฐานเเละผลสัมฤทธิ์ที่ดี
-มีวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของสถานศึกษาที่ชัดเจน
-การบริหารงานหรือการขับเคลื่อนสถานศึกษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
-ตอบสนองความต้องการของหลักสูตรได้อย่างถูกต้อง


3.จงเขียนภาพรวมของเนื้อหาสาระสำคัญของบทที่ 2 เรื่องวิธีการสอนเเละการจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ให้อยู่ในรูปของแผนผังความคิด(Mind Mapping) โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์เเละนำเสนอเนื้อหาให้สมบูรณ์มากที่สุด




คำถามท้ายบทที่ 3
1.จากเนื้อหาบทที่ 3 เรื่อง รูปแบบการเรียนการสอน เราจะเห็นได้ว่ามีรูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลาย ท่านคิดว่ารุปแบบการเรียนการสอนแบบใดที่มีความน่าสนใจในการพัฒนาการเรียนการสอนมากที่สุดมา 3 อันดับเเรก เเละเพราะเหตุใด จงอธิบายเเละให้เหตุผลสนับสนุนคำตอบ
1.รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้บทบาทสมมติ (Role Playing Model)
            พัฒนาขึ้นโดย แชฟเทลและแชฟเทล (Shaftel  and  Shaftel, 1967: 67-71) ซึ่งให้ความสำคัญกับปฏิสัมพันธ์ทางสังคมของบุคคล เขากล่าวว่า บุคคลสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับตนเองได้จากการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และความรู้สึกนึกคิดของบุคคลก็เป็นผลมาจากมีการปะทะสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมรอบข้าง และได้สั่งสมไว้ภายในลึก โดยที่บุคคลอาจไม่รู้ตัวเลยก็ได้ การสวมบทบาทสมมติเป็นวิธีการที่ช่วยให้บุคคลได้แสดงความรู้สึกนึกคิดต่าง ที่อยู่ภายในออกมา ทำให้สิ่งที่ซ่อนเร้นอยู่เปิดเผยออกมา และนำมาศึกษาทำความเข้าใจกันได้ ช่วยให้บุคคลเกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับตนเอง เกิดความเข้าใจในตนเอง ในขณะเดียวกัน การที่บุคคลสวมบทบาทของผู้อื่น ก็สามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจในความคิด ค่านิยม และพฤติกรรมของผู้อื่นได้เช่นเดียวกัน        
   2. รูปแบบการเรียนการสอนโดยตรง (Direct Instruction Model)                จอยส์ และวีล (Joyce and Weil, 1996: 334) อ้างว่า มีงานวิจัยจำนวนไม่น้อยที่ชี้ให้เห็นว่า การสอนโดยมุ่งเน้นการให้ความรู้ที่ลึกซึ้ง ช่วยให้ผู้เรียนรู้สึกว่ามีบทบาทในการเรียน ทำให้ผู้เรียนมีความตั้งใจในการเรียนรู้และช่วยให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จในการเรียน นอกจากนั้นยังพบว่า บรรยากาศการเรียนที่ไม่ปลอดภัยสำหรับผู้เรียน สามารถสกัดกั้นความสำเร็จของผู้เรียนได้ ดังนั้น ผู้เรียนจึงจำเป็นต้องระมัดระวัง ไม่ทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกในทางลบ เช่น การดุด่าว่ากล่าว การแสดงความไม่พอใจ หรือวิพากษ์วิจารณ์ผู้เรียน
3.การจัดการเรียนรู้แบบ STAD          เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ซึ่งกำหนดให้นักเรียนที่มีความสามารถแตกต่างกัน ทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มๆ ละ4-5 คน ซึ่งประกอบด้วย นักเรียนที่เรียนเก่ง 1 คน นักเรียนที่เรียนปานกลาง 2-3 คน และนักเรียนที่เรียนอ่อน 1 คน

2.จงหาตัวอย่างแผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 1 แผ่น ที่ได้นำเเนวทางการจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบการสอนเแบบต่างๆที่ปรากฏในเนื้อหาบทที่ 3 โดยค้นหาเเละดาวน์โหลดจากงานวิจัยตามฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ออนไลน์(Thailis)หรือเเหล่งสืบค้นวิทยานิพนธ์ตามเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยภายในประเทศ เช่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นต้น เเล้วออกมานำเสนอหน้าขั้นเรียน


3.จงเขียนภาพรวมของเนื้อหาสาระสำคัญของบทที่ 3 เรื่อง รูปแบบการเรียนการสอน ให้อยู่ในรูปของแผนผังความคิด(Mind Mapping) โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์เเละนำเสนอเนื้อหาให้สมบูรณืมากที่สุด




คำถามท้ายบทที่ 4
1.ในฐานะที่ท่านเป็นผู้ออกแบบการเรียนการสอน ท่านคิดว่ากลยุทธ์การเรียนการสอนมีประโยชน์ต่อตัวท่านเเละผู้เรียนอย่างไร จงอธิบายเเละให้เหตุผลสนับสนุน
กลยุทธ์การเรียนการสอนมีประโยชน์ต่อครูผู้สอน คือ สามารถนำไปใช้ในการนำเสนอเนื้อหาวิชาให้กับผู้เรียนเเละเกิดประสิทธิภาพต่อผู้เรียน ทำให้การเรียนการสอนมีความน่าสนใจมากขึ้นเเละการเรียนการสอนประสบผลสำเร็จอย่างรวดเร็ว
กลยุทธ์การเรียนการสอนมีประโยชน์ต่อผู้เรียน คือ ทำให้ผู้เรียนได้รับการเรียนรู้ที่รวดเร็ว เข้าใจง่ายเเละเกิดผลประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียน


2.จงเขียนภาพรวมของเนื้อหาสาระสำคัญของบทที่ 4 เรื่อง กลยุทธ์การเรียนการสอน ให้อยู่ในรูปของแผนผังความคิด(Mind Mapping) โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์เเละนำเสนอเนื้อหาให้สมบูรณืมากที่สุด





คำถามท้ายบทที่ 5
1.ตามความเข้าใจของท่าน การจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมีความหมายว่าอย่างไรเเละเหตุใดการปฏิรูปการศึกษาจึงให้ความสำคัญกับการจัดการเรียนรู้ดังกล่าว
การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ หมายถึง การจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีบทบาทสำคัญในการเป็นผู้เรียนรู้ โดยพยายามจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้สร้างความรู้ ได้มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคล สื่อ และสิ่งแวดล้อมต่าง โดยใช้กระบวนการต่าง เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ และนักเรียนมีโอกาสนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์อื่น การปฏิรูปการศึกษาจึงให้ความสำคัญกับการปฏิรูปการศึกษาจึงให้ความสำคัญกับการจัดการเรียนรู้เพราะเป็นรูปแบบการจัดการเรยีนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนสรา้งความรู้ด้วยตนเองซึ่งจะทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างเเท้จริงเเละเกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย



2.จากตัวอย่างของวิธีการสอนตามเส้นทางดำเนินเรื่องในหน้า 230 เเละ 231 ในหัวข้อเรื่องป่าไม้ ท่านคิดว่า ผู้เรียนจะได้พัฒนาตนเองในด้านใดบ้าง ที่สอดคล้องกับการจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จงอธิบายเเละให้เหตุผล
วิธีการสอนตามเส้นทางดำเนินเรื่องในหน้า 230 เเละ 231 ในหัวข้อเรื่องป่าไม้ ผู้เรียนจะได้พัฒนาตนเอง ดังนี้
1.เทคนิคการสร้างความรู้ด้วยตัวเอง
ในการเรียนตามทฤษฎี Constructionism ผู้เรียนจะมีบทบาทเป็นผู้ปฎิบัติและสร้างความรู้ไปพร้อมๆกันด้วยตัวของเขาเอง(ทำไปและเรียนรู้ไปพร้อมๆกัน) ซึ่งผู้เรียนจะได้เรียนรู้เเละพัฒนาความคิดด้วยตนเองทำให้เกิดการเรียนรู้ที่คงทน
2.เทคนิคการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ทำงานร่วมกับคนอื่น
ผู้เรียนได้เรียนรู้ร่วมกัน เป็นการจัดการเรียนการสอนที่แบ่งผู้เรียนออกเป็นกลุ่มย่อยๆ กลุ่มละ 4-5 คน โดย  สมาชิกในกลุ่มมีระดับความสามารถแตกต่างกัน สมาชิกทุกคนมีบทบาทหน้าที่ร่วมกันในการปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมาย มีเป้าหมายและมีโอกาสได้รับรางวัลของความสำเร็จร่วมกัน วิธีการแบบนี้ผู้เรียนจะมีโอกาสสร้างปฏิสัมพันธ์ร่วมกันในเชิงบวก มาปฏิสัมพันธ์แบบเผชิญหน้ากัน ได้มีโอกาสรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายจากกลุ่ม ได้พัฒนาทักษะทางสังคมและได้ใช้กระบวนการกลุ่มในการทำงานเพื่อสร้างความรู้ให้กับตนเอง
3. เทคนิคการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
ผู้สอนสามารถจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนประยุกต์ใช้ความรู้ได้โดยสร้างสถานการณ์ให้ผู้เรียนต้องแก้ปัญหาและนำความรู้ที่เรียนมาประยุกต์ใช้ หรือให้ผู้เรียนแสดงความรู้นั้นออกมาในลักษณะต่างๆ


3.จงเขียนภาพรวมของเนื้อหาสาระสำคัญของบทที่ 5 เรื่อง การจัดการเรียนรู้ตามเเนวทางการปฏิรูปการศึกษา ให้อยู่ในรูปของแผนผังความคิด(Mind Mapping) โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์เเละนำเสนอเนื้อหาให้สมบูรณ์มากที่สุด




คำถามท้ายบทที่ 6
1.สื่อการเรียนการสอนคืออะไร มีประโยชน์อย่างไร  ท่านเคยมีความประทับใจจากการที่ได้รับประสบการณ์การเรียนรู้ในรายวิชาที่มีการใช้สื่อการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพหรือไม่ เเละผู้สอนใช้สื่อการเรียนการสอนนั้นอย่างไร จงอธิบาย
สื่อการเรียนการสอน  หมายถึง  สิ่งต่างๆ ที่เป็นบุคคล วัสดุ อุปกรณ์ ตลอดจนเทคนิควิธีการ ซึ่งเป็นตัวกลางทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ของการเรียนการสอนที่กำหนดไว้ได้อย่างง่ายและรวดเร็วเป็นเครื่องมือและตัวกลางซึ่งมีความสำคัญในกระบวนการเรียนการสอนมีหน้าที่เป็นตัวนำความต้องการของครูไปสู่ตัวนักเรียนอย่างถูกต้องและรวดเร็วเป็นผลให้นักเรียนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปตามจุดมุ่งหมายการเรียนการสอนได้
ประโยชน์ของสื่อการเรียนการสอน มีดังนี้
          1. ช่วยให้นักเรียนรับรู้ แจ่มแจ้งชัดเจนขึ้น
          2. ช่วยให้นักเรียนสนใจในบทเรียนมากขึ้นเพราะสื่อการเรียนการสอนจะเร้าความสนใจ ทำให้ผู้เรียนกระตือรือร้นในเรื่องที่เรียน และมีส่วนร่วมในการเรียน
          3. ช่วยประหยัดเวลาเรียน โดยใช้เวลาน้อย แต่นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้มากขึ้น
          3. ลดการบรรยายของผู้สอน แต่ช่วยให้เข้าใจง่ายขึ้น
          4. ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความประทับใจ และจดจำได้นาน
          5. ช่วยให้การเรียนมีประสิทธิภาพขึ้น
          6. ส่งเสริมการคิดและแก้ปัญหาในการเรียนรู้
          7. ทำให้นักเรียนเกิดการอยากรู้อยากเห็น เพราะเป็นการให้ข้อเท็จจริง
          8. ช่วยให้ผู้เรียนได้พัฒนาความคิด
          9. สะดวกในการสอนของครู
          10. สามารถสัมผัสและรับรู้ได้โดยง่ายอย่างถูกต้องเหมาะสม
เคยมีความประทับใจเกี่ยวกับการใช้สื่อในการประกอบการเรียนการสอน โดยครูใช้สื่อจากสถานที่จริง ทำให้นักเรียนสามารถเรียนรู้จากของจริง จึงมีความน่าสนใจ


2.หากท่านมีโอกาสจัดการเรียนการสอนเรื่อง “อาหารพื้นเมืองอีสาน” ให้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ท่านจะเลือกใช้สื่อการเรียนกาารสอนอะไรบ้าง เพราะเหตุใด จงอธิบาย
1.การศึกษานอกสถานที่ ซึ่งจะให้นักเรียนออกไปศึกษาอาหารพื้นเมืองของอีสานในเเต่ละหมู่บ้านร่วมกันเเล้วนำความรู้มาสรุปร่วมกัน
2.ของจริงเเละตัวอย่าง จะนำอาหารพื้นเมืองอีสานมาให้นักเรียนเรียนรู้เเละลงมือปฏิบัติการทำอาหารพื้นเมืองอีสาน


3.จงเขียนภาพรวมของเนื้อหาสาระสำคัญของบทที่ 6 เรื่อง การเลือกและพัฒนาสื่อการเรียนการสอน ให้อยู่ในรูปของแผนผังความคิด(Mind Mapping) โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์เเละนำเสนอเนื้อหาให้สมบูรณ์มากที่สุด




คำถามท้ายบทที่ 7
1.จากการศึกษาข้อมูลในบทที่ 7 ท่านคิดว่าการวางเเผนการเขียนแผนการสอนเเละแผนการจัดการเรียนรู้นั้นมีความยาก/ความง่ายเพียงใดเเละขั้นตอนการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ สำหรับตัวท่านเเล้ว ขั้นตอนใดมีความยาก/ง่ายที่สุดในการพัฒนา 3 อันดับเเรก เพราะเหตุใด จงอธิบาย
การวางเเผนการเขียนแผนการสอนเเละแผนการจัดการเรียนรู้นั้นมีความยาก/ความง่ายเเตกต่างกันไปแล้วเเต่ละรายวิชา ซึ่งจะยากในการวางเเผนการเขียนแผนการสอนเเละแผนการจัดการเรียนรู้ในสอกคล้องกับวัตถุประสงค์ที่เราต้องการ ซึ่งขั้นตอนที่มีความยาก/ง่าย มีดังนี้
1. ศึกษาวิเคราะห์หลักสูตร ได้แก่ หลักการ จุดหมาย โครงสร้าง เวลาเรียนแนว
ดำเนินการในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ตอบสนองจุดประสงค์การเรียนรู้ และจุดมุ่งหมายของหลักสูตร การวัดและการประเมินการเรียน คำอธิบายในแต่ละกลุ่มประสบการณ์ ซึ่งระบุเนื้อหาที่ต้องให้นักเรียนได้เรียน ตามลำดับขั้นตอนกระบวนการที่ต้องให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติ และจุดประสงค์การเรียนรู้ที่ต้องการให้เกิดการเรียนรู้ เพราะถ้าเราวิเคราะห์หลักสูตรผิดจะส่งผลต่อการวางเเผนการเขียนแผนการสอนเเละแผนการจัดการเรียนรู้ทั้งหมด
2. ลำดับความคิดรวบยอดที่จัดให้นักเรียนแต่ละระดับชั้นได้เรียนรู้ก่อนหลัง โดยพิจารณาขอบข่ายเนื้อหา และกิจกรรมที่กำหนดไว้ในคำอธิบายรายวิชา เพราะเ็นความคิดที่ผู้เรียนจะต้องได้รับเมื่อเรียนจบ
3. กำหนดกิจกรรมการเรียนการสอนตามลำดับขั้นตอนที่กำหนดไว้ในคำอธิบายรายวิชา หรืออาจพิจารณาจากกิจกรรมที่เหมาสมกับเนื้อหาสาระ เป็นขั้นที่ผู้เรียนจะได้เรียนรู้จึงต้องมีการวางเเผนที่ดีเเละรัดกุม


2.ในประโยคที่ว่า “ในปัจจุบัน การวัดผลไม่ใช่เพียงเเค่การทดสอบหรือสอบเพียงอย่างเดียวเเต่ยังต้องประเมินสภาพเเท้จริงของผู้เรียน” สำหรับท่านประโยคนี้มีความหมายว่าอย่างไรเเละมีวิธีการปฏิบัติจริงได้อย่างไร
   การวัดและประเมินตามสภาพจริง คือ กระบวนการวัดผลการเรียนรู้ตามแนวทาง 3 ประการ คือ
          1.  วัดครบถ้วนตามจุดประสงค์การเรียนรู้ได้จริง
                     -วัดความสามารถทางความรู้ ความคิดได้จริง
                    -วัดความสามารถในการปฏิบัติได้จริง
                    -วัดคุณลักษณะทางจิตใจได้จริง
 2.  วัดได้ตรงความเป็นจริง คือ สิ่งที่วัดได้นั้นเป็นข้อมูล เป็นการแสดงพฤติกรรมที่สะท้อนความสามารถที่แท้จริงของผู้เรียน  ทั้งความสามารถทางความรู้  ความคิด  ความสามารถในการปฏิบัติและคุณลักษณะทางจิตใจ  มีความคลาดเคลื่อนผิดพลาดน้อยที่สุด  ไม่เปิดโอกาสให้ผู้ด้อยความสามารถได้คะแนนสูง  ตัดความผิดพลาดที่ผู้มีความสามารถสูงกลับได้คะแนนน้อย
สามารถประเมินสภาพเเท้จริงของผู้เรียนโดยการสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนจารการเรียนโดยไม่มีการบิดเบือนข้อมูล

ที่เหมาสมกับเนื้อหาสาระ เป็นขั้นที่ผู้เรียนจะได้เรียนรู้จึงต้องมีการวางเเผนที่ดีเเละรัดกุม


3.จงเขียนภาพรวมของเนื้อหาสาระสำคัญของบทที่ 7 เรื่อง การว่างแผนการเขียนแผนการสอนและแผนการจัดการเรียนรู้ ให้อยู่ในรูปแบบของแผนผังความคิด (Mind Mapping) โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์และนำเสมอเนื้อหาให้สมบูรณ์

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บทที่ ๓ รูปแบบการเรียนการสอน

บทที่ ๑ แนวคิดการออกแบบและการจัดการเรียนรู้

บทที่ ๒ วิธีการสอนและเทคนิคการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ